เมนู

ฐานะแห่งอปโลกนกรรม


[1,354] ถามว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะ 5 เป็นไฉน
ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา ภัณฑุกรรม พรหมทัณฑ์ ทั้งกรรม
ลักษณะเป็นคำรบ 5 อปโลกนกรรมถึงฐานะ 5 นี้.

ฐานะแห่งญัตติกรรม


[1,355] ถามว่า ญัตติกรรมถึงฐานะ 9 เป็นไฉน
ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา สมมติ การให้
การรับ การเลื่อนปวารณาออกไป ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ 9 ญัตติกรรม
ถึงฐานะ 9 นี้.

ฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม


[1,356] ถามว่า ญัตติทุติยกรรม ถึงฐานะ 7 อย่าง เป็นไฉน
ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ การถอน การแสดง
ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ 7 ญัตติทุติยกรรมถึงฐานะ 7 นี้.

ฐานะแห่งญัตติจตุตถกรรม


[1,357] ถามว่า ญัตติจตุตถกรรม ถึงฐานะ 7 อย่าง เป็นไฉน
ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ นิคคหะ สมนุภาสน์
ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ 7 ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะ 7 นี้.

กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำเป็นต้น


[1,358] ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 4 รูป เป็น
ผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุ
นั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม
ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 5 รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็น
ผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม
ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 10 รูป เป็นผู้เข้ากรรม
ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่
เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม
ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ 2 รูป เป็นผู้เข้า
กรรม ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้น
ไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม.
กรรมวรรคที่ 1 จบ

อรรถวสวรรคที่ 2


ทรงบัญญัติสิกขาบท


[1,359] พระตถาคตทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อาศัยอำนาจ 2
ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ 1