เมนู

จำแนกการเห็น


[1,118] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น ถามถึงอะไร
คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น ถามถึงอะไร.
[1,119] คำว่า ท่านเห็นอะไร นั้น ถามถึงวัตถุ ถามถึงวิบัติ
ถามถึงอาบัติ ถามถึงอัธยาจาร
ข้อว่า ถามถึงวัตถุ นั้น คือ ถามถึงวัตถุปาราชิก 8 ถามถึงวัตถุ
สังฆาทิเสส 23 ถามถึงวัตถุอนิยต 2 ถามถึงวัตถุนิสัคคิยะ 42 ถามถึงวัตถุ
ปาจิตตีย์ 188 ถามถึงวัตถุปาฏิเทสนียะ 12 ถามถึงวัตถุทุกกฏทั้งหลาย ถาม
ถึงวัตถุทุพภาสิตทั้งหลาย
ข้อว่า ถามถึงวิบัติ นั้น คือ ถามถึงศีลวิบัติ ถามถึงอาจารวิบัติ
ถามถึงทิฏฐิวิบัติ ถามถึงอาชีววิบัติ
ข้อว่า ถามถึงอาบัติ นั้น คือ ถามถึงอาบัติปาราชิก ถามถึงอาบัติ
สังฆาทิเสส ถามถึงอาบัติถุลลัจจัย ถามถึงอาบัติปาจิตตีย์ ถามถึงอาบัติปาฏิ-
เทสนียะ ถามถึงอาบัติทุกกฏ ถามถึงอาบัติทุพภาสิต
ข้อว่า ถามถึงอัธยาจาร นั้น คือ ถามถึงการร่วมกันเป็นคู่ ๆ.
[1,120] คำว่า ท่านเห็นว่าอย่างไร นั้น ได้แก่ถามถึงเพศ ถาม
ถึงอิริยาบถ ถานถึงอาการ ถามถึงประการอันแปลก
ข้อว่า ถามถึงเพศ นั้น หมายถึงว่า สูงหรือต่ำ ดำหรือขาว
ข้อว่า ถามถึงอิริยาบถ นั้น หมายถึงว่า เดินหรือยืน นั่งหรือนอน

ข้อว่า ถามถึงอาการ นั้น หมายถึงเพศคฤหัสถ์ เพศเดียรถีย์หรือ
เพศบรรพชิต
ข้อว่า ถามถึงประการอันแปลก นั้น หมายถึงเดินไปหรือยืนอยู่
นั่งหรือนอน.
[1,121] คำว่า ท่านเห็นเมื่อไร นั้น คือ ถามถึงกาล ถามถึง
สมัย ถามถึงวัน ถามถึงฤดู
ข้อว่า ถามถึงกาล นั้น หมายถึงเวลาเช้า เวลาเที่ยง หรือเวลา
เย็น
ข้อว่า ถามถึงสมัย นั้น หมายถึงสมัยเช้า สมัยเที่ยง หรือสมัย
เย็น
ข้อว่า ถามถึงวัน นั้น หมายถึงก่อนอาหาร หรือหลังอาหาร
กลางคืนหรือกลางวัน ข้างแรมหรือข้างขึ้น
ข้อว่า ถามถึงฤดู นั้น หมายถึงฤดูหนาว ฤดูร้อน หรือฤดูฝน.
[1,122] คำว่า ท่านเห็นที่ไหน นั้น คือ ถามถึงสถานที่ ถาม
ถึงพื้นที่ ถามถึงโอกาส ถามถึงประเทศ
ข้อว่า ถามถึงสถานที่ นั้น หมายถึงพื้นที่หรือแผ่นดิน ธรณี
หรือทางเดิน
ข้อว่า ถามถึงพื้นที่ นั้น หมายถึงแผ่นดินหรือภูเขา หินหรือ
ปราสาท
ข้อว่า ถามถึงโอกาส นั้น หมายถึงในโอกาสด้านตะวันออก หรือ
โอกาสด้านตะวันตก โอกาสด้านเหนือ หรือโอกาสด้านใต้

ข้อว่า ถามถึงประเทศ นั้น หมายถึงในประเทศด้านตะวันออก
หรือ ประเทศด้านตะวันตก ในประเทศด้านเหนือ หรือประเทศด้านใต้.
มหาสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,123] วัตถุ นิทาน อาการ คำต้น
คำหลัง สิ่งที่ทำแล้ว สิ่งที่ยังไม่ได้ทำ กรรม
อธิกรณ์ และสมถะ และลำเอียง เพราะชอบ
เพราะชัง เพราะหลง และเพราะกลัว ให้
เข้าใจและพินิจ เพ่งเล็ง เลื่อมใส มีพรรค-
พวก มีสุตะ แก่กว่า เรื่องที่ยังไม่มาถึง
เรื่องที่มาถึงแล้ว โดยธรรม โดยวินัย และ
แม้โดยสัตถุศาสน์ ชื่อว่า มหาสงคราม แล.

หัวข้อประจำเรื่อง จบ

มหาสังคาม วัณณา


วินิจฉัยในมหาสังคาม พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า วตฺถุโต วา วตฺถุํ สงฺกมติ มีความว่า โจทก์-
กล่าวว่า วัตถุแห่งปฐมปาราชิก อันข้าพเจ้าได้เห็นแล้ว หรือว่าวัตถุแห่งปฐม