เมนู

ญัตติจตุตถกรรม ต้องทำทั้งสวดญัตติและกรรมวาจา 3 ไม่พึงทำด้วย
อำนาจกรรมอื่น มีอปโลกนกรรมเป็นต้น
หลายบทว่า ปญฺจหากาเรหิ วิปชฺชนฺติ มีความว่า กรรม 4 นี้
ย่อมวิบัติโดยเหตุ 5 ประการ.

[กรรมวิบัติโดยวัตถุ]


ในข้อว่า กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า สงฆ์ทำไม่พร้อมหน้า กรรมไม่
เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ นี้ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้าก็มี กรรมที่ควรทำ
ไม่พร้อมหน้าก็มี. ใน 2 อย่างนั้น ขึ้นชื่อว่ากรรมที่ควรทำไม่พร้อมหน้ามี 8
อย่าง คือ อุปสมบทด้วยทูต คว่ำบาตร หงายบาตร อุมมัตตกสมมติ ที่
สงฆ์พึงทำแก่ภิกษุบ้า เสขสมมติแก่สกุลพระเสขะ พรหมทัณฑ์แก่พระฉันน
ภิกษุ ปกาสนียกรรมให้แก่พระเทวทัตต์ อวันทิยกรรมที่ภิกษุณีสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุ
ผู้แสดงอาการไม่น่าเลื่อมใส. กรรมทั้งปวงนั้น พึงทราบตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าว
แล้วในที่มานั้น ๆ แล. กรรมทั้ง 8 อย่างนี้ อันสงฆ์ทำแล้วไม่พร้อมหน้า
ย่อมเป็นอันทำด้วยดี ไม่กำเริบ.
กรรมทั้งปวงที่เหลือ ควรทำพร้อมหน้าเท่านั้น, คือ พึงทำให้อิงสัม-
มุขาวินัย 4 อย่างนี้ คือ ความพร้อมหน้าสงฆ์ ความพร้อมหน้าธรรม
ความพร้อมหน้าวินัย ความพร้อมหน้าบุคคล.
อันกรรมทั้งปวงที่ทำแล้วด้วยประการอย่างนั้น ย่อมเป็นอันทำดีแล้ว.
แต่กรรมเหล่านั้น ที่ไม่ทำอย่างนั้น ย่อมจัดเป็นกรรมวิบัติโดยวัตถุ เพราะ

ทำเว้นวัตถุ กล่าวคือสัมมุขาวินัยนี้เสีย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กรรม
ที่ควรทำพร้อมหน้า สงฆ์ทำไม่พร้อมหน้า กรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ.
แม้ในกรรมทั้งหลาย มีกรรมที่ควรทำด้วยสอบถามเป็นต้น การทำ
กิจมีสอบถามเป็นต้นนั่นแล จัดเป็นวัตถุ. พึงทราบความที่กรรมแม้เหล่านั้น
วิบัติโดยวัตถุ เพราะกระทำเว้นวัตถุนั้นเสีย. แต่ข้อนี้ เป็นเพียงเนื้อความ
เฉพาะคำ ในคำที่ว่า ปฏิปุจฺฉากรณียํ เป็นต้น
หลายบทว่า ปฏิปุจฺฉากรณียํ อปฺปฏิปุจฺฉา กโรติ มีความว่า
กรรมที่ควรถามแล้วจึงโจท แล้วให้จำเลยให้การกระทำ สงฆ์กระทำไม่ถาม
ไม่โจท ไม่ให้จำเลยให้การเสียเลย.
หลายบทว่า ปฏิญฺญาย กรณียํ อปฺปฏิญฺญาย กโรติ มีความว่า
ว่า กรรมที่ควรยกปฏิญญาเป็นหลัก ทำตามปฏิญญาซึ่งจำเลยให้อย่างไร, สงฆ์
กระทำโดยหักโหม แก่ภิกษุผู้คร่ำคราญบ่นเพ้ออยู่ด้วย ไม่ยอมปฏิญญา
บทว่า สติวินยารหสฺส ได้แก่ พระขีณาสพ เช่นพระทัพพมัลล-
บุตรเถระ.
บทว่า อมูฬฺหวินยารหสฺส ได้แก่ ภิกษุบ้า เช่นคัคคภิกษุ.
บทว่า ตสฺสปาปิยสกากมฺมารหสฺส ได้แก่ ภิกษุผู้มีบาปหนาแน่น
เช่นอุปวาฬภิกษุ.
นัยในบททั้งปวง ก็เช่นนี้แล.
หลายบทว่า อนฺโปสเถ อุโปสถํ กโรติ มีความว่า ทำอุโบสถ
ในวันที่มิใช่วันอุโบสถ.

วันสามัคคีของสงฆ์ผู้แตกกันและวันที่ 14 และวันที่ 15 ค่ำ (ตามนัย)
ที่กล่าวแล้ว ใน 11 เดือนที่เหลือ เว้นเดือนกัตติกาเสีย ชื่อว่าวันอุโบสถ.
เมื่อทำอุโบสถในวันอื่น เว้นวันอุโบสถทั้ง 3 ประการอย่างนั้นเสีย
ชื่อว่าท่าอุโบสถในวันมิใช่วันอุโบสถ.
ก็ในวัดใด ภิกษุทั้งหลายวิวาทกันเพราะเหตุเล็กน้อย เพื่อประโยชน์
แก่บริขารมีบาตรและจีวรเป็นต้น จึงงดอุโบสถหรือปวารณาเสีย. เมื่ออธิกรณ์
นั้นวินิจฉัยแล้ว ภิกษุทั้งหลายในวัดนั้นย่อมไม่ได้เพื่อกล่าวว่า พวกเราเป็นผู้
พร้อมเพรียงกัน แล้วทำสามัคคีอุโบสถในวันอันเป็นระหว่าง. เมื่อกระทำ
อุโบสถ ชื่อว่าเป็นอันกระทำในวันมิใช่วันอุโบสถ.
สองบทว่า อปวารณาย ปวาเรติ มีความว่า สงฆ์ปวารณาในวัน
มิใช่วันปวารณา.
วันสามัคคีของสงฆ์ผู้แตกกัน 1 วันที่สงฆ์เลื่อนไปตั้งไว้ 1 ในเดือน
กัตติกาเตือนเดียว และวันกลางเดือน 2 ครั้ง ชื่อว่าวันปวารณา.
เมื่อปวารณาในวันอื่น เว้นวันปวารณาทั้ง 4 ประการอย่างนี้เสีย
ชื่อว่าปวารณาในวันมิใช่วันปวารณา. แม้ในการปวารณานี้ ภิกษุทั้งหลายย่อม
ไม่ได้เพื่อทำสามัคคีปวารณา ในเพราะวิวาทมีประมาณน้อยระงับลง. เมื่อทำ
ปวารณา ย่อมเป็นอันกระทำในวันมิใช่วันปวารณา.
อีกอย่างหนึ่ง แม้เมื่อสงฆ์ให้อุปสมบทบุคคลผู้มีปีหย่อน 20 หรือ
บุคคลผู้เคยต้องอันติมวัตถุ หรืออภัพบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง ในอภัพบุคคล 11
ย่อมเป็นกรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ.
กรรมทั้งหลายย่อมวิบัติโดยวัตถุ ด้วยประการฉะนี้.

[กรรมวิบัติโดยญัตติ]


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในวิบัติโดยญัตติ ดังต่อไปนี้ :-
สองบทว่า วตฺถุํ น ปรามสติ มีความว่า สงฆ์ทำกรรมมีอุปสมบท
เป็นต้นแก่บุคคลเหล่าใด ไม่ระบุบุคคลนั้น คือไม่ระบุชื่อบุคคลนั้น ได้แก่
สวดว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงพึงข้าพเจ้า อุปสัมปทาเปกขะของท่านพุทธ-
รักขิต ในเมื่อควรสวดว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านพุทธรักขิต ไม่ระบุวัตถุอย่างนี้.
สองบทว่า สงฺฆํ น ปรามสติ มีความว่า ไม่ระบุชื่อสงฆ์ คือ
สวดว่า ท่านผู้เจริญ ขอจงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้ ดังนี้ ในเมื่อควรสวดว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้ ไม่ระบุสงฆ์อย่างนี้.
สองบทว่า ปุคฺคลํ น ปรามสติ มีความว่า ภิกษุใด เป็น อุปัชฌาย์
ของอุปสัมปทาเปกขะ ไม่ระบุภิกษุนั้น คือ ไม่ระบุชื่อของภิกษุนั้น ได้แก่
สวดว่า ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้ เป็นอุปสัมปทาเปกขะ
ดังนี้ ในเมื่อควรสวดว่า ท่านผู้เจริญ ของสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ธัมมรักขิตนี้
เป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านพุทธรักขิต ไม่ระบุบุคคลอย่างนี้.
สองบทว่า ญตฺตึ น ปรามสติ มีความว่า ไม่ระบุญัตติโดย
ประการทั้งปวง คือ ในญัตติทุติยกรรม ไม่ตั้งญัตติ กระทำอนุสาวนากรรม
ด้วยกรรมวาจาเท่านั้น. แม้ในญัตติจตุตถกรรม ก็ไม่ตั้งญัตติ กระทำอนุสาวนา-
กรรม ด้วยกรรมวาจาเท่านั้น 4 ครั้ง ไม่ระบุญัตติอย่างนี้.
หลายบทว่า ปจฺฉา วา ญตฺตึ ฐเปตึ มีความว่า กระทำอนุ-
สาวนากรรม ด้วยกรรมวาจาก่อน แล้วจึงกล่าวว่า เอสา ญตฺติ แล้วกล่าว