เมนู

ต้องอาบัติ 5 จึงแสดงคืนอาบัติเหล่านั้นในสำนักท่าน อาบัติเหล่านั่น เป็นอัน
เธอแสดงแล้วแท้; ไม่มีกิจที่จะต้องทำด้วยวาจา 2-3 ครั้ง. แม้ในวิสัชนาที่ 2
ก็พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าออกปากขอโภชนะประณีต 9 อย่างฉัน
ต้องอาบัติ 9 จึงแสดงคืนอาบัติเหล่านั้น ในสำนักท่าน.
หลายบทว่า วตฺถํ กิตฺเตตฺวา เทเสยฺย มีความว่า พึงแสดงระบุ
วัตถุ อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารับประเคนเภสัช 5 ให้ล่วง 7 วันไป,
ข้าพเจ้าแสดงอาบัติเหล่านั้นตามวัตถุ ในสำนักท่าน. อาบัติทั้งหลาย เป็นอัน
ภิกษุนั้นแสดงแล้วแท้. ไม่มีกิจที่จะต้องระบุชื่ออาบัติ. แม้ในวิสัชนาที่ 2 ก็
พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าออกปากขอโภชนะประณีต 9 อย่าง ฉันแล้ว,
ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัติเหล่านั้น ตามวัตถุ ในสำนักท่าน.

[ยาวตติยกาบัติเป็นต้น]


สองบทว่า ยาวตติยเก ติสฺโส มีความว่า อาบัติ 3 กองในยาวตติยกะ
เหล่านี้ คือ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณีผู้พระพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, เป็น
สังฆาทิเสส แก่ภิกษุทั้งหลาย มีพระโกกาสิกะเป็นต้น ผู้ประพฤติตามพระ-
เทวทัตต์ผู้ทำลายสงฆ์ และเป็นปาจิตตีย์แก่นางจัณฑกาฬีภิกษุณี เพราะไม่
สละทิฏฐิลามก.
สองบทว่า ฉ โวหารปจฺจยา มีความว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ 6
มีวาจาที่ตนประกอบเป็นปัจจัย. อย่างไร ? อย่างนี้ คือ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ
เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุมีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามก
ครอบงำแล้ว อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่จริง ต้องปาราชิก, เพราะ
อาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุถึงความชักสื่อ ต้องสังฆาทิเสส

เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ (อวดโดยปริยายว่า) ภิกษุใด
อยู่ในวิหารของท่าน ฯลฯ ต้องถุลลัจจัย เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะ
เป็นการณ์ ภิกษุออกปากขอโภชนะประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้อง
ปาจิตตีย์, เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุณีออกปากขอ
โภชนะประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้องปาฏิเทสนียะ, เพราะอาชีวะ
เป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุไม่อาพาธ ออกปากขอแกงหรือข้าวสุก
เพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้องทุกกฏ.
สองบทว่า ขาทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า ภิกษุต้องถุลลัจจัย
เพราะเนื้อมนุษย์, ต้องทุกกฏ เพราะอกัปปิยมังสะที่เหลือ, เป็นปาจิตตีย์
แก่ภิกษุณี เพราะกระเทียม.
สองบทว่า ปญฺจ โภชนปจฺจยา มีความว่า ภิกษุณีผู้กำหนัดรับ
โภชนะจากมือของบุคคลคือบุรุษผู้กำหนัด เติมเคล้าให้ระคนกันกลืนเข้าไป,
อนึ่ง ถือเอาเนื้อมนุษย์ กระเทียม โภชนะประณีตที่ตนออกปากขอเพื่อประโยชน์
แก่ตน และอกัปปิยมังสะที่เหลือ เติมเคล้าให้ระคนกันกลืนเข้าไป, ย่อมต้อง
อาบัติ 5 มีโภชนะเป็นปัจจัย เหล่านี้ คือ สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์
ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ.

[ฐานะ 5 แห่งยาวตติยกาบัติเป็นต้น]


สองบทว่า ปญฺจ ฐานานิ มีความว่า ยาวตติยกาบัติทั้งปวง ย่อม
ถึงฐานะ 5 อย่างนี้ คือ สำหรับภิกษุณี ผู้ประพฤติตามภิกษุอันสงฆ์ยกวัตร
ไม่ยอมสละ ด้วยวาจาประกาศเพียงครั้งที่ 3 เพราะญัตติ ต้องทุกกฏ, เพราะ
กรรมวาจา 2 ต้องถุลลัจจัย, ในที่สุดแห่งกรรมวาจา ต้องปาราชิก, [สำหรับ