เมนู

สองบทว่า ธมฺมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปิฎก 2 ที่เหลือ
นอกจากวินัยปิฎก.
สองบทว่า ธมฺมานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส
4 ฝ่ายสุตตันตะ.
สองบทว่า วนยํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักขันธกะและบริวาร
นั่นเอง.
สองบทว่า วินยานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส 4.
ก็อุภโตวิภังค์ เป็นอันท่านไม่สงเคราะห์ ในข้อว่า ไม่รู้จักวินัย นี้.
เพราะเหตุนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีว่า บทว่า วินยํ ได้แก่ ไม่รู้จัก
วินัยปิฎกทั้งสิ้น คำนั้นควรถือเอา.
สองบทว่า น จ ปุพฺพาปรกุสโล โหติ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาด
ในคำต้นและคำหลัง.
คำที่เหลือในบททั้งปวง นับว่าตื้นทั้งนั้น เพราะเป็นคำที่ควรทราบ
โดยปฏิปักขนัยต่อคำที่กล่าวแล้ว และเพราะเป็นคำที่ได้เปิดเผยแล้วในหนหลัง
ฉะนี้แล.
จบพรรณนาอนิสสิตวัคค์ นปฏิปปัสสัมภนวัคค์ และโวหารวัคค์.

[ว่าด้วยทำความเห็นแย้ง]


วินิจฉัยในทิฏฐาวิกัมมวัคค์ พึงทราบดังนี้:-
การทำความเห็นให้แจ้ง ชื่อว่าทำความเห็นแย้ง.

คำว่า ทิฏฺฐาวิกมฺม นี้ เป็นชื่อของวินัยกรรม กล่าวคือการแสดง
อาบัติ ซึ่งประกาศลัทธิ.
บทว่า อนาปตฺติยา ทิฏฺฐึ อาวิกโรติ มีความว่า แสดงอนาบัติ
แท้ ๆ ว่าเป็นอาบัติ.
บทว่า อเทสนาคามินิยา ได้แก่ ทำความเห็นแย้งในครุกาบัติ
อธิบายว่า แสดงอาบัติสังฆาทิเสสและปาราชิก.
บทว่า เทสิตาย ได้แก่ ทำความเห็นแย้งแม้ในลหุกาบัติที่แสดงแล้ว.
อธิบายว่า แสดงอาบัติที่แสดงแล้วซ้ำอีก.
สองบทว่า จตูหิ ปญฺจหิ ได้แก่ ทำความเห็นแย้ง อย่างที่ภิกษุ
4-5 รูปทำความเห็นแย้งกัน. อธิบายว่า 4-5 คนแสดงอาบัติพร้อมกัน.
บทว่า มโนมานเสน มีความว่า ทำความเห็นแจ้งด้วยนึกไว้ในใจ
กล่าวคือคิดไว้ ได้แก่ แสดงอาบัติด้วยจิตเท่านั้น หาได้ลั่นวาจาไม่.
บทว่า นานาสํวาสกสฺส มีความว่า ทำความเห็นแจ้ง คือ แสดง
อาบัติ ในสำนักภิกษุผู้มีสังวาสก์ต่างกันโดยลัทธิ หรือภิกษุผู้มีสังวาสก์ต่างกัน
โดยกรรม.
บทว่า นานาสีมาย มีความว่า ทำความเห็นแจ้ง ในสำนักภิกษุ
แม้ผู้เป็นสมานสังวาสก์ แต่ตั้งอยู่ในต่างสีมา. จริงอยู่ การที่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน
มาฬกสีมา แสดงอาบัติแก่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในสีมันตริกก็ดี การที่ภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน
สีมันตริก แสดงอาบัติแก่ภิกษุแม้ผู้ตั้งอยู่ในอวิปปวาสสีมาก็ดี ไม่ควร.
บทว่า อปกตตฺตสฺส มีความว่า แสดงในสำนักแห่งภิกษุผู้อันสงฆ์
ยกวัตร หรือภิกษุผู้ถูกสงฆ์งดอุโบสถและปวารณาเสีย.

[ว่าด้วยโอกาสกรรม]


หลายบทว่า นาลํ โอกาสกมฺมํ กาตุํ มีความว่า ไม่ควรเพื่อ
กระทำ. อธิบายว่า อันภิกษุไม่พึงกระทำ.
ภิกษุผู้อันสงฆ์ยกวัตร และภิกษุผู้ถูกสงฆ์งดอุโบสถและปวารณา ชื่อ
ว่าภิกษุมิใช่ผู้ปกตัตต์ แม้ในโอกาสกรรมนี้.
บทว่า จาวนาธิปฺปาโย ได้แก่ ผู้ใคร่จะให้เคลื่อนจากศาสนา.

[ว่าด้วยถามปัญหา]


สองบทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา มีความว่า เพราะความเป็นผู้
โง่ เพราะความเป็นผู้งมงาย จึงไม่สามารถทั้งเพื่อจะแก้ ทั้งเพื่อจะรู้ จะ
ประกาศความที่ตนเป็นผู้งมงายอย่างเดียวเท่านั้น จึงถามคล้ายคนบ้า.
บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ถามด้วยความปรารถนาลามกว่า ชนจัก-
สรรเสริญเรา ด้วยอุบายอย่างนี้.
บทว่า ปริภวา ได้แก่ เป็นผู้ใคร่จะยกความดูหมิ่นจึงถาม. แม้ใน
อัญญพยากรณ์ ก็มีนัยเหมือนกัน.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
ทิฏฐาวิกัมมวัคควัณณา จบ
คำใดที่จะพึงกล่าว ในอัตตาทานวัคค์และธุตังควัคค์, คำนั้นทั้งหมด
ได้กล่าวแล้วในหนหลังแล.