เมนู

กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำเป็นต้น


[1,358] ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 4 รูป เป็น
ผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุ
นั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม
ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 5 รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็น
ผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม
ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 10 รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่
เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม
ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 2 รูป เป็นผู้เข้า
กรรม ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น
ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม.
กรรมวรรคที่ 1 จบ

อรรถวสวรรคที่ 2


ทรงบัญญัติสิกขาบท


[1,359] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจ 2
ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ 1

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการ คือ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก 1 เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็น
ที่รัก 1
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการ คือ เพื่อป้องกันอาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดอาสวะ
อันจักบังเกิดในอนาคต 1
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการ คือ เพื่อป้องกันเวรอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดเวรอันจัก
บังเกิดในอนาคต 1
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการ คือ เพื่อป้องกันโทษอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดโทษอัน
จักบังเกิดในอนาคต 1

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการ คือ เพื่อป้องกันภัยอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัดภัยอันจัก
บังเกิดในอนาคต 1
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการ คือ เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจะบังเกิดในปัจจุบัน 1 เพื่อกำจัด
อกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต 1
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการ คือ เพื่ออนุเคราะห์คฤหัสถ์ 1 เพื่อเข้าไปตัดฝักฝ่ายของพวกภิกษุ
ผู้มีความปรารถนาลามก 1
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการ คือ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส 1 เพื่อความเลื่อมใส
ยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว 1

พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการ คือ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย 1
พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจประโยชน์ 2
ประการนี้.
อรรถวสวรรค ที่ 2 จบ

ปัญญัติวรรคที่ 3


ทรงบัญญัติปาติโมกข์เป็นต้น


[1,360] พระตถาคตทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวก อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ 2 ประการ . . . ทรงบัญญัติปาติโมกขุทเทศ ทรงบัญญัติการงด
ปาติโมกข์ ทรงบัญญัติปวารณา ทรงบัญญัติการงดปวารณา ทรงบัญญัติ
ตัชชนียกรรม ทรงบัญญัตินิยสกรรม ทรงบัญญัติปัพพาชนียกรรม ทรงบัญญัติ
ปฏิสารณียกรรม ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม ทรงบัญญัติการให้ปริวาส ทรง
บัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ทรงบัญญัติการให้มานัต ทรงบัญญัติอัพภาน
ทรงบัญญัติโอสารนียกรรม ทรงบัญญัตินิสสารนียกรรม ทรงบัญญัติการ
อุปสมบท ทรงบัญญัติอปโลกนกรรม ทรงบัญญัติญัตติกรรม ทรงบัญญัติ
ญัตติทุติยกรรม ทรงบัญญัติญัตติจตุตถกรรม.
ปัญญัติวรรค ที่ 3 จบ