เมนู

ข้อว่า ถามถึงประเทศ นั้น หมายถึงในประเทศด้านตะวันออก
หรือ ประเทศด้านตะวันตก ในประเทศด้านเหนือ หรือประเทศด้านใต้.
มหาสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,123] วัตถุ นิทาน อาการ คำต้น
คำหลัง สิ่งที่ทำแล้ว สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ กรรม
อธิกรณ์ และสมถะ และลำเอียง เพราะชอบ
เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว ให้
เข้าใจและพินิจ เพ่งเล็ง เลื่อมใส มีพรรค-
พวก มีสุตะ แก่กว่า เรื่องที่ยังไม่มาถึง
เรื่องที่มาถึงแล้ว โดยธรรม โดยวินัย และ
แม้โดยสัตถุศาสน์ ชื่อว่า มหาสงคราม แล.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

มหาสังคาม วัณณา


วินิจฉัยในมหาสังคาม พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า วตฺถุโต วา วตฺถุํ สงฺกมติ มีความว่า โจทก์-
กล่าวว่า วัตถุแห่งปฐมปาราชิก อันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว หรือว่าวัตถุแห่งปฐม

ปาราชิก อันข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว เมื่อถูกถาม คือ ถูกคาดคั้นเข้าอีก กลับ
กล่าวว่า วัตถุแห่งปฐมปาราชิก ข้าพเจ้าไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน วัตถุแห่งทุติย-
ปาราชิก อันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว หรือว่า วัตถุแห่งทุติยปาราชิก อันข้าพเจ้า
ได้ยินแล้ว. พึงทราบการย้ายวัตถุที่เหลือ การย้ายวิบัติจากวิบัติ และการย้าย
อาบัติจากอาบัติ โดยนัยนี้แล.
ฝ่ายภิกษุใดกล่าวว่า ข้าพเจ้าหาได้เห็นไม่ หาได้ยินไม่ดั่งนี้แล้ว ภาย
หลังกล่าวว่า ข้อนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ได้เห็น หรือว่า ข้อนั้น แม้ข้าพเจ้าก็ได้
ยิน กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้เห็น หรือว่าข้าพเจ้าได้ยิน ดังนี้แล้ว ภายหลังกลับ
กล่าวว่า ข้าพเจ้าหาได้เห็นไม่ หาได้ยินไม่ ภิกษุนั้น พึงทราบว่า ปฏิเสธ
แล้วกลับปฏิญญา ปฏิญญาแล้วกลับปฏิเสธ. ภิกษุนี้แล ชื่อว่าสับเรื่องอื่นด้วย
เรื่องอื่น.
สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท ด้วยอำนาจสีมีสีเขียวเป็นต้น และความเป็นผู้ไม่มี
โรค ท่านกล่าวว่า วณฺโณ อรณฺโณ. สัญจริตสิกขาบท ท่านกล่าวว่า
วณฺณมนุปฺปาทนํ (ยังการขอให้เกิดตามขึ้น) 3 สิกขาบทมีกายสังสัคค
สิกขาบทเป็นต้น ท่านกล่าวตามรูปเดิมนั่นเอง. 5 สิกขาบทนี้ พึงทราบว่า
เป็นบุพภาค คือ บุพประโยคของเมถุนธรรม ด้ายประการฉะนี้.
อปโลกนกรรม 4 นั้น ได้แก่ กรรมเป็นวรรค* โดยธรรมเป็นต้น.
แม้ในกรรมที่เหลือ ก็นัยนี้แล.
หมวด 4 สี่หมวด จงรวมเป็น 16 ด้วยประการฉะนี้.
หลายบทว่า พหุชนอหิตาย ปฏิปนฺโน โหติ มีความว่า จริง
อยู่ เมื่ออธิกรณ์อันพระวินัยธร วินิจฉัยด้วยฉันทาคติอย่างนั้น สงฆ์ในวัดนั้น
* ตามฉบับในลาน เป็น วคฺคาทีนิ.

ย่อมแตกกันเป็น 2 ฝ่าย. แม้ภิกษุณีทั้งหลายผู้อาศัยโอวาทเป็นอยู่ ก็ย่อมเป็น
2 ฝ่าย. พวกอุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี เด็กชายก็ดี เด็กหญิงก็ดีย่อมเป็น 2 ฝ่าย
แม้เหล่าอารักขเทวดาของชนเหล่านั้น ก็ย่อมแตกกันเป็น 2 ฝ่ายเหมือนกัน.
ต่อแต่นั้นเทวดาทั้งหลาย นับภุมมเทวดาเป็นต้น จนถึงอกนิฏฐพรหม ย่อม
แยกเป็น 2 ฝ่ายด้วย.
ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ภิกษุผู้ลำเอียงด้วยฉันทาคติเป็นต้น
ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ฯลฯ เป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ
ไม่เป็นประโยชน์ เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ แก่ชนเป็นอันมาก ทั้งเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย.
บทว่า วิสมนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อาศัยกายกรรมเป็นต้น ซึ่งไม่
เรียบร้อย.
บทว่า คหณนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อาศัยความถือ กล่าวคือ มิจฉาทิฏฐิ
และอันตคาหิกทิฏฐิ.
บทว่า พลวนิสฺสิโต ได้แก่ ผู้อาศัยภิกษุผู้มีชื่อเสียง ซึ่งมีกำลัง.
สองบทว่า ตสฺส อวชานนฺโต ได้แก่ ดูหมิ่นถ้อยคำของภิกษุนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตสฺส นั้น เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิ-
ภัตติ. อธิบายว่า ดูหมิ่นภิกษุนั้น.
สองบทว่า ยํ อตฺถาย มีความว่า เพื่อประโยชน์ใด.
สองบทว่า ตํ อตฺถํ มีความว่า ประโยชน์นั้น.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น. ฉะนี้แล.
มหาสังคาม วัณณนา จบ

กฐินเภท


ว่าด้วยกฐินไม่เป็นอันกรานเป็นต้น


[1,124] กฐินใครไม่ได้กราน กฐินใครได้กราน กฐินไม่เป็นอัน
กราน ด้วยอาการอย่างไร กฐินเป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร.

กฐินไม่เป็นอันกราน


[1,125] คำว่า กฐินใครไม่ได้กราน นั้น ความว่า กฐิน
บุคคล 2 พวก คือ ภิกษุผู้ไม่ได้กราน 1 ภิกษุผู้ไม่อนุโมทนา 1 ไม่เป็น
อันกราน กฐิน บุคคล 2 พวกนี้ ไม่เป็นอันกราน.

กฐินเป็นอันกราน


[1,126] คำว่า กฐินใครได้กราน นั้น ความว่า กฐิน บุคคล
2 พวกนี้ คือ ภิกษุผู้กราน 1 ภิกษุผู้อนุโมทนา 1 เป็นอันกราน กฐิน
บุคคล 2 พวกนี้ เป็นอันกราน.

เหตุที่กฐินไม่เป็นอันกราน


[1,127] คำว่า กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการอย่างไร นั้น
คือ กฐินไม่เป็นอันกรานด้วยอาการ 24 คือ:-
1. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงขีดรอย
2. กฐินไม่เป็นอันกราน ด้วยอาการเพียงซักผ้า