เมนู

อนึ่ง ประโยคย่อมได้ปัจฉาชาตปัจจัย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาค-
เจ้าจึงตรัสว่า บุพกรณ์เป็นปัจจัยแห่งประโยค โดยเป็นปัจฉาชาตปัจจัย.
จริงอยู่ ประโยคนั้น อันภิกษุย่อมทำ เพื่อประโยชน์แก่บุพกรณ์ ซึ่งเกิด
ภายหลัง. แต่เว้นธรรม 15 กล่าวคือ มาติกาปลิโพธและอานิสงส์เสียแล้ว
ในบรรดาธรรมมีประโยคเป็นอาทิ ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่ได้สหชาต-
ปัจจัย. เพราะว่า ธรรม 15 นั้นเท่านั้น ย่อมสำเร็จพร้อมกันกับการกราน
กฐิน เพราะฉะนั้น จึงเป็นสหชาตปัจจัยอาศัยกันและกันได้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ธรรม 15 เป็นปัจจัย โดยเป็นสหชาตปัจจัย.
วิสัชนาบททั้งปวง พึงทราบโดยอุบายนี้.
ปุจฉาวิสัชนามีอาทิว่า บุพกรณ์มีอะไรเป็นนิทาน ตื้นทั้งนั้น.

[ว่าด้วยนิทานแห่งประโยคเป็นอาทิ]


วินิจฉัยในวิสัชนาสองปัญหาว่า ประโยคมีอะไรเป็นนิทาน เป็นอาทิ
พึงทราบดังนี้ :-
ในคำว่า ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน มีปัจจัยเป็นนิทาน นี้ จีวร 6 ชนิด
พึงทราบว่า เป็นเหตุและเป็นปัจจัย. จริงอยู่ จีวรเหล่านั้นแลเป็นเหตุ จีวร
เหล่านั้นเป็นปัจจัยแห่งธรรมทั้งปวงมีบุพประโยคเป็นต้น. เมื่อจีวร 6 ชนิด
ไม่มี ประโยคก็หามีไม่ บุพกรณ์เป็นต้นก็หามีไม่แล เพราะเหตุนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ประโยคมีเหตุเป็นนิทาน เป็นต้น.
วินิจฉัยในสังคหวาร พึงทราบดังนี้ :-
บทว่า วจีเภเทน ได้แก่ การลั่นวาจานี้ว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วย
สังฆาฏินี้, ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยอุตราสงค์นี้ ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยอันตรวา-
สกนี้.