เมนู

ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ. . .
ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ
ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโทสาคติ
อย่างนี้ชื่อว่าภิกษุ ไม่ถึงโทสาคติ.

ไม่ถึงโมหาคติ


[1,105] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ
ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ
ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ . . .
ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ
ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ
อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ไม่ถึงโมหาคติ.

ไม่ถึงภยาคติ


[1,106] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ
ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ
ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ. . .
ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ
ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ
อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ไม่ถึงภยาคติ.

นิคมคาถา


[1,107] ผู้ใดไม่ประพฤติล่วงธรรม
เพราะชอบ เพราะชัง เพราะกลัว เพราะหลง
ยศของผู้นั้นย่อมเต็มเปี่ยมเหมือนดวงจันทร์
ในวันข้างขึ้น ฉะนั้น.


ว่าด้วยให้เข้าใจ


[1,108] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ
ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่าอธรรม ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควร
ให้เข้าใจ
ภิกษุแสดงธรรมว่า ธรรม ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ. . .
ภิกษุแสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะ
ควรให้เข้าใจ
ภิกษุแสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ชื่อว่า ให้เข้าใจ
ในสถานะควรให้เข้าใจ
อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า ให้เข้าใจในสถานะควรให้เข้าใจ.

ว่าด้วยพินิจ


[1,109] ถามว่า อย่างไร ชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะควรพินิจ
ตอบว่า ภิกษุแสดงอธรรมว่า อธรรม ชื่อว่า ย่อมพินิจในสถานะ
ควรพินิจ