เมนู

ว่าด้วยรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ


[1,094] คำว่า พึงรู้สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ นั้น คือ พึง
รู้เมถุนธรรม พึงรู้อนุโลมแก่เมถุธรรม พึงรู้บุพภาคแห่งเมถุน
ข้อว่า พึงรู้เมถุนธรรม นั้น คือ พึงรู้ความร่วมกันเป็นคู่ ๆ
ข้อว่า พึงรู้อนุโลมแก่เมถุนธรรม นั้น คือ ภิกษุอมองค์กำเนิด
ของภิกษุอื่น ด้วยปากของตน
ข้อว่า พึงรู้บุพภาคแห่งเมถุนธรรม นั้น คือ สี สิ่งมิใช่สี
การเคล้าคลึงด้วยกาย วาจาชั่วหยาบ การบำเรอตนด้วยกาม การยังวรรณะ
ให้เกิด.

ว่าด้วยรู้กรรม


[1,095] คำว่า พึงรู้กรรม นั้น ได้แก่ พึงรู้กรรม 16 อย่าง คือ
พึงรู้อปโลกนกรรม 4 อย่าง พึงรู้ญัตติกรรม 4 อย่าง พึงรู้ญัตติทุติยกรรม
4 อย่าง พึงรู้ญัตติจตุตถกรรม 4 อย่าง.

ว่าด้วยรู้อธิกรณ์


[1,096] คำว่า พึงรู้อธิกรณ์ นั้น ได้แก่ พึงรู้อธิกรณ์ 4 คือ
พึงรู้วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์.

ว่าด้วยรู้สมถะ


[1,097] คำว่า พึงรู้สมถะ นั้น ได้แก่ พึงรู้สมถะ 7 คือ พึง
รู้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมูฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะ เยภุยยสิกา ตัสสปาปิย-
สิกา ติณวัตถารกะ.

ว่าด้วยไม่ถึงฉันทาคติ


[1,098] คำว่า ไม่พึงถึงฉันทาคติ นั้น ความว่า เมื่อถึงฉัน-
ทาคติ ถึงอย่างไร ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ คิดว่า ท่านผู้นี้เป็นอุปัชฌาย์ของ
เรา เป็นอาจารย์ของเรา เป็นสัทธิวิหาริกของเรา เป็นอันเตวาสิกของเรา
เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์ของเรา เป็นผู้ร่วมอาจารย์ของเรา เป็นผู้เคยเห็นกันมากับ
เรา เป็นผู้เคยร่วมคบกันมากับเรา หรือท่านผู้นี้เป็นญาติสาโลหิตของเรา ดังนี้
เพื่ออนุเคราะห์ผู้นั้น เพื่อตามรักษาท่านผู้นั้น จึงแสดงอธรรมว่าธรรม
แสดงธรรมว่าอธรรม แสดงอวินัยว่าวินัย แสดงวินัยว่าอวินัย แสดงสิ่งที่พระ-
ตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต ว่าพระตถาคตตรัสภาษิตแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคต
ตรัสภาษิตแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ตรัสภาษิต แสดงสิ่งที่พระตถาคตไม่ได้
ทรงประพฤติมา ว่าพระตถาคตทรงประพฤติมาแล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรง
ประพฤติมาแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงประพฤติมา แสดงสิ่งที่พระตถาคต
ไม่ได้ทรงบัญญัติ ว่าพระตถาคตทรงบัญญัติเเล้ว แสดงสิ่งที่พระตถาคตทรง
บัญญัติแล้ว ว่าพระตถาคตไม่ได้ทรงบัญญัติ แสดงอนาบัติว่าอาบัติ แสดง
อาบัติว่าอนาบัติ แสดงอาบัติเบาว่าอาบัติหนัก แสดงอาบัติหนักว่าอาบัติเบา
แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่าอาบัติไม่มีส่วนเหลือ แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า
อาบัติมีส่วนเหลือ แสดงอาบัติชั่วหยาบว่าอาบัติไม่ชั่วหยาบ แสดงอาบัติไม่
ชั่วหยาบว่าอาบัติชั่วหยาบ ภิกษุถึงฉันทาคติด้วยวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เป็นสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่อความ
พินาศแก่ชนหมู่มาก เพื่อความไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ภิกษุผู้ถึงฉันทาคติด้วยวัตถุ 18 อย่างนี้ ย่อมบริหารตนให้ถูกขุดถูกกำจัด เป็น