เมนู

แต่สงฆ์ทำกรรมมีปริวาสเป็นต้น แก่ภิกษุใด, ภิกษุนั้นมิใช่ผู้เข้ากรรม
ทั้งมิใช่ผู้ควรแก่ฉันทะ. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุนั้นอันท่านเรียกว่า กัมมารหบุคคล
ก็เพราะเหตุที่สงฆ์จัดบุคคลนั้นให้เป็นวัตถุกระทำกรรม.
แม้ในกรรมที่เหลืด ก็นัยนี้แล.
ท่านกล่าวนัยเป็นต้นว่า จตตาริ กมฺมานิ ไว้อีก ก็เพื่อแสดข้อที่
อภัพบุคคลมีบัณเฑาะก์เป็นต้น ไม่จัดเป็นวัตถุ.
คำที่เหลือ ในนัยนี้ ตื้นทั้งนั้น.

[ว่าด้วยอปโลกนกรรม]


บัดนี้ เพื่อแสดงประเภทแห่งกรรมเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า
อปโลกนกมฺมํ กติ ฐานนิ คจฺฉติ เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทที่ว่า อปโลกนกรรม ย่อมถึงฐานะ 5
เหล่าไหน ? ฐาน ะ 5 เหล่านี้ คือ โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม
พรหมทัณฑ์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ 5 นี้ คำที่ว่า โอสารณา นิสสารณา
นั้น ท่านกล่าวแล้ว เพื่อเป็นบทที่ไพเราะ. แต่นิสสารณามีก่อน โอสารณา
มีภายหลัง.

[นิสสารณาและโอสารณา]


ใน 2 อย่างนั้น ทัณฑกรรมนาสนาที่สงฆ์ทำแก่กัณฏกสามเณร พึง
ทราบว่าเป็นนิสสารณา. เพราะเหตุนั้น ในบัดนี้ แม้ถ้าสามเณรกล่าวโทษ
พระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์, แสดงสิ่งที่ไม่ควรว่าควร, เป็นผู้มีความ