เมนู

สองบทว่า เอเกตฺถ อปฺปฏิกมฺมา มีความว่า (อาบัติที่ทำคืนไม่ได้
ในศาสนานี้ มีอย่างเดียว คือ) อาบัติปาราชิก.
หลายบทว่า วินยครุกา เทฺว วุตฺตา ได้แก่ ปาราชิกและสังฆาทิเสส.
บทว่า กายวาจสิกานิ จ มีความว่า สิกขาบททั้งมวลทีเดียว เป็น
ไปในทางกายและวาจา. ไม่มีแม้เพียงสิกขาบทเดียว ที่ทรงบัญญัติในโนทวาร.
หลายบทว่า เอโก วิกาเล ธญฺญรโส ได้แก่ ยาดองด้วยเกลือ.
จริงอยู่ รสแห่งธัญชาติชนิดหนึ่งนี้แล ควรในวิกาล.
หลายบทว่า เอกา ญตฺติจตุตฺเถนต สมฺมติ ได้แก่ สมมติภิกษุ
ผู้สอนภิกษุณี. จริงอยู่ สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมอันเดียวนี้เท่านั้น อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.

[ปาราชิกทางกายเป็นต้น]


หลายบทว่า ปาราชิกา กายิกา เทฺว ได้แก่ เมถุนธรรมปาราชิก
ของภิกษุ และกายสังสัคคปาราชิกของภิกษุณี.
สองบทว่า เทฺว สํวาสกภูมิโย มีความว่า ภิกษุทำตนให้เป็น
สมานสังวาสก์ด้วยตนเอง, หรือสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ประกาศถอนภิกษุผู้ถูกสงฆ์
ยกวัตรนั้นเสีย.
แต่ในกุรุนที กล่าวสังวาสกภูมิไว้ 2 อย่าง ๆ นี้ คือ ภูมิแห่งสมาน
สังวาสก์ 1 ภูมิแห่งนานาสังวาสก์ 1.
สองบทว่า ทฺวินฺนญฺจ รตฺติจฺเฉโท ได้แก่ รัตติจเฉทของภิกษุผู้
อยู่ปริวาร 1 ของภิกษุผู้ประพฤติมานัตต์ 1.