เมนู

วินิจฉัยในกติมูลาทิปุจฉาวิสัชนา พึงทราบดังนี้:-
การถอนและการอฐิษฐาน ชื่อว่ากิริยาในท่ามกลาง.

[ว่าด้วยวิบัติแห่งกฐินเป็นอาทิ]


สองบทว่า วตฺถุวิปนฺนญฺจ โหติ ได้แก่ เป็นผ้าไม่ควร. ผ้าที่
พวกทายกถวายในวันนี้ สงฆ์ให้แก่ภิกษุผู้กรานกฐินในวันพรุ่งนี้ ชื่อว่าวิบัติ
โดยกาล. ผ้าที่ตัดแล้วไม่ทำให้เสร็จในวันนั้นนั่นเอง ชื่อว่าวิบัติ โดยการ
กระทำ.
วินิจฉัยในวิสัชนาคำถามที่ว่า กฐินํ ชานิตพฺพํ เป็นอาทิ พึง
ทราบดังนี้:-
สองบทว่า เตสํเยว ธมฺมานํ มีความว่า เมื่อธรรมทั้งหลายมีรูป
ธรรมเป็นต้น เหล่าใดมีอยู่ ชื่อกฐินจึงมี ความประสมคือประมวลรูปธรรม
เป็นต้นเหล่านั้น. ก็ด้วยคำว่า นามํ นามกมฺมํ เป็นต้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าทรงแสดงว่า คำว่า กฐินนี้ สักว่าเป็นนามในธรรมเป็นอันมาก โดย
ปรมัตถ์ ธรรมอันหนึ่งหามีไม่.
สองบทว่า จตุวีสติยา อากาเรหิ มีความว่า (พึงทราบวิบัติแห่ง
การกรานกฐิน) ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วในหนหลัง มีคำว่า น อุลฺลิกฺขิตมตฺเตน
เป็นต้น.
สองบทว่า จตุวีสติยา อากาเรหิ มีความว่า (พึงทราบสมบัติแห่ง
การกรานกฐิน) ด้วยเหตุที่กล่าวแล้วในหนหลัง มีคำว่า กฐินเป็นอันกราน
แล้วด้วยผ้าใหม่ เป็นต้น.

คำใดอันพึงจะกล่าวในนิมิตกรรมเป็นอาทิ คำทั้งปวงนั้น ได้กล่าว
ไว้แล้วในวัณณนาแห่งกฐินขันธกะ.

[ว่าด้วยการรื้อแห่งกฐิน]


สองบทว่า เอกุปฺปาทา เอกนิโรธา มีความว่า การรื้อแห่งกฐิน
แม้เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน แม้เมื่อดับ ย่อมดับด้วยกัน.
สองบทว่า เอกุปฺปาทา นานานิโรธา มีความว่า การรื้อแห่ง
กฐิน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยกัน, เมื่อดับ ย่อมดับต่างคราวกัน.
มีคำอธิบายอย่างไร ? การรื้อแม้ทั้งปวง ย่อมเกิดขึ้นพร้อมกันกับ
การกราน, จริงอยู่ เมื่อมีการกราน การรื้อย่อมมีเป็นธรรมดา
ในบรรดาการกรานกฐิน 8 เหล่านี้ สองเบื้องต้น เมื่อจะดับย่อมดับ
คือถึงความรื้อ พร้อมกันกับการกราน. จริงอยู่ ความดับแห่งการกราน และ
ความเป็นแห่งการรื้อ แห่งกฐินุทธาร 2 นั่น ย่อมมีในขณะเดียวกัน นอกนี้
ย่อมดับต่างคราวกัน. เมื่อกฐินุทธารมปักกมนันติกาเป็นต้นแม้เหล่านั้น ถึง
แล้วซึ่งความเป็นอาการรื้อ การกรานก็ยังคงอยู่.
คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
กฐินเภท วัณณนา จบ
จบปัญญัตติวัคค วัณณนา
ในอรรถกถาวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา