เมนู

ว่าด้วยการรู้วิบัติ


[1,089] คำว่า พึงรู้วิบัติ คือ พึงรู้ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิ
วิบัติ อาชีววิบัติ.

ว่าด้วยการรู้อาบัติ


[1,090] คำว่า พึงรู้อาบัติ นั้น คือ พึงรู้อาบัติปาราชิก อาบัติ
สังฆาทิเสส อาบัติถุลลัจจัย อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติทุกกฏ
อาบัติทุพภาสิต.

ว่าด้วยการรู้นิทาน


[1,091] คำว่า พึงรู้นิทาน นั้น คือ พึงรู้นิทานแห่งปาราชิก 8
สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งสังฆาทิเสส 23 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งอนิยต 2
สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งนิสสัคคิยะ 42 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาจิตตีย์
188 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่งปาฏิเทสนียะ 12 สิกขาบท พึงรู้นิทานแห่ง
ทุกกฏทั้งหลาย พึงรู้นิทานแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.

ว่าด้วยการรู้อาการ


[1,092] คำว่า พึงรู้อาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ
พึงรู้จักคณะโดยอาการ พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ พึง
รู้จักจำเลยโดยอาการ

ข้อว่า พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักสงฆ์โดยอาการ
อย่างนี้ว่า สงฆ์หมู่นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดย
สัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จักคณะโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักคณะโดยอาการ
อย่างนี้ว่า คณะนี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุ-
ศาสน์หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จักบุคคลโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักบุคคลโดย
อาการ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้นี้จะสามารถระงับอธิกรณ์นี้ได้โดยธรรม โดยวินัย
โดยสัตถุศาสน์ หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักโจทก์โดยอาการ
อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จักตั้งอยู่ในธรรม 5 ประการ แล้วโจทก์ผู้อื่น หรือไม่หนอ
ข้อว่า พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ นั้น คือ พึงรู้จักจำเลยโดยอาการ
อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งอยู่ในธรรม 2 ข้อ คือ ให้การตามจริงและไม่โกรธ
หรือไม่หนอ.

ว่าด้วยรู้คำต้นและคำหลัง


[1,093] คำว่า พึงรู้คำต้นและคำหลัง นั้น คือ พึงรู้คำต้น
และคำหลังอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ย้ายวัตถุจากวัตถุ ย้ายวิบัติจากวิบัติ ย้ายอาบัติจาก
อาบัติ ปฏิเสธแล้วกลับปฏิญาณ ปฏิญาณแล้วกลับปฏิเสธ หรือสับเรื่องอื่นด้วย
เรื่องอื่นหรือไม่หนอ.