เมนู

[ว่าด้วยมุสาวาท]


วินิจฉัยในมุสาวาทวัคค์ พึงทราบดังนี้:-
มุสาวาทที่จัดเป็นปาราชิกคามี เพราะอรรถว่า ถึงปาราชิก, อธิบายว่า
ถึงความเป็นอาบัติปาราชิก. แม้ในมุสาวาทนอกนี้ ก็มีนัยเหมือนกัน.
ในมุสาวาท 5 อย่างนั้น มุสาวาทที่เป็นไปโดยอวดอุตริมนุสธรรม
ที่ไม่มี (ในตน) เป็นปาราชิกคามี, มุสาวาทที่เป็นไปโดยตามกำจัด ด้วย
ปาราชิกไม่มีมูล เป็นสังฆาทิเสสคามี, มุสาวาทที่ภิกษุกล่าว (อวดอุตริมนุส-
ธรรมที่ไม่มี) โดยปริยายแก่บุคคลผู้เข้าใจความ เป็นต้นว่า ภิกษุใดอยู่ใน
วิหารของท่าน เป็นถุลลัจจัยคามี, มุสาวาทที่ภิกษุกล่าวโดยปริยายแก่บุคคลผู้
ไม่เข้าใจความ เป็นทุกกฏคามี, มุสาวาทที่มาว่า เป็นปาจิตตีย์ เพราะกล่าว
เท็จทั้งรู้ พึงทราบว่า เป็นปาจิตติยคามี.

[ว่าด้วยอาการเป็นเหตุต้องอาบัติ]


บทว่า อทสฺสเนน ได้แก่ ไม่เห็นพระวินัยธร. จริงอยู่ ภิกษุเมื่อ
เกิดความรังเกียจในของที่ควรและไม่ควรขึ้น ได้พบพระวินัยธรแล้ว สอบถาม
ถึงความที่เป็นของควรและไม่ควรแล้ว จะพึงละของที่ไม่ควรเสีย ทำแต่ที่ควร
แต่เมื่อไม่พบพระวินัยธรนั้นกระทำ แม้ซึ่งสิ่งที่ไม่ควร ด้วยสำคัญว่าควร ก็
ย่อมต้องอาบัติ. อาบัติที่จะพึงต้องด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุไม่ต้อง เพราะพบ
พระวินัยธร, ต้องเพราะไม่พบเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า เพราะไม่เห็น.
บทว่า อสฺสวเนน มีความว่า อันภิกษุผู้อยู่แม้ในวิหารเดียวกันไป
สู่ที่บำรุงของพระวินัยธร ไม่ถามถึงสิ่งที่ควรและไม่ควร หรือไม่ฟังสิ่งที่ควร

และไม่ควร ซึ่งท่านกล่าวแก่ภิกษุเหล่าอื่น ย่อมต้องอาบัติแท้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เพราะไม่ฟัง.
บทว่า ปสุตฺตตา ได้แก่ เพราะความเป็นผู้หลับเสีย. จริงอยู่ ภิกษุ
ย่อมต้องอาบัติเพราะนอนร่วมเรือน เพราะความเป็นผู้หลับก็ได้.
อนึ่ง ภิกษุเมื่อต้องอาบัติ เพราะความเป็นผู้มีความสำคัญว่า ควรใน
ของที่ไม่ควร ชื่อว่ามีความสำคัญนั้น ต้องอาบัติ.
เพราะลืมสติ ภิกษุย่อมต้องอาบัติที่จะพึงต้องด้วยอำนาจแห่งเหตุมีก้าว
ล่วงราตรี 1 เป็นต้น.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
มุสาวาทวัคค วัณณนา จบ

[ว่าด้วยองค์เป็นเหตุลงโทษ]


วินิจฉัยในภิกขุนีวัคค์ พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า อลาภาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การไม่ได้ปัจจัย 4,
อธิบายว่า ภิกษุย่อมขวนขวาย คือพยายาม โดยประการที่ภิกษุณีทั้งหลายไม่
ได้ปัจจัย.
บทว่า อตฺถาย ได้แก่ ขวนขวาย บอกข่าวที่ให้โทษอันก่อให้เกิด
ความเสียหาย.
บทว่า อนาวาสาย ได้แก่ เพื่อต้องการจะไม่ให้อยู่, อธิบายว่า
เพื่อต้องการกำจัดออกเสียจากคามเขตเป็นที่อยู่.
บทว่า สมฺปโยเชติ ได้แก่ ชักสื่อเพื่อประโยชน์แก่การเสพอสัทธรรม.