เมนู

เป็นถุลลัจจัย, เพราะของที่ซัดไปกับของเนื่องด้วยกายถูกกัน เป็นทุกกฏ.
เพราะจี้ด้วยนิ้วมือ เป็นปาจิตตีย์.

[อาบัติเพราะอรุณขึ้นเป็นต้น]


สองบทว่า อรุณุคฺเค ติสฺโส มีความว่า เพราะอรุณขึ้น ภิกษุย่อม
ต้องอาบัติ 3 เหล่านี้ คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยอำนาจก้าวล่วง 1 ราตรี
6 ราตรี 7 วัน 10 วัน และ 1 เดือน, เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณี เพราะอยู่
ปราศ (จากเพื่อน) ตลอดราตรี, ภิกษุปิดอาบัติไว้ตลอดยามที่ 1 ก็ดี ปิดไว้
ตลอดยามที่ 2 ก็ดี ตลอดยามที่ 3 ก็ดี อาบัติเป็นอันเธอปิดเมื่ออรุณขึ้นแล้ว
เธอชื่อว่าย่อมปิดอาบัติไว้ พึงให้เธอแสดงอาบัติทุกกฏ.
สองบทว่า เทฺว ยาวตติยกา มีความว่า อาบัติชื่อยาวตติยกา มี 11*
แต่แบ่งเป็น 2 ด้วยอำนาจพระบัญญัติ คือ ยาวตติยกาบัติ ของภิกษุ ยาว-
ตติยกาบัติ ของภิกษุณี.
สองบทว่า เอเกตฺถ อฏฺฐวตฺถุกา มีความว่า อาบัติอย่างหนึ่ง
ของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่าอัฏฐวัตถุกา ในศาสนานี้นี่.
สองบทว่า เอเกน สพฺพสงฺคโห มีความว่า สงเคราะห์สิกขาบท
ทั้งมวล และปาฏิโมกขุทเทศทั้งมวล เข้าด้วยนิทานุทเทสอันเดียวนี้ว่า ภิกษุใด
มีอาบัติอยู่, ภิกษุนั้น พึงเปิดเผยเสีย.

[มูลแห่งวินัยเป็นต้น]


หลายบทว่า วินยสฺส เทฺว มูลานิ มีความว่า (มูลแห่งวินัยมี 2
คือ) กาย 1 วาจา 1.
* ที่ถูก 12 คือภิกษุ 4 ภิกษุณี 8.

หลายบทว่า ครุกา เทฺว วุตฺตา มีความว่า (อาบัติหนักท่านกล่าวได้
2 คือ) ปาราชิกและสังฆาทิเสส.
สองบทว่า เทฺว ทุฏฺฐุลฺลจฺฉาทนา มีความว่า ขึ้นชื่อว่าอาบัติ
เพราะปิดโทษชั่วหยาบ มี 2 เหล่านี้ คือ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณีผู้ปิดโทษ
(คือปาราชิกของภิกษุณีอื่น) เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ปิดสังฆาทิเสส (ของภิกษุ
อื่น).

[อาบัติในละแวกบ้านเป็นต้น]


สองบทว่า คามนฺตเร จตสฺโส มีความว่า อาบัติ 4 อย่าง ด้วย
อำนาจทุกกฏ ปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย และสังฆาทิเสส เพราะละแวกบ้านเหล่านี้
คือ ภิกษุกับภิกษุณีชวนกัน ต้องทุกกฏ. เข้าอุปจารบ้านอื่น ต้องปาจิตตีย์,
เมื่อภิกษุณี ไปสู่ละแวกบ้าน ในบ้านที่ล้อมเป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ 1, เป็น
สังฆาทิเสส ในย่างเท้าที่ 2, เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้าที่ 1 ที่ก้าวเข้าอุปจาร
แห่งบ้านไม่ได้ล้อม, เป็นสังฆาทิเสส ในย่างเท้าที่ 2.
สองบทว่า จตสฺโส นทีปารปจฺจยา มีความว่า อาบัติ 4 อย่าง
เหล่านี้ คือ ภิกษุกับภิกษุณีชวนกัน ต้องทุกกฏ, ลงเรือ ต้องปาจิตตีย์,
เมื่อภิกษุณี (รูปเดียว) ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ ในเวลาข้าม เป็นถุลลัจจัย ในย่างเท้า
ที่ 1, เป็นสังฆาทิเสส ในย่างเท่าที่ 2.
สองบทว่า เอกมํเส ถุลฺลจฺจยํ มีความว่า (ภิกษุย่อมต้องถุลลัจจัย)
เพราะเนื้อแห่งมนุษย์
สองบทว่า นวมํเสสุ ทุกฺกฏํ มีความว่า (ภิกษุย่อมต้องทุกกฏ)
ในเพราะอกัปปิยมังสะที่เหลือ