เมนู

คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตกหล่น จากธรรม จากวินัย
นั้น คือ สงฆ์ประชุมกัน เพื่อประโยชน์อันใด ไม่พึงยังประโยชน์อันนั้นให้
บกพร่องจากธรรม จากวินัย.

ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์


[1,116] คำว่า ด้วยธรรมใด คือด้วยเรื่องจริง
คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทก์แล้วให้จำเลยให้การ
คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวน-
สัมปทา

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์


พากย์ว่า อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วย
สัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยอย่างนั้น
มีใจความว่า อน
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุ
รูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร ท่านงดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ
งดเพราะทิฏฐิวิบัติ หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า งดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ หรือ
ว่า งดเพราะทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ท่านรู้ศีลวิบัติ อาจาร-
วิบัติทิฏฐิวิบัติ หรือ

ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้ศีลวิบัติ รู้อาจารวิบัติ รู้
ทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงชักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ก็ศีลวิบัติเป็น
อย่างไร อาจารวิบัติเป็นอย่างไร ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ปาราชิก 4 สังฆาทิเสส 13 นี้เป็นศีลวิบัติ
ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต นี้เป็นอาจารวิบัติ มิจฉา
ทิฏฐิ อันตคาหิกทิฏฐิ นี้เป็นทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด
ปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องที่ได้เห็น งดเพราะเรื่องที่ได้ยิน
ได้ฟัง งดเพราะเรื่องที่รังเกียจ หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า งดเพราะเรื่องที่ได้เห็น งดเพราะเรื่องที่ได้ยิน
ได้ฟัง หรือว่า งดเพราะเรื่องที่รังเกียจ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด
ปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้เห็นนั้น ท่านเห็นเรื่องอะไร เห็นว่า
อย่างไร เห็นเมื่อไร เห็นที่ไหน ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ ต้องอาบัติปาราชิก หรือ
ท่านเห็นภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฎิเทสนียะ
ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ อนึ่ง ท่านอยู่ที่ไหน และภิกษุรูปนี้อยู่ที่ไหน ท่าน
ทำอะไรอยู่ ภิกษุรูปนี้ทำอะไรอยู่
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณา แก่ภิกษุ
รูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้เห็น ก็แต่ว่า ข้าพเจ้างดปวารณา เพราะเรื่องที่ได้ยิน
ได้ฟัง

ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด
ปวารณา แก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟังนั้น ท่านได้ยินได้ฟังอะไร
ได้ยินได้ฟังว่าอย่างไร ได้ยินได้ฟังเมื่อไร ได้ยินได้ฟังที่ไหน ท่านได้ยินได้
ฟังว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติปาราชิก หรือท่านได้ยินได้ฟังว่า ภิกษุรูปนี้ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ
ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุ หรือ ได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร
สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของ
เดียรถีย์ หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ได้งดปวารณา แก่ภิกษุ
รูปนี้ เพราะเรื่องที่ได้ยินได้ฟัง ก็แต่ว่า ข้าพเจ้างดปวารณา เพราะเรื่องที่
รังเกียจ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงด
ปวารณาแก่ภิกษุรูปนี้ เพราะเรื่องที่รังเกียจนั้น ท่านรังเกียจอะไร รังเกียจว่า
อย่างไร รังเกียจเมื่อไร รังเกียจที่ไหน ท่านรังเกียจว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติ
ปาราชิก หรือ ท่านรังเกียจว่า ภิกษุรูปนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ถุลลัจจัย
ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต หรือ ท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุแล้ว
รังเกียจ หรือท่านได้ยินได้ฟังต่อภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี
อุบาสก อุบาสิกา พระราชา ราชมหาอำมาตย์ เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์
จึงรังเกียจ หรือ.

เปรียบเทียบอธิกรณ์


[1,117] เรื่องที่เห็นสมด้วยเรื่องที่
เห็น เรื่องที่เห็นเทียบกันได้กับเรื่องที่เห็น
แก่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะอาศัยการเห็น
บุคคลนั้นถูกรังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับ
อาบัติตามปฏิญญา พึงทำปวารณากับบุคคล
นั้น
เรื่องที่ได้ยินได้ฟังสมด้วยเรื่องที่ได้
ยินได้ฟัง เรื่องที่ได้ยินได้ฟังเทียบกันได้กับ
เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ
เพราะอาศัยการได้ยินได้ฟัง บุคคลนั้นถูก
รังเกียจโดยไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตาม
ปฏิญญา พึงทำปวารณาบุคคลนั้น เรื่อง
ที่ได้ทราบสมด้วยเรื่องที่ได้ทราบ
เรื่องที่ได้ทราบเทียบกันได้กับเรื่องที่
ได้ทราบ แต่บุคคลนั้นไม่ยอมรับ เพราะ
อาศัยการได้ทราบ บุคคลนั้นถูกรังเกียจโดย
ไม่มีมูล พึงปรับอาบัติตามปฏิญญา พึงทำ
ปวารณากับบุคคลนั้นเถิด.