เมนู

อปรทุติยคาถาสังคณิกวัณณนา


วินิจฉัยในวิสัชนาคาถาว่า กตาปตฺติโย กายิกา เป็นอาทิ พึงทราบ
ดังนี้ :-

[อาบัติทางกายเป็นต้น]


บาทคาถาว่า ฉ อาปตฺติโย กายิกา มีความว่า อาบัติทั้งหลาย
ที่ท่านกล่าวไว้ในอันตรเปยยาล โดยนัยมีคำว่า ภิกษุต้องอาบัติ 6 ด้วยอาปัตติ
สมุฏฐานที่ 4 คือ ภิกษุเสพเมถุนธรรมต้องปาราชิก เป็นต้น. จริงอยู่ อาบัติ
เหล่านั้นตรัสว่า เนื่องด้วยกาย เพราะเกิดขึ้นในกายทวาร.
สองบทว่า ฉ วาจสิกา มีความว่า อาบัติทั้งหลาย ที่ตรัสไว้ใน
อันตรเปยยาลนั้นแล โดยนัยมีคำว่า ภิกษุต้องอาบัติ 6 ด้วยอาปัตติสมุฏฐาน
ที่ 5 คือ ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามกครอบงำแล้ว
ดังนี้เป็นต้น.
สองบทว่า ฉาเทนฺตสฺส ติสฺโส มีความว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุณี
ผู้ปกปิดโทษ, เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุ เพราะปกปิดอาบัติสังฆาทิเสส, เป็นทุกกฏ
เพราะปกปิดอาบัติชั่วหยาบของตน.
สองบทว่า ปญฺจ สํสคฺคปจฺจยา มีความว่า อาบัติ 5 มีการ
เคล้าคลึงด้วยกายเป็นปัจจัยเหล่านี้ คือ เพราะเคล้าคลึงด้วยกาย เป็นปาราชิก
แก่ภิกษุณี, เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุ, เพราะกายกับของเนื่องด้วยกายถูกกัน

เป็นถุลลัจจัย, เพราะของที่ซัดไปกับของเนื่องด้วยกายถูกกัน เป็นทุกกฏ.
เพราะจี้ด้วยนิ้วมือ เป็นปาจิตตีย์.

[อาบัติเพราะอรุณขึ้นเป็นต้น]


สองบทว่า อรุณุคฺเค ติสฺโส มีความว่า เพราะอรุณขึ้น ภิกษุย่อม
ต้องอาบัติ 3 เหล่านี้ คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ด้วยอำนาจก้าวล่วง 1 ราตรี
6 ราตรี 7 วัน 10 วัน และ 1 เดือน, เป็นสังฆาทิเสสแก่ภิกษุณี เพราะอยู่
ปราศ (จากเพื่อน) ตลอดราตรี, ภิกษุปิดอาบัติไว้ตลอดยามที่ 1 ก็ดี ปิดไว้
ตลอดยามที่ 2 ก็ดี ตลอดยามที่ 3 ก็ดี อาบัติเป็นอันเธอปิดเมื่ออรุณขึ้นแล้ว
เธอชื่อว่าย่อมปิดอาบัติไว้ พึงให้เธอแสดงอาบัติทุกกฏ.
สองบทว่า เทฺว ยาวตติยกา มีความว่า อาบัติชื่อยาวตติยกา มี 11*
แต่แบ่งเป็น 2 ด้วยอำนาจพระบัญญัติ คือ ยาวตติยกาบัติ ของภิกษุ ยาว-
ตติยกาบัติ ของภิกษุณี.
สองบทว่า เอเกตฺถ อฏฺฐวตฺถุกา มีความว่า อาบัติอย่างหนึ่ง
ของภิกษุณีทั้งหลายเท่านั้น ชื่อว่าอัฏฐวัตถุกา ในศาสนานี้นี่.
สองบทว่า เอเกน สพฺพสงฺคโห มีความว่า สงเคราะห์สิกขาบท
ทั้งมวล และปาฏิโมกขุทเทศทั้งมวล เข้าด้วยนิทานุทเทสอันเดียวนี้ว่า ภิกษุใด
มีอาบัติอยู่, ภิกษุนั้น พึงเปิดเผยเสีย.

[มูลแห่งวินัยเป็นต้น]


หลายบทว่า วินยสฺส เทฺว มูลานิ มีความว่า (มูลแห่งวินัยมี 2
คือ) กาย 1 วาจา 1.
* ที่ถูก 12 คือภิกษุ 4 ภิกษุณี 8.