เมนู

ว่า ขมติ สงฺฆสฺส ตสฺมา ตุณฺหี เอวเมตํ ธารยามิ. ตั้งญัตติภายหลัง
อย่างนี้. กรรมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ 5 เหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

[กรรมวิบัติโดยอนุสาวนา]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติโดยอนุสาวนา ดังต่อไปนี้ :-
วัตถุเป็นต้น พึงทราบก่อนตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. ก็การไม่ระบุ
วัตถุเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมมีอย่างนี้ :-
ในอนุสาวนาที่ 1 ว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ ก็ดี ในอนุสาวนา
ที่ 2 ที่ 3 ที่ว่า ทุติยมฺปิ เอตมตฺถิ วทามิ, ตติยมฺปิ เอตมตฺถํ วทามิ
สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ
ก็ดี เมื่อควรจะสวดต่อว่า อยํ ธมฺมรกฺขิโต
อายสฺมโต พุทธฺรกฺขิตสฺส อุปสมฺปทาเปกฺโข
ภิกษุสวดเสียว่า สุณาตุ
เม ภนฺเต สงฺโฆ, อายสฺมโต พุทธฺรกฺขิตสฺส
ดังนี้ ชื่อว่าไม่ระบุวัตถุ.
เมื่อควรจะสวดว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อยํ ธมฺมรกฺขิโต
สวดเสียว่า สุณาตุ เม ภนฺเต อยํ ธมฺมรกฺขิโต
ดังนี้ ชื่อว่าไม่ระบุสงฆ์
เมื่อควรจะสวดว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อยํ ธมฺมรกฺขิโต
อายสฺมโต พุทธฺรกฺขิตสฺส
สวดเสียว่า สุณาตุ เม ภนฺเต สงฺโฆ, อยํ
ธมฺมรกฺขิโต อุปสมฺปทาเปกฺโข
ดังนี้ ชื่อว่าไม่ระบุบุคคล
สองบทว่า สาวนํ หาเปติ มีความว่า ไม่กระทำการสวดประกาศ
ด้วยกรรมวาจาโดยประการทั้งปวง. คือ ตั้งญัตติเท่านั้น 2 ครั้ง ในญัตติทุติย-
กรรม ตั้งญัตติเท่านั้น 4 ครั้ง ในญัตติจตุตถกรรม. ทิ้งวาจาประกาศเสียอย่างนี้.

แม้ภิกษุใด เมื่อตั้งญัตติหนหนึ่งแล้วสวดกรรมวาจาหนหนึ่งทิ้งอักขระ
หรือบทเสีย หรือว่าผิดในญัตติทุติยกรรม แม้ภิกษุนี้ชื่อว่าทิ้งวาจาประกาศเสีย
เหมือนกัน.
ส่วนในญัตติจตุตถกรรม เมื่อตั้งญัตติหนหนึ่งแล้ว สวดประกาศด้วย
กรรมวาจา เพียงครั้งเดียวหรือ 2 ครั้งก็ดี เมื่อทิ้งอักขระหรือบทเสียก็ดี เมื่อ
ว่าผิดก็ดี พึงทราบว่า ทิ้งอนุสาวนาเสียแท้.
ก็วินิจฉัยในคำว่า ทุรุตฺตํ กโรติ นี้ พึงทราบดังนี้ :-
อันภิกษุใด ว่าอักขระอื่นในเมื่อตนควรว่าอักขระอื่น ภิกษุนี้ ชื่อว่า
ว่าผิด. เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้จะสวดกรรมวาจาพึงสนใจให้ดี ซึ่งประเภทแห่ง
พยัญชนะ ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความแตกฉานด้วยปัญญาเครื่องรู้พยัญชนะ 10
อย่าง คือ สิถิล ธนิต ทีฆะ รัสสะ ครุ ลหุ นิคหิต สัมพันธ์ ววัตถิตะ
วิมุตต์.
ก็ในประเภทแห่งพยัญชนะ 10 ตัวนี้ พยัญชนะที่ 1 และที่ 3 ใน
วรรคทั้ง 5 ชื่อว่าสิถิล (เสียงเพลา). พยัญชนะที่ 2 และที่ 4 ในวรรค
เหล่านั้นแล ชื่อว่าธนิต (เสียงแข็ง)
สระที่จะพึงว่าโดยระยะยาว ได้แก่ สระ อา เป็นต้น ชื่อว่าทีฆะ.
สระที่จะพึงว่าโดยระยะสั้นกึ่งระยะยาวนั้น ได้แก่สระ อะ เป็นต้น
ชื่อว่ารัสสะ.
ทีฆะนั่นเองชื่อว่าครุ อีกอย่างหนึ่ง สระที่สั้นกล่าวไว้มีพยัญชนะสะกด
ข้างหลังอย่างนี้ว่า อายสฺมโต พุทฺธรกฺขิตตฺเถรสฺส ยสฺส นกฺขมติ
จัดเป็นครุ. รัสสะนั่นเอง ชื่อว่าลหุ อีกอย่างหนึ่ง สระที่กล่าวไม่ให้มีพยัญชนะ

สะกดข้างหลังอย่างนี้ว่า อายสฺมโต พุทฺธรกฺขิตเถรสฺส ยสฺส น ขมติ
ก็จัดเป็นลหุ.
อักขระที่ว่าหุบปากกดกรณ์ไว้ไม่ปล่อย ทำเสียงให้ขึ้นจมูกชื่อว่า
นิคหิต.
บทที่ว่าเชื่อมกับบทอื่น เช่น ตุณฺหสฺส หรือว่า ตุณฺหิสฺส ชื่อว่า
สัมพันธ์.
บทที่แยกว่า ไม่เชื่อมกับบทอื่น เช่น ตุณฺหิ อสฺส ชื่อว่าววัตถิตะ.
อักขระที่ว่าเปิดปาก ไม่ทำเสียงให้ขึ้นจมูก ปล่อยเสียง ไม่กดกรณ์ไว้
ชื่อว่าวิมุตต์.
ในพยัญชนะประเภทมีสิถิลเป็นต้นนั้น บทที่จะพึงว่า สุณาตุ เม
ภนฺเต ว่า ต เป็น ถ เสีย สุณาถุ เม
ชื่อว่าทำสิถิลให้เป็นธนิต
และบทอันจะพึงว่า ปตฺตกลฺลํ เอสา ญตฺติ ว่า เป็น เสีย ว่า
ปตฺถกลฺลํ เอสา ญตฺถิ เป็นต้น ก็เหมือนกัน.
บทอันจะพึงว่า ภนฺเต สงฺโฆ ว่า เป็น ว่า เป็น
เสียว่า พนฺเต สงฺโค ชื่อว่าทำธนิตให้เป็นสิถิล.
ส่วนบทอันจะพึงเปิดปากว่า สุณาตุ เม ว่าหุบปากให้เสียงขึ้นจมูก
เป็น สุณนฺตุ เม ก็ดี บทอันจะพึงเปิดปากว่า เอสา ญตฺติ ว่าหุบปาก
ให้เสียงขึ้นจมูกเป็น เอสํ ญตฺติ ก็ดี ชื่อว่า ว่าวิมุตต์ให้เป็นนิคหิต.
คำอันจะพึงหุบปากให้เสียงขึ้นจมูกว่า ปตฺตกลฺลํ ว่าเปิดปากไม่ทำ
ให้เสียงขึ้นจมูกว่า ปตฺตกลฺลา ชื่อว่า วินิคหิตให้เป็นวิมุตต์.

พยัญชนะ 4 เหล่านี้ คือ เมื่อควรว่าให้เป็นสิถิล ว่าเป็นธนิต เมื่อ
ควรว่าให้เป็นธนิต ว่าเป็นสิถิล เมื่อควรว่าให้เป็นเป็นวิมุตต์ ว่าเป็นนิคหิต
เมื่อควรว่าให้เป็นนิคหิต ว่าเป็นวิมุตต์ ย่อมทำกรรมให้เสีย ในภายใน
กรรมวาจา ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ภิกษุผู้สวดอย่างนั้น ว่าอักขระอื่น
ในเมื่ออักขระอื่นอันตนควรว่าท่านกล่าวว่า ว่าผิด.
อันภิกษุผู้สวดกรรมวาจา ควรว่าอักขระนั้น ๆ แล ให้ถูกต้องตาม
ฐานอย่างนี้ คือ ใน พยัญชนะ 6 นอกนี้ มีทีฆะและรัสสะเป็นต้นว่าทีฆะให้คง
ในที่แห่งทีฆะ ว่ารัสสะให้คงในที่แห่งรัสสะ อย่าให้ประเพณีอันมาแล้วโดย
ลำดับสูญเสีย ทำกรรมวาจา.
แต่ถ้าภิกษุผู้สวดกรรมวาจาไม่ว่าอย่างนั้น เมื่อควรจะว่าให้เป็นทีฆะว่า
เป็นรัสสะเสีย หรือเมื่อควรจะว่าให้เป็นรัสสะ ว่าเป็นทีฆะเสียก็ดี เมื่อควรจะว่า
ให้เป็นครุ ว่าเป็นลหุเสีย หรือเมื่อควรจะว่าให้เป็นลหุ ว่าเป็นครุเสียก็ดี
อนึ่ง เมื่อควรจะว่าให้เชื่อมกัน ว่าแยกกันเสีย หรือเมื่อควรจะว่าให้แยกกัน
ว่าเชื่อมกันเสียก็ดี. แม้เมื่อว่าอย่างนี้ กรรมวาจาก็ไม่เสีย. จริงอยู่ พยัญชนะ
6 นี้ ไม่ยังกรรมให้เสีย.
ก็คำใด ที่พระสุตตันติกเถระทั้งหลายกล่าวว่า กลายเป็น ได้
กลายเป็น ได้ กลายเป็น ได้ กลายเป็น ได้
กลายเป็น ได้ กลายเป็น ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อควรจะว่า
เป็นต้น ว่าเป็น เป็นต้น เสีย ก็ไม่ผิด. คำนั้นถึงกรรมวาจาแล้วย่อมไม่
ควร. เพราะเหตุนั้น พระวินัยธร ไม่พึงว่า เป็น ฯ ลฯ ไม่พึงว่า

เป็น พึงสวดกรรมวาจา ชำระภาษาตามควรแก่บาลี หลีกโทษ ที่กล่าว
แล้ว แห่งภาษาคือพยัญชนะทั้ง 10 อย่างเสีย. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยประการนอกนี้
แล้ว ชื่อว่าทิ้งสาวนาเสีย.
สองบทว่า อกาเล วา สาเวติ มีความว่า งดญัตติไว้ ทำอนุ-
สาวนากรรมเสียก่อน ในสมัยมิใช่กาล คือ มิใช่โอกาสแห่งสาวนาแล้ว ตั้ง
ญัตติต่อภายหลัง
กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ 5 นี้ ด้วยประการฉะนี้.

[กรรมวิบัติโดยสีมา]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติโดยสีมา ดังต่อไปนี้ :-
สีมาใด ไม่จุภิกษุได้ 21 รูป สีมานั้น จัดว่าสีมาเล็กเกินไป.
แต่ในกุรุนทีว่า ภิกษุ 21 รูป ไม่อาจเพื่อนั่งในสีมาใด สีมานั้น
จัดว่าเล็กเกินไป. เพราะเหตุนั้น สีมาเห็นปานนี้อันสงฆ์สมมติแล้วก็ตาม เป็น
อันไม่ได้สมมติ ย่อมต้องเป็นเช่นกับคามเขต. กรรมที่ทำในสีมานั้น ย่อมเสีย.
แม้ในสีมาที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้.
ก็นัยสีมาเหล่านี้ สีมาใด เป็นแดนอันสงฆ์สมมติเกิด 3 โยชน์แม้
เพียงปลายเส้นผมเดียว สีมานั้น จัดว่าใหญ่เกินไป.
สีมามีนิมิตไม่ต่อกัน เรียกว่า สีมามีนิมิตขาด.
ภิกษุทักนิมิตในทิศตะวันออกแล้ว ทักในทิศใต้ ทิศตะวันตก และทิศเหนือ
วนไปโดยลำดับกัน แล้วทักซ้ำนิมิตที่เคยทักแล้ว ในทิศตะวันออกอีก แล้ว
จึงหยุด จึงจะควร. สีมาย่อมเป็นแดนมีนิมิตไม่ขาดอย่างนี้. ก็ถ้าว่า ทักมา