เมนู

ตอบว่า การเดาะกฐิน 2 อย่างที่เกิดด้วยกัน ดับด้วยกัน คือ เดาะใน
ระหว่าง 1 เดาะพร้อมกัน 1
การเดาะกฐินนอกนั้น เกิดด้วยกัน ดับต่างกัน.
กฐินเภท จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,160] ใคร ด้วยอย่างไร ธรรม 15 อย่าง นิทาน เหตุ ปัจจัย
สงเคราะห์ มูล เบื้องต้น ประเภท บุคคล บุคคล 3 การเดาะกฐิน 3
พึงรู้ การกราน การสวด ปลิโพธ เป็นใหญ่ สีมา เกิดขึ้นและดับ.
ปริวาร จบ

กฐินเภท วัณณนา


[ธรรมที่เกิดพร้อมกับกรานกฐิน]


วินิจฉัยในกฐิน พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า อฏฺฐ มาติกา ได้แก่ มาติกา 8 มีปักกมนันติกา
(กำหนดด้วยการหลีกไปเป็นที่สุด) เป็นต้น ที่ตรัสไว้ในขันธกะ. แม้ปลิโพธ
และอานิสงส์ก็ได้ตรัสไว้ในหนหลังแล้วแล.

[ว่าด้วยอนันตรปัจจัยเป็นอาทิ]


บทว่า ปโยคสฺส ได้แก่ ประโยคมีการหาน้ำมาเป็นต้น ที่ภิกษุ
กระทำเพื่อประโยชน์แก่บุพกรณ์ 7 อย่าง มีซักจีวรเป็นต้น.

หลายบทว่า กตเม ธมฺมา อนนฺตรปจฺจเยน ปจฺจโย มีความว่า
ธรรมเหล่าไหนเป็นธรรมสืบลำดับ โดยเนื่องด้วยประโยคที่ยังไม่มา ย่อมเป็น
ปัจจัย.
บทว่า สมนนฺตรปจฺจเยน มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม
ถึงธรรมที่สืบลำดับกันเป็นปัจจัย ด้วยธรรมที่สืบลำดับกันเป็นปัจจัยโดยตรง
นั่นเอง แต่ทำให้ใกล้ชิดกว่า.
บทว่า นิสฺสยปจฺจเยน มีความว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นเหมือนเข้า
ใกล้ความเป็นธรรมเป็นที่อาศัย คือความเป็นธรรมเป็นที่รองรับแห่งประโยค
ที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นปัจจัย.
บทว่า อุปนิสฺสยปจฺจเยน มีความว่า ตรัสถามถึงธรรมที่อาศัย
เป็นปัจจัย ด้วยธรรมเป็นที่อาศัยเป็นปัจจัย ซึ่งใกล้ชิดกันนั่นเอง แต่ทำให้
ใกล้ชิดกว่า.
ตรัสถามถึงภาวะแห่งธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย ด้วยบทว่า ปุเรชาต-
ปจฺจเยน
นี้.
ตรัสถามถึงภาวะแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้น ไม่ก่อนไม่หลัง เป็น
ปัจจัย ด้วยบทว่า สหชาตปจฺจเยน นี้.
บทว่า ปุพฺพกรณสฺส ได้แก่ บุพกรณ์ มีการซักจีวรเป็นต้นด้วย.
บทว่า ปจฺจุทฺธรสฺส ได้แก่ การถอนไตรจีวรมีสังฆาฏิผืนเก่า
เป็นต้น.
บทว่า อธิฏฺฐานสฺส ได้แก่ อธิษฐานจีวรกฐิน.
บทว่า อตฺถารสฺส ได้แก่ การกรานกฐิน.

หลายบทว่า มาติกานญฺจ ปลิโพธานญฺจ ได้แก่ มาติกา 8 และ
ปลิโพธ 2.
บทว่า วตฺถุสฺส ได้แก่ วัตถุควรแก่กฐิน มีสังฆาฏิเป็นต้น.
คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

[ว่าด้วยปัจจัยประโยคเป็นอาทิ]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถามถึงบุพกรณ์เป็นต้น ซึ่งได้โดย
ความเป็นปัจจัย และประโยคเป็นต้น ซึ่งไม่ได้โดยความเป็นปัจจัย อย่างนั้น
ทั้งหมดแล้ว บัดนี้ จะแสดงบุพกรณ์ เป็นต้น ซึ่งได้โดยความเป็นปัจจัย
แห่งประโยคเป็นต้นนั่นแล แล้วจึงตรัสคำวิสัชนา โดยนัยมีคำว่า ปุพฺพกรณํ
ปโยคสฺส
เป็นต้น.
เนื้อความแห่งคำวิสัชนา พึงทราบดังนี้:-
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยในคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ปโยคสฺส
กตเม ธมฺมา
เป็นต้น, บุพกรณ์เป็นปัจจัย โดยอนันตรปัจจัยแห่งประโยค
เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย นิสสยปัจจัย และอุปนิสสปัจจัยแห่งประโยค.
จริงอยู่ บุพกรณ์แม้ทั้ง 7 อย่าง ย่อมเป็นปัจจัยโดยปัจจัย 4 เหล่า-
นี้แห่งประโยค เพราะเหตุที่ประโยคนั้น อันภิกษุย่อมกระทำเพื่อประโยชน์แก่
บุพกรณ์ อันตนพึงให้สำเร็จด้วยประโยคนั้น. แต่ประโยคนั้น ย่อมไม่ได้แม้
ซึ่งธรรมอันหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ได้อุทเทสแล้ว ในความเป็นปุเรชาตปัจจัย
ประโยคนั้น ชื่อว่าเป็นปุเรชาตปัจจัยเองแห่งบุพกรณ์โดยแท้ เพราะเมื่อ
ประโยคมี บุพกรณ์จึงสำเร็จ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ประโยคเป็นปัจจัยแห่งบุพกรณ์ โดยเป็นปุเรชาตปัจจัย.