เมนู

สองบทว่า อธมฺมํ คณฺหาติ ได้แก่ ยึดถือธรรมที่เป็นฝ่ายไม่นำ
ออกจากทุกข์.
สองบทว่า ธมฺมํ ปฏิพาหติ ได้แก่ ค้านธรรมที่เป็นฝ่ายนำออก
จากทุกข์. . .
หลายบทว่า สมฺผญฺจ พหุํ ภาสติ ได้แก่ กล่าวค้อยคำที่ไร้
ประโยชน์มากมาย.
หลายบทว่า ปสยฺห ปวตฺตา โหติ มีความว่า เป็นผู้อันพระ
สังฆเถระมิได้เชิญ เมื่อภาระอันท่านมิได้มอบให้ อาศัยความทะนงตัวอย่าง
เดียว บังอาจกล่าวในกาลมิใช่โอกาส.
สองบทว่า อโนกาสกมฺมํ การาเปตฺวา มีความว่า เป็นผู้ไม่ให้
ภิกษุอื่นให้โอกาสเสียก่อนก็กล่าว.
หลายบทว่า น ยถาทิฏฺฐิยา พฺยากตา โหติ มีความว่าเป็นผู้
ไม่พยากรณ์ยืนยันความเห็นของตน กลับเป็นผู้งดความเห็น (ส่วนตัว) เสีย
มีความเห็นว่าเป็นธรรมเป็นต้น ในอธรรมเป็นอาทิ กล่าวไม่ตรงตามจริง.

[ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ไม่ควรพูดในสงฆ์]


หลายบทว่า อาปตฺติยา ปโยคํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า
อาบัตินี้เป็นกายประโยค, อาบัตินี้เป็นวจีประโยค.
หลายบทว่า อาปตฺติยา วูปสมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า
อาบัตินี้ระงับด้วยการแสดง, อาบัตินี้ระงับด้วยการออก, อาบัตินี้ไม่ระงับด้วย
การแสดง ไม่ระงับด้วยการออก.

หลายบทว่า น อาปตฺติยา วินิจฺฉยกุสโล โหติ ได้แก่ ไม่รู้
ว่า อาบัตินี้ มีในวัตถุนี้ คือ ไม่อาจเพื่อยกอาบัติขึ้นยืนยันตามสมควรแก่โทษ.
สองบทว่า อธิกรณสมุฏฺฐานํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า
อธิกรณ์นี้ อาศัยเภทกรวัตถุ 18 ตั้งขึ้น, อธิกรณ์นี้ อาศัยวิบัติ 4 ตั้งขึ้น,
อธิกรณ์นี้ อาศัยกองอาบัติ 5 หรือ 7 ตั้งขึ้น, อธิกรณ์นี้ อาศัยสังฆกิจ 4
อย่างตั้งขึ้น.
สองบทว่า ปโยคํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า อธิกรณ์นี้ มี
ประโยคเป็นต้นเค้า 12 อธิกรณ์นี้ มีประโยคเป็นต้นเค้า 14, อธิกรณ์นี้ มี
ประโยคเป็นต้นเค้า 6, อธิกรณ์นี้ ประโยคเป็นต้นเค้า 1. อธิบายว่า จริงอยู่
ต้นเค้าตามที่เป็นของตนนั่นเองแห่งอธิกรณ์ทั้งหลาย จัดเป็นประโยค, ไม่รู้จัก
ประโยคแม้ทั้งปวงนั้น.
สองบทว่า วูปสมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า อธิกรณ์นี้ ระงับ
ด้วยสมถะ 2, อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ 4, อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ 3
อธิกรณ์นี้ ระงับด้วยสมถะ 1.
หลายบทว่า น อธิกรณสฺส วินิจฺฉยกุสโล โหติ ได้แก่ ไม่
รู้เพื่อวินิจฉัยอธิกรณ์ให้ถึงความระงับ.
สองบทว่า กมฺมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักกรรม 7 อย่าง มี
ตัชชนียกรรมเป็นต้น.
หลายบทว่า กมฺมสฺส กรณํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า กรรม
นี้ ควรทำโดยอุบายนี้.

หลายบทว่า กมฺมสฺส วตฺถุํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า นี้เป็น
วัตถุแห่งตัชชนียกรรม, นี้เป็นวัตถุแห่งนิยสกรรมเป็นต้น.
หลายบทว่า กมฺมสฺส วตฺตํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักวัตร 18
ประการแห่งกรรม 8 ในหนหลัง ในกรรม 7 ชนิด และวัตร 43 ประการ
แห่งอุกเขปนียกรรม 3 อย่าง.
หลายบทว่า กมฺมสฺส วูปสมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า ภิกษุ
ใดประพฤติวัตรแล้วขอ กรรมของภิกษุนั้น อันสงฆ์ควรให้ระงับ, โทษอัน
สงฆ์พึงให้แสดง.
สองบทว่า วตฺถุํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักวัตถุแห่งกองอาบัติ 7.
สองบทว่า นิทานํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ว่า สิกขาบทนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติในนครนี้, สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติในนครนี้.
สองบทว่า ปญฺญตฺตึ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักบัญญัติทั้ง 3
อย่าง ด้วยอำนาจบัญญัติ อนุบัญญัติ และอนุปปันนบัญญัติ.
สองบทว่า ปทปจฺฉาภฏฺฐํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักบทที่ควร
จัดไว้ข้างหน้า, คือเมื่อตนควรจะกล่าวว่า พุทฺโธ ภควา กลับประกอบให้
สับหน้าลับหลังกันเสียว่า ภควา พุทฺโธ.
หลายบทว่า อกุสโล จ โหติ วินเย ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดใน
บาลีและอรรถกถาแห่งวินัย.
หลายบทว่า ญตฺตึ น ชานาติ มีความว่า ก็โดยย่อ ญัตติมี 2
อย่าง คือ ญัตติที่แสดงอย่างนี้ว่า เอสา ญตฺติ 1 ญัตติที่ไม่แสดง 1. ใน
ญัตติ 2 อย่างนั้น ญัตติใด ไม่แสดงอย่างนั้น, ญัตตินั้น จัดเป็นกรรมญัตติ.

ญัตติใดแสดง, ญัตตินั้น จัดเป็นกรรมปาทญัตติ, ไม่รู้จักญัตตินั้น โดย
ประการทั้งปวง.
หลายบทว่า ญตฺติยา กรณํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักการ
กระทำกรรมญัตติ ใน 9 สถาน. ไม่รู้จักการกระทำกรรมปาทญัตติ ใน 2
สถาน.
สองบทว่า ญตฺติยา อนุสาวนํ ได้แก่ ไม่รู้ว่า ญัตตินี้ มี
อนุสาวนา 1 ญัตตินี้ มีอนุสาวนา 3.
หลายบทว่า ญตฺติยา สมถํ น ชานาติ มีความว่า สมถะ 4
อย่างนี้ใด คือ สติวินัย อมูฬหวินัย ตัสสปาปิยสิกา ติณวัตถารกะ ไม่เว้น
จากญัตติ, ไม่รู้จักสมถะนั้นว่า ระงับด้วยญัตติ
หลายบทว่า ญตฺติยา วูปสมํ น ชานาติ มีความว่า อธิกรณ์
ใด ระงับด้วยญัตติสมถะ 4 อย่างนี้ ไม่รู้จักความระงับนั้นแห่งอธิกรณ์นั้นว่า
ความระงับนี้ ทำด้วยญัตติ.
สองบทว่า สุตฺตํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุภโตวิภังค์.
สองบทว่า สุตฺตานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส 4.
สองบทว่า วินยํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักขันธกะและบริวาร.
สองบทว่า วินยานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส
นั่นเอง.
สองบทว่า น จ ฐานาฐานกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในเหตุ
และมิใช่เหตุ.

สองบทว่า ธมฺมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักปิฎก 2 ที่เหลือ
นอกจากวินัยปิฎก.
สองบทว่า ธมฺมานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส
4 ฝ่ายสุตตันตะ.
สองบทว่า วนยํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักขันธกะและบริวาร
นั่นเอง.
สองบทว่า วินยานุโลมํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักมหาปเทส 4.
ก็อุภโตวิภังค์ เป็นอันท่านไม่สงเคราะห์ ในข้อว่า ไม่รู้จักวินัย นี้.
เพราะเหตุนั้น คำใดที่ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีว่า บทว่า วินยํ ได้แก่ ไม่รู้จัก
วินัยปิฎกทั้งสิ้น คำนั้นควรถือเอา.
สองบทว่า น จ ปุพฺพาปรกุสโล โหติ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาด
ในคำต้นและคำหลัง.
คำที่เหลือในบททั้งปวง นับว่าตื้นทั้งนั้น เพราะเป็นคำที่ควรทราบ
โดยปฏิปักขนัยต่อคำที่กล่าวแล้ว และเพราะเป็นคำที่ได้เปิดเผยแล้วในหนหลัง
ฉะนี้แล.
จบพรรณนาอนิสสิตวัคค์ นปฏิปปัสสัมภนวัคค์ และโวหารวัคค์.

[ว่าด้วยทำความเห็นแย้ง]


วินิจฉัยในทิฏฐาวิกัมมวัคค์ พึงทราบดังนี้:-
การทำความเห็นให้แจ้ง ชื่อว่าทำความเห็นแย้ง.