เมนู

[อาบัติทางวาจาในราตรีเป็นต้น]


หลายบทว่า เทฺว วาจสิกา รตฺตึ มีความว่า ภิกษุณียืนพูดใน
หัตถบาสกับบุรุษ ในเวลามืด ๆ ค่ำ ๆ ไม่มีแสงไฟ ต้องปาจิตตีย์, เว้นหัตถบาส
ยืนพูด ต้องทุกกฏ.
หลายบทว่า เทฺว วาจสิกา ทิวา มีความว่า ภิกษุณียืนพูดใน
หัตถบาสกับบุรุษ ในโอกาสที่ปิดบัง ในกลางวัน ต้องปาจิตตีย์, เว้นหัตถบาส
ยืนพูด ต้องทุกกฏ.
สองบทว่า ททมานสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นอาบัติ 3 อย่าง
แก่ภิกษุผู้ให้อย่างนี้ คือ มีประสงค์จะให้ตาย ให้ยาพิษแก่มนุษย์ ถ้าว่า เขาตาย
ด้วยยาพิษนั้น ภิกษุต้องปาราชิก, ให้แก่ยักษ์และเปรต ถ้าว่า ยักษ์และเปรต
นั้นตาย ภิกษุต้องถุลลัจจัย, ให้แก่สัตว์ดิรัจฉาน ถ้าว่า มันตาย ภิกษุต้อง
ปาจิตตีย์, แม้เพราะให้จีวรแก่ภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ ก็ต้องปาจิตตีย์.
สองบทว่า จตฺตาโร จ ปฏิคฺคเห มีความว่า เป็นสังฆาทิเสส
เพราะจับมือและจับช้องผม, ต้องปาราชิก เพราะอมองคชาตด้วยปาก ต้อง
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เพราะรับจีวรของภิกษุณีผู้มีใช่ญาติ, ต้องถุลลัจจัยแก่ภิกษุณี
ผู้กำหนัด รับของเคี้ยว ของบริโภค จากมือบุรุษผู้กำหนัด, กองอาบัติ 4
ย่อมมีในเพราะรับ ด้วยประการอย่างนี้.

[อาบัติเป็นเทสนาคามินีเป็นต้น]


สองบทว่า ปญฺจ เทสนาคามินิโย ได้แก่ ลหุกาบัติ 5 กอง.
สองบทว่า ฉ สปฺปฏิกมฺมา มีความว่า เว้นปาราชิกเสียแล้ว อาบัติ
ที่เหลือ (มีทางจะทำคืนได้.

สองบทว่า เอเกตฺถ อปฺปฏิกมฺมา มีความว่า (อาบัติที่ทำคืนไม่ได้
ในศาสนานี้ มีอย่างเดียว คือ) อาบัติปาราชิก.
หลายบทว่า วินยครุกา เทฺว วุตฺตา ได้แก่ ปาราชิกและสังฆาทิเสส.
บทว่า กายวาจสิกานิ จ มีความว่า สิกขาบททั้งมวลทีเดียว เป็น
ไปในทางกายและวาจา. ไม่มีแม้เพียงสิกขาบทเดียว ที่ทรงบัญญัติในโนทวาร.
หลายบทว่า เอโก วิกาเล ธญฺญรโส ได้แก่ ยาดองด้วยเกลือ.
จริงอยู่ รสแห่งธัญชาติชนิดหนึ่งนี้แล ควรในวิกาล.
หลายบทว่า เอกา ญตฺติจตุตฺเถนต สมฺมติ ได้แก่ สมมติภิกษุ
ผู้สอนภิกษุณี. จริงอยู่ สมมติด้วยญัตติจตุตถกรรมอันเดียวนี้เท่านั้น อัน
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว.

[ปาราชิกทางกายเป็นต้น]


หลายบทว่า ปาราชิกา กายิกา เทฺว ได้แก่ เมถุนธรรมปาราชิก
ของภิกษุ และกายสังสัคคปาราชิกของภิกษุณี.
สองบทว่า เทฺว สํวาสกภูมิโย มีความว่า ภิกษุทำตนให้เป็น
สมานสังวาสก์ด้วยตนเอง, หรือสงฆ์ผู้พร้อมเพรียง ประกาศถอนภิกษุผู้ถูกสงฆ์
ยกวัตรนั้นเสีย.
แต่ในกุรุนที กล่าวสังวาสกภูมิไว้ 2 อย่าง ๆ นี้ คือ ภูมิแห่งสมาน
สังวาสก์ 1 ภูมิแห่งนานาสังวาสก์ 1.
สองบทว่า ทฺวินฺนญฺจ รตฺติจฺเฉโท ได้แก่ รัตติจเฉทของภิกษุผู้
อยู่ปริวาร 1 ของภิกษุผู้ประพฤติมานัตต์ 1.