เมนู

สองบทว่า ฐิตสฺส วาปิ ตตฺตกา มีความว่า อาบัติ 4 กองนั่นแล
ย่อมมีแม้แก่ผู้ยืนอยู่, อย่างไร ? อย่างนี้ คือ ภิกษุณี ยืนในหัตถบาสของ
บุรุษด้วยอำนาจมิตตสันถวะ ในที่มืด หรือในโอกาสกำบัง ต้องปาจิตตีย์,
ยืนเว้นหัตถบาส ต้องทุกกฏ. ในเวลาอรุณขึ้น ยืนเว้นหัตถบาสของภิกษุณี
ซึ่งเป็นเพื่อน ต้องถุลลัจจัย, เว้นหัตถบาสยืน ต้องสังฆาทิเสส.
หลายบทว่า นิสินฺนสฺส จตสฺโส อาปตฺติโย นิปนฺนสิสาปิ
ตตฺตกา
มีความว่า ก็แม้ถ้าว่า ภิกษุณีนั้น นั่งก็ตาม นอนก็ตาม เธอย่อม
ต้องอาบัติ 4 กองนั้นนั่นแล.

[อาบัติมากต้องในเขตเดียวกัน]


สองบทว่า ปญฺจ ปาจิตฺติยานิ มีความว่า เภสัช 5 ที่ภิกษุรับ
ประเคนแล้วไม่ปนกัน ใส่ไว้ในภาชนะต่างกันก็ตาม ในภาชนะเดียวกันก็ตาม.
เพราะล่วง 7 วัน ภิกษุนั้น ย่อมต้องปาจิตตีย์หมดทั้ง 5 ตัว ต่างวัตถุกัน
ในขณะเดียวกัน. ไม่พึงกล่าวว่า ต้องอาบัตินี้ก่อน อาบัตินี้ภายหลัง.
สองบทว่า นว ปาจิตฺติยานิ มีความว่า ภิกษุใด ออกปากขอ
โภชนะประณีต 9 อย่าง เคล้าคำข้าวคำหนึ่ง รวมกันกับโภชนะประณีตเหล่านั่น
เทียว เปิบเข้าปาก ให้ล่วงลำคอเข้าไป, ภิกษุนี้ ย่อมต้องปาจิตตีย์ หมดทั้ง
9 ตัว ต่างวัตถุกัน ในขณะเดียวกัน. ไม่พึงกล่าวว่า ต้องอาบัตินี้ก่อน อาบัตินี้
ภายหลัง.

[วิธีแสดงอาบัติ]


สองบทว่า เอกวาจาย เทเสยฺย มีความว่า ภิกษุพึงแสดงด้วยวาจา
อันเดียว อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารับประเคนเภสัช 5 ให้ล่วง 7 วันไป

ต้องอาบัติ 5 จึงแสดงคืนอาบัติเหล่านั้นในสำนักท่าน อาบัติเหล่านั่น เป็นอัน
เธอแสดงแล้วแท้; ไม่มีกิจที่จะต้องทำด้วยวาจา 2-3 ครั้ง. แม้ในวิสัชนาที่ 2
ก็พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าออกปากขอโภชนะประณีต 9 อย่างฉัน
ต้องอาบัติ 9 จึงแสดงคืนอาบัติเหล่านั้น ในสำนักท่าน.
หลายบทว่า วตฺถํ กิตฺเตตฺวา เทเสยฺย มีความว่า พึงแสดงระบุ
วัตถุ อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ารับประเคนเภสัช 5 ให้ล่วง 7 วันไป,
ข้าพเจ้าแสดงอาบัติเหล่านั้นตามวัตถุ ในสำนักท่าน. อาบัติทั้งหลาย เป็นอัน
ภิกษุนั้นแสดงแล้วแท้. ไม่มีกิจที่จะต้องระบุชื่ออาบัติ. แม้ในวิสัชนาที่ 2 ก็
พึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าออกปากขอโภชนะประณีต 9 อย่าง ฉันแล้ว,
ข้าพเจ้าแสดงคืนอาบัติเหล่านั้น ตามวัตถุ ในสำนักท่าน.

[ยาวตติยกาบัติเป็นต้น]


สองบทว่า ยาวตติยเก ติสฺโส มีความว่า อาบัติ 3 กองในยาวตติยกะ
เหล่านี้ คือ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณีผู้พระพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร, เป็น
สังฆาทิเสส แก่ภิกษุทั้งหลาย มีพระโกกาสิกะเป็นต้น ผู้ประพฤติตามพระ-
เทวทัตต์ผู้ทำลายสงฆ์ และเป็นปาจิตตีย์แก่นางจัณฑกาฬีภิกษุณี เพราะไม่
สละทิฏฐิลามก.
สองบทว่า ฉ โวหารปจฺจยา มีความว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ 6
มีวาจาที่ตนประกอบเป็นปัจจัย. อย่างไร ? อย่างนี้ คือ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ
เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุมีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามก
ครอบงำแล้ว อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มี ไม่จริง ต้องปาราชิก, เพราะ
อาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นการณ์ ภิกษุถึงความชักสื่อ ต้องสังฆาทิเสส