เมนู

แต่สงฆ์ทำกรรมมีปริวาสเป็นต้น แก่ภิกษุใด, ภิกษุนั้นมิใช่ผู้เข้ากรรม
ทั้งมิใช่ผู้ควรแก่ฉันทะ. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นอันท่านเรียกว่า กัมมารหบุคคล
ก็เพราะเหตุที่สงฆ์จัดบุคคลนั้นให้เป็นวัตถุกระทำกรรม.
แม้ในกรรมที่เหลืด ก็นัยนี้แล.
ท่านกล่าวนัยเป็นต้นว่า จตตาริ กมฺมานิ ไว้อีก ก็เพื่อแสดข้อที่
อภัพบุคคลมีบัณเฑาะก์เป็นต้น ไม่จัดเป็นวัตถุ.
คำที่เหลือ ในนัยนี้ ตื้นทั้งนั้น.

[ว่าด้วยอปโลกนกรรม]


บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทแห่งกรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า
อปโลกนกมฺมํ กติ ฐานนิ คจฺฉติ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทที่ว่า อปโลกนกรรม ย่อมถึงฐานะ 5
เหล่าไหน ? ฐาน ะ 5 เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม
พรหมทัณฑ์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ 5 นี้ คำที่ว่า โอสารณา นิสสารณา
นั้น ท่านกล่าวแล้ว เพื่อเป็นบทที่ไพเราะ. แต่นิสสารณามีก่อน โอสารณา
มีภายหลัง.

[นิสสารณาและโอสารณา]


ใน 2 อย่างนั้น ทัณฑกรรมนาสนาที่สงฆ์ทำแก่กัณฏกสามเณร พึง
ทราบว่าเป็นนิสสารณา. เพราะเหตุนั้น ในบัดนี้ แม้ถ้าสามเณรกล่าวโทษ
พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์, แสดงสิ่งที่ไม่ควรว่าควร, เป็นผู้มีความ

เห็นผิด ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ; สามเณรนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึง
ห้ามปราม ให้สละความยึดถือนั้นเสีย เพียงครั้งที่ 3, หากเธอไม่ยอมสละ
พึงให้ประชุมสงฆ์กล่าวว่า จงสละเสีย, หากเธอไม่ยอมสละ ภิกษุผู้ฉลาดพึงทำ
อปโลกนกรรมลงโทษเธอ.
ก็แลกรรมอันภิกษุนั้นพึงทำอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถาม
สงฆ์ว่า สามเณรชื่อนี้ ๆ มีความเห็นผิด มักกล่าวโทษพระพุทธ พระธรรม
พระสงฆ์, สามเณรเหล่าอื่นย่อมได้การนอนร่วมกับภิกษุทั้งหลาย 2-3 คืน
อันใด การลงโทษเธอ เพื่อไม่ได้การนอนร่วมนั้น ชอบใจสงฆ์หรือ ? ท่าน
ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถามสงฆ์เป็นครั้งที่ 2 ฯลฯ ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถามสงฆ์
เป็นครั้งที่ 3 ว่า สามเณรชื่อนี้ ๆ มีความเห็นผิด ฯลฯ การลงโทษเธอ เพื่อ
ไม่ได้การนอนร่วมนั้น ชอบใจสงฆ์หรือ ? การลงโทษนั้น ชอบใจสงฆ์;
เจ้าคนเสีย เจ้าจงไปเสีย เจ้าจงฉิบหายเสีย.
โดยสมัยอื่น สามเณรนั้นขอโทษว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้กระทำ
อย่างนั้น เพราะความเป็นผู้เขลา เพราะไม่รู้ เพราะเป็นผู้ไม่พิจารณา, ข้าพเจ้า
นั้นขอขมาสงฆ์ ดังนี้ พึงให้เธอขอเพียงครั้งที่ 3 แล้ว ถอนโทษด้วย
อปโลกนกรรมนั่นแล.
ก็แลสามเณรนั้น อันภิกษุทั้งหลายพึงถอนโทษอย่างนี้ :-
ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศ โดยอนุมัติของสงฆ์ในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถามสงฆ์ว่า สามเณรชื่อนี้ ๆ มีความเห็นผิด มักกล่าวโทษ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันสงฆ์ลงโทษแล้ว เพื่อไม่ได้การนอนร่วม
กับภิกษุทั้งหลาย 2-3 คืน ซึ่งสามเณรเหล่าอื่นได้, บัดนี้ สามเณรนี้นั้น

เสงี่ยมแล้ว เว้นได้แล้ว ประพฤติเจียมตัว หันเข้าหาลัชชีธรรมแล้ว ตั้งมั่น
ในหิริโอตตัปปะแล้ว ได้ทำทัณฑกรรมแล้ว สารภาพโทษอยู่; การให้ความ
พร้อมเพรียงด้วยกายสมโภคเหมือนในกาลก่อน แก่สามเณรนี้ ชอบใจ สงฆ์
หรือ ? พึงสวดอย่างนี้ 3 ครั้ง. อปโลกนกรรมย่อมถึงโอสารณาและนิสสารณา
ด้วยประการฉะนี้.
ภัณฑุกรรม ข้าพเจ้าได้กล่าวเสร็จแล้ว ในมหาขันธกวัณณนา.

[พรหมทัณฑ์]


พรหมทัณฑ์ อันพระอานนทเถระได้กล่าวไว้แล้ว ในปัญจสติกขันธกะ.
ก็แลพรหมทัณฑ์นั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติ เพราะพระฉันนะ
รูปเดียวหามิได้. ภิกษุแม้อื่นใด เป็นผู้มีปากร้าย เสียดสี ด่า ข่มภิกษุทั้งหลาย
ด้วยถ้อยคำหยาบคายอยู่. สงฆ์พึงลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุแม้นั้น.
ก็แลพรหมทัณฑ์นั้น พึงลงอย่างนี้ :-
ภิกษุผู้ฉลาด พึงสวดประกาศโดยอนุมัติของสงฆ์ ในท่ามกลางสงฆ์ว่า
ท่านผู้เจริญ ภิกษุชื่อนี้ มีปากร้าย เสียดสีภิกษุทั้งหลาย ด้วยถ้อยคำที่หยาบคาย
อยู่, ภิกษุนั้น พึงกล่าวคำที่คนปรารถนาจะกล่าว, ภิกษุชื่อนี้ อันภิกษุทั้งหลาย
ไม่พึงว่ากล่าว ไม่พึงตักเตือน ไม่พึงพร่ำสอน, ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าถาม
สงฆ์ว่า การลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุชื่อนี้ ของใจสงฆ์หรือ ? ข้าพเจ้าถาม
เป็นครั้งที่ 2 ฯ ล ฯ ข้าพเจ้าถามเป็นครั้งที่ 3 ว่า การลงพรหมทัณฑ์แก่ภิกษุ
ชื่อนี้ ชอบใจสงฆ์หรือ ? ท่านผู้เจริญ.