เมนู

สองบทว่า สตฺตนฺนํ สนฺเต มีความว่า เมื่อมีผู้รับแทนที่สมควร
พึงให้ลับหลังก็ได้ แก่ชน 7 จำพวกนี้ คือ ภิกษุผู้หลีกไปต่างทิศ ภิกษุบ้า
ภิกษุผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้ถูกเวทนาครอบงำ และภิกษุสงฆ์ยกวัตร 3 พวก.
สองบทว่า โสฬสนฺนํ น ทาตพฺพํ มีความว่า ไม่ควรให้แก่ชน
ที่เหลือ 16 จำพวกมีบัณเฑาะก์เป็นต้น ที่ตรัสไว้ ในจีวรขันธกะ.
หลายบทว่า กติสตํ รตฺติสตํ อาปตฺตึ ฉาทยิตฺวาน มีความว่า
ภิกษุปิดอาบัติกี่ร้อย ไว้ร้อยราตรี.
หลายบทว่า ทสสตํ รตฺติสตํ อาปตฺตึ ฉาทยิตฺวาน มีความว่า
ภิกษุปิดอาบัติ 1 พัน ไว้ร้อยราตรี.
ก็ความสังเขปในคำนี้ ดังต่อไปนี้ :-
ภิกษุใด ต้องอาบัติสังฆาทิเสสวันละร้อย ปิดไว้ร้อยละ 10 วัน. อาบัติ
1 พัน ย่อมเป็นอันภิกษุนั้นปิดไว้ร้อยราตรี. ภิกษุนั้น พึงขอปริวาสว่า อาบัติ
เหล่านั้นทั้งหมดเทียว ข้าพเจ้าปิดไว้ 10 วัน แล้วเป็นปาริวาสิกะ อยู่ปริวาส
10 ราตรี พึงพ้นได้.

[ว่าด้วยกรรมโทษเป็นอาทิ]


หลายบทว่า ทฺวาทส กมฺมโทสา วุตฺตา มีความว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสกรรมโทษ 12 นับกรรมละ 3 ๆ ในกรรม 1 ๆ อย่างนี้คือ
อปโลกนกรรม เป็นวรรคโดยอธรรม พร้อมเพรียงโดยอธรรม เป็นวรรค
โดยธรรม; แม้ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม ญัตติจตุตถกรรม ก็เหมือนกัน.
สองบทว่า จตสฺโส กมฺมสมฺปตฺติโย มีความว่า กรรมสมบัติ
ที่ตรัสไว้ 4 ประการ อย่างนี้ คือ อปโลกนกรรม พร้อมเพรียงโดยธรรม
แม้กรรมที่เหลือ ก็เหมือนกัน.

สองบทว่า ฉ กมฺมานิ มีความว่า กรรม 6 อย่าง ที่ตรัสไว้อย่างนี้
คือ กรรมไม่เป็นธรรม กรรมเป็นวรรค กรรมพร้อมเพรียง กรรมเป็นวรรค
โดยอาการเทียมธรรม กรรมพร้อมเพรียงโดยอาการเทียมธรรม กรรมพร้อม-
เพรียง โดยธรรม.
หลายบทว่า เอเกตฺถ ธมฺมิกา กตา มีความว่า ในกรรม 6
อย่างนี้ กรรมพร้อมเพรียงโดยธรรมอย่างเดียวเท่านั้น ตรัสเป็นกรรมที่ชอบ
ธรรม.
แม้ในคำตอบในคาถาที่ 2 กรรมพร้อมเพรียงกันโดยธรรมนั่นแล ก็
เป็นกรรมชอบธรรม (เหมือนกัน).

[ว่าด้วยอาบัติระงับและไม่ระงับ]


สองบทว่า ยํ เทสิตํ มีความว่า กองอาบัติเหล่าใด อันพระอนัน-
ตชินเจ้าทรงแสดงแล้วตรัสแล้ว คือประกาศแล้ว.
วินิจฉัยในคำว่า อนนฺตชิเนน เป็นต้น พึงทราบดังนี้ :-
นิพพานเรียกว่า อนันตะ เพราะเว้นจากความเป็นธรรมมีที่สุดรอบที่
บัณฑิตจะกำหนดได้. นิพพานนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราบปรามกอง
กิเลส ชำนะแล้ว ชำนะเด็ดขาดแล้ว คือ บรรลุแล้ว ถึงพร้อมแล้ว เปรียบ
เหมือนราชสมบัติอันพระราชาทรงปราบปรามหมู่ข้าศึกได้แล้วฉะนั้น. เพราะ
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตจึงขนานพระนามว่า อนันตชินะ.
พระอนันตชินะนั้นแล ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะเป็นผู้ไม่มีวิการ ในเพราะ
อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. พระองค์ทรงเห็นวิเวก 4 กล่าวคือ ตทังควิเวก
วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก เพราะ