เมนู

เสงี่ยมแล้ว เว้นได้แล้ว ประพฤติเจียมตัว หันเข้าหาลัชชีธรรมแล้ว ตั้งมั่น
ในหิริโอตตัปปะแล้ว ได้ทำทัณฑกรรมแล้ว สารภาพโทษอยู่; การให้ความ
พร้อมเพรียงด้วยกายสมโภคเหมือนในกาลก่อน แก่สามเณรนี้ ชอบใจ สงฆ์
หรือ ? พึงสวดอย่างนี้ 3 ครั้ง. อปโลกนกรรมย่อมถึงโอสารณาและนิสสารณา
ด้วยประการฉะนี้.
ภัณฑุกรรม ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้ว ในมหาขันธกวัณณนา.

[พรหมทัณฑ์]


พรหมทัณฑ์ อันพระอานนทเถระได้กล่าวไว้แล้ว ในปัญจสติกขันธกะ.
ก็แลพรหมทัณฑ์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ เพราะพระฉันนะ
รูปเดียวหามิได้. ภิกษุแม้อื่นใด เป็นผู้มีปากร้าย เสียดสี ด่า ข่มภิกษุทั้งหลาย
ด้วยถ้อยคำหยาบคายอยู่. สงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุแม้นั้น.
ก็แลพรหมทัณฑ์นั้น พึงลงอย่างนี้ :-
ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของสงฆ์ ในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อนี้ มีปากร้าย เสียดสีภิกษุทั้งหลาย ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย
อยู่, ภิกษุนั้น พึงกล่าวคำที่คนปรารถนาจะกล่าว, ภิกษุชื่อนี้ อันภิกษุทั้งหลาย
ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอน, ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถาม
สงฆ์ว่า การลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุชื่อนี้ ของใจสงฆ์หรือ ? ข้าพเจ้าถาม
เป็นครั้งที่ 2 ฯ ล ฯ ข้าพเจ้าถามเป็นครั้งที่ 3 ว่า การลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? ท่านผู้เจริญ.

พรหมทัณฑ์อันสงฆ์พึงระงับแก่ภิกษุนั้น ผู้ประพฤติชอบแล้ว ขอโทษ
อยู่โดยสมัยอื่น. ก็แลสงฆ์พึงระงับอย่างนี้ :-
ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศในท่ามกลางสงฆ์ว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุ
สงฆ์ได้ลงพรหมทัณฑ์ แก่ภิกษุโน้น, ภิกษุนั้น เสงี่ยมแล้ว ประพฤติเจียมตัว
หันเข้าหาลัชชีธรรมแล้ว ตั้งมั่นในหิริโอตตัปปะแล้ว พิจารณาแล้ว ตั้งอยู่ใน
สังวรต่อไป, ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถามสงฆ์ว่า การระงับพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ
นั้น ชอบใจสงฆ์หรือ ?. พึงกล่าวอย่างนี้ เพียงครั้งที่ 3 ระงับพรหมทัณฑ์เสีย
ด้วยอปโลกนกรรมแล.

[กรรมลักษณะ]


สองบทว่า กมฺมลกฺขณญฺเญว ปญฺจมํ มีความว่า ในเรื่องเหล่านี้
ที่ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุฉัพพัคคีย์ เอาน้ำโคลนรด ภิกษุณีทั้งหลาย
ด้วยหมายว่า แม้ไฉนภิกษุณีทั้งหลายพึงรักใคร่ในพวกเรา เปิดกายอวดภิกษุณี-
ทั้งหลาย, ถลกขาอวดภิกษุณีทั้งหลาย, เปิดองคชาตแสดงแก่ภิกษุณีทั้งหลาย
พูดเกี้ยวภิกษุณีทั้งหลาย ชักสื่อกับภิกษุณีทั้งหลายด้วยหมายว่า แม้ไฉน ภิกษุณี
ทั้งหลายพึงรักใคร่ในพวกเรา ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติทุกกฏแก่
ภิกษุเหล่านั้น แล้วทรงอนุญาตอวันทิยกรรมอันใด ไว้ในภิกขุนีขันธกะอย่างนี้ว่า
ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตเพื่อลงทัณฑกรรมแก่ภิกษุนั้น, ครั้งนั้นแล ภิกษุ
ทั้งหลายได้มีความรำพึงเช่นนี้ว่า ทัณฑกรรม อันเราจะพึงทำอย่างไรหนอ ?
จึงกราบทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์จึงตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นอันภิกษุณีสงฆ์ พึงทำให้เป็นผู้อันตนไม่ควรไหว้ ดังนี้.
อวันทิยกรรมนั้น ย่อมเป็นกรรมลักษณะแท้ ย่อมเป็นฐานะที่ครบ 5 แห่ง
อปโลกนกรรมนี้.