เมนู

คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า การที่ภิกษุผู้ว่ายากไม่สละกรรม เพราะสวดสมนุภาสน์
ครบ 3 จบ
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า การที่ภิกษุผู้ประทุษร้ายสกุลไม่สละกรรม เพราะสวด
สมนุภาสน์ครบ 3 จบ
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า สังฆาทิเสส เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติ
คำว่า การอาศัยความไม่เอื้อเฟื้อถ่ายอุจจาระปัสสาวะหรือ
บ้วนเขฬะลงในน้ำ
เป็นทั้งวัตถุ เป็นทั้งโคตร
คำว่า ทุกกฏ เป็นทั้งชื่อ เป็นทั้งอาบัติแล.
นวสังคหวรรค ที่ 5 จบ

หัวข้อประจำวรรค


[1,365] อปโลกนกรรม 1 ญัตติ-
กรรม 1 ญัตติทุติยกรรม 1 ญัตติจตุตถกรรม
1 วัตถุ 1 ญัตติ 1 อนุสาวนา 1 สีมา 1
บริษัท 1 พร้อมหน้า 1 สอบถาม 1 ปฏิญญา
1 ควรสติวินัย 1 วัตถุ 1 สงฆ์ 1 บุคคล 1
ญัตติ 1 ตั้งญัตติภายหลัง 1 วัตถุ 1 สงฆ์ 1
บุคคล 1 สวดประกาศ 1 สวดในกาลไม่ควร
1 สีมาเล็กเกิน 1 สีมาใหญ่เกิน 1 สีมามี

นิมิตขาด 1 สีมาใช้เงาเป็นนิมิต 1 สีมาไม่มี
นิมิต 1 อยู่นอกสีมาสมมติสีมา 1 สมมติสีมา
ในนที 1 ในสมุทร 1 ในชาตสระ 1 คาบ
เกี่ยวสีมา 1 ทับสีมาด้วยสีมา 1 กรรมอันสงฆ์
จตุวรรคพึงทำ 1 กรรมอันสงฆ์ปัญจวรรค
พึงทำ 1 กรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ 1
กรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ 1 ไม่นำฉันทะ
มา 1 นำฉันทะมา 1 บุคคลผู้เข้ากรรม 1
ผู้ควรฉันทะ 1 ผู้ควรธรรม 1 อปโลกน-
กรรม 5 สถาน 1 ญัตติกรรม 9 สถาน 1
ญัตติทุติยกรรม 7 สถาน 1 ญัตติจตุตถ-
กรรม 7 สถาน 1 ความรับว่าดี 1 ความ
ผาสุก 1 บุคคลผู้เก้อยาก 1 ภิกษุมีศีลเป็น
ที่รัก 1 อาสวะ 1 เวร 1 โทษ 1 ภัย 1
อกุศลธรรม 1 คฤหัสถ์ 1 บุคคลผู้ปรารถ-
นาลามก 1 ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 ชุมชน
ที่เลื่อมใสแล้ว 1 ความตั้งอยู่แห่งพระสัท-
ธรรม 1 อนุเคราะห์พระวินัย 1 ปาติโมกขุ-
เทศ 1 งดปาติโมกข์ 1 งดปวารณา 1
ตัชชนียกรรม 1 นิยสกรรม 1 ปัพพาชนิย-
กรรม 1 ปฏิสารณียกรรม 1 อุกเขปนียกรรม

1 ปริวาส 1 อาบัติเดิม 1 มานัต 1 อัพภาน
1 โอสารณา 1 นิสสารณา 1 อุปสมบท 1
อปโลกนกรรม 1 ญัตติกรรม 1 ญัตติทุติย-
กรรม 1 ญัตติจตุตถกรรม 1 ยังมิได้ทรง
บัญญัติ 1 ทรงบัญญัติซ้ำ 1 สัมมุขาวินัย 1
สติวินัย 1 อมูฬหวินัย 1 ปฏิญญาตกรณะ 1
เยภุยยสิกา 1 ตัสสปาปิยสิกา 1 ติณวัตถา-
รกะ 1 วัตถุ 1 วิบัติ 1 อาบัติ 1 นิทาน 1
บุคคล 1 ขันธ์ 1 สมุฏฐาน 1 อธิกรณ์ 1
สมถะ 1 สังคหะ 1 ชื่อ 1 และอาบัติ 1
ดังนี้แล.

คัมภีร์ปริวาร จบ

คาถาส่งท้าย


[1,366] ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม
มีปัญญามาก ทรงสุตะ มีวิจารณญาณ สอบ
สวนแนวทางของท่านบุรพาจารย์ในที่นั้น ๆ
แล้วคิดเขียนข้อพิสดาร และสังเขปนี้ในสาย
กลาง ตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความ
สะดวกมาให้แก่เหล่าศิษย์ คัมภีร์นี้เรียกว่า
ปริวาร มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ มีอรรถ