เมนู

ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสุตะมาก ทรงจำสุตะ
สั่งสมสุตะ ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้มีสุตะน้อย มีอาคมน้อย ทรงจำไว้ได้
น้อย ย่อมแสดงอธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม. . . แสดงอาบัติ
ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ
อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าดูหมิ่น ภิกษุมีสุตะน้อย ด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะ
มาก.

ว่าด้วยดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า


[1,118] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยเข้า
ใจว่า เราเป็นผู้แก่กว่า
ตอบว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเถระ รู้ราตรีบวชนาน
ดูหมิ่นภิกษุนั้นว่า ท่านผู้นี้เป็นผู้อ่อนกว่า ไม่มีชื่อเสียง มีสุตะน้อย ไม่รู้
พระนิพพานอันปัจจัยอะไรทำไม่ได้ ถ้อยคำของผู้นี้จักทำอะไรไม่ได้ ย่อมแสดง
อธรรมว่า ธรรม แสดงธรรมว่า อธรรม. . . แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติ
ไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ
อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ดูหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยเข้าใจว่า เราเป็นผู้
แก่กว่า.

ว่าด้วยไม่พูดเรื่องที่ยังไม่มาถึง


[1,115] คำว่า ไม่พูดเรื่องที่ยังไม่มาถึง นั้น คือ ไม่เก็บเอา
คำพูดที่ไม่เข้าประเด็น

คำว่า ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตกหล่น จากธรรม จากวินัย
นั้น คือ สงฆ์ประชุมกัน เพื่อประโยชน์อันใด ไม่พึงยังประโยชน์อันนั้นให้
บกพร่องจากธรรม จากวินัย.

ว่าด้วยธรรมวินัยสัตถุศาสน์


[1,116] คำว่า ด้วยธรรมใด คือด้วยเรื่องจริง
คำว่า ด้วยวินัยใด คือ โจทก์แล้วให้จำเลยให้การ
คำว่า ด้วยสัตถุศาสน์ใด คือ ด้วยญัตติสัมปทา ด้วยอนุสาวน-
สัมปทา

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์


พากย์ว่า อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วยธรรมใด ด้วยวินัยใด ด้วย
สัตถุศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยอย่างนั้น
มีใจความว่า อน
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงถามโจทก์ว่า ผู้มีอายุ ข้อที่ท่านงดปวารณาแก่ภิกษุ
รูปนี้นั้น ท่านงดเพราะเรื่องอะไร ท่านงดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ
งดเพราะทิฏฐิวิบัติ หรือ
ถ้าโจทก์ตอบอย่างนี้ว่า งดเพราะศีลวิบัติ งดเพราะอาจารวิบัติ หรือ
ว่า งดเพราะทิฏฐิวิบัติ
ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงซักโจทก์ต่อไปว่า ท่านรู้ศีลวิบัติ อาจาร-
วิบัติทิฏฐิวิบัติ หรือ