เมนู

แล้วทำสังฆกรรมแผนกหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นอันแตกกัน, ส่วนในคัมภีร์บริวาร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อุบาลี สงฆ์ย่อมแตกกันด้วยอาการ 5 เป็นอาทิ,
คำนั้นกับลักษณะแห่งสังฆเภทนี้ ที่ตรัสในสังฆเภทขันธกะนี้ โดยใจความ ไม่มี
ความแตกต่างกัน, และข้าพเจ้าจักประกาศข้อที่ไม่แตกต่างกันแห่งคำนั้น ๆ ใน
คัมภีร์บริวารนั้นแล.

[ว่าด้วยสังฆราชี]


บทว่า ปญฺญตฺเตตํ มีความว่า วัตรนั่น เราบัญญัติแล้ว, บัญญัติ
ไว้ที่ไหน ? ในวัตตขันธกะ. จริงอยู่ วัตร 14 หมวด พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติแล้ว ในวัตตขันธกะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อุบาลี
อาคันตุกวัตรนั่น อันเราบัญญัติแล้วสำหรับภิกษุทั้งหลายผู้อาคันตุกะ เป็นอาทิ.
หลายบทว่า เอวํปิ โข อุปาลิ สงฺฆราชิ โหติ โน จ
สงฺฆเภโท
มีความว่า จริงอยู่ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ย่อมมีแต่เพียงความ
ร้าวรานแห่งสงฆ์เท่านั้น, ความแตกแห่งสงฆ์ยังไม่มีก่อน; ก็แต่ว่าความ
ร้าวรานแห่งสงฆ์นี้ เมื่อขยายตัวออกโดยลำดับ ย่อมเป็นไปเพื่อความแตกแห่ง
สงฆ์ได้.
บทว่า ยถารตฺตํ ความว่า สมควรแก่ปริมาณแห่งราตรี คือ ตาม
ลำดับพระเถระ.
สองบทว่า อาเวณิภาวํ กริตฺวา ได้แก่ ทำความกำหนดไว้แผนกหนึ่ง.
สองบทว่า กมฺมากมฺมานิ กโรนฺติ มีความว่า ย่อมกระทำกรรม
ทั้งหลายทั้งเล็กทั้งใหญ่ จนชั้นสังฆกรรมอื่น ๆ อีก.
คำที่เหลือ ในอธิกรณวูปสมวัคค์แม้นี้ ตื้นทั้งนั้น.

[ว่าด้วยภิกษุผู้ทำลายสงฆ์]


วินิจฉัยในสังฆเภทวัคค์ทั้ง 2 พึงทราบดังนี้ :-
หลายบทว่า วินิธาย ทิฏฺฐึ กมฺเมน มีความว่า ภิกษุเป็นผู้มี
ความเห็นในอธรรมเป็นต้นเหล่านั้นอย่างนี้เทียวว่า เหล่านี้ เป็นอธรรมเป็นต้น
ยืนยันความเห็นนั้น แสดงอธรรมเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอำนาจธรรมเป็นต้น
แล้วแยกกระทำกรรม.
ภิกษุทำกรรมที่ยืนยันความเห็นอันใด, พร้อมกับกรรมที่ยืนยันความ
เห็น ที่เธอกระทำแล้วอย่างนั้น ๆ ย่อมมีองค์ 5 ด้วยประการอย่างนี้.
พระบาลีที่ว่า อิเมหิ โข อุปาลิ ปญฺจหงฺเคหิ นี้ เป็นคำ
ประกอบเนื้อความ ในปัญจ ะ 1. ปัญจกะทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.
อนึ่ง องค์ 3 มีการแถลงเป็นต้น แม้ในสังฆเภทวัคคนี้ ตรัสแล้ว
ด้วยอำนาจองค์เป็นบุพภาคเหมือนกัน. แต่ความเป็นผู้เยียวยาไม่ได้ พึงทราบ
ด้วยอำนาจกรรมและอุทเทสนั่นแล.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น.
คำน้อยหนึ่ง ซึ่งมีนัยอันข้าพเจ้ามิได้กล่าวแล้วในหนหลัง มิได้มีเลย
ในสังฆเภทวัคค์นี้.
วินิจฉัยในอาวาสิกวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
สองบทว่า ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต มีความว่า (บริขารของสงฆ์) อันตน
นำมาตั้งไว้ ฉันใด.
บทว่า วินยพฺยากรณา ได้แก่ แก้ปัญหาวินัย.
บทว่า ปริณาเมติ ได้แก่ ย่อมกำหนด คือ ย่อมแสดง ย่อมกล่าว.
คำที่เหลือในวัคค์นี้ ตื้นทั้งนั้นแล.