เมนู

จริงอยู่ อริยมรรคแม้ทั้ง 4 อย่าง ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งอรหัต.
ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าวิมุตติญาณทัสสนะ.
สองบทว่า วิมุตฺติญาณทสฺสนํ อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย มี
ความว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เพื่อประโยชน์แก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้.
จริงอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะนั้น ชื่อว่าเป็นปัจจัยแก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้
เพราะเมื่อวิมุตติญาณทัสสนะอันโยคาพจรบรรลุโดยลำดับแล้ว กิเลสและกอง
ทุกข์พึงดับสนิทแน่แท้ ฉะนี้แล.
สองบทว่า เอตทตฺถา กถา มีความว่า ธรรมดาว่าวินัยกถานี้ มี
อนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์. ความพิจารณาวินัยนั่นแล ชื่อว่า
มันตนา.
บทว่า อุปนิสา มีความว่า แม้ความเป็นธรรมเป็นปัจจัยสืบต่อกัน
ไป เป็นต้นว่า วินัยเพื่อประโยชน์แก่สังวร นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่อนุปาทา-
ปรินิพพานนั้น. ความเงี่ยโสตลงพึงถ้อยคำที่เป็นปัจจัยสืบต่อกันไปนี้ ชื่อว่า
ความเงี่ยโสตสดับ. ญาณใดเกิดขึ้นเพราะได้ฟังเนื้อความนี้ ญาณแม้นั้นก็เพื่อ
ประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพานนั้น.
หลายบทว่า ยทิทํ อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข มีความว่า
ความพ้นพิเศษแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน 4 กล่าวคืออรหัตผลนี้
ใด, ความพ้นพิเศษแห่งจิตแม้นั้น ก็เพื่อประโยชน์นี้ คือเพื่อประโยชน์แก่
อปัจจัยปรินิพพานนั่นแล.

[อนุโยควัตตคาถา]


บรรดาอนุโยควัตตคาถาทั้งหลาย คาถาต้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.

ในคำว่า วตฺถุํ วิปตฺตึ อาปตฺตึ นิทานํ อาการอโกวิโท
ปุพฺพาปรํ น ชานาติ
พึงทำการเชื่อมบทว่า วตฺถํ เป็นต้น ด้วยบทว่า
น ชานาติ. พึงทำการเชื่อมบทว่า อโกวิโท ด้วยบทว่า ส เวตาทิสโก
นี้.
เพราะเหตุนั้น พึงทราบวาจาเครื่องประกอบในคำว่า วตฺถุํ เป็นต้น
นี้ ดังต่อไปนี้:-
ภิกษุใด ไม่รู้จักวัตถุแห่งวิติกกมะมีปาราชิกเป็นต้น, ไม่รู้วิบัติ 4
อย่าง, ไม่รู้อาบัติ 7 อย่าง, ไม่รู้นิทานอย่างนี้ว่า สิกขาบทนี้ ทรงบัญญัติ
แล้ว ในนครชื่อโน้น, ไม่รู้จักเบื้องต้นและเบื้องปลายว่า นี้เป็นคำต้น นี้เป็น
คำหลัง, ไม่รู้จักกรรมที่ทำแล้วหรือยังไม่ได้ทำว่า นี้ทำแล้ว นี้ยังมิได้ทำ.
ในบทว่า สเมน จ มีคำอธิบายว่า ไม่รู้จักกรรมที่ทำแล้วหรือยัง
ได้ทำ ด้วยความไม่รู้เสมอ ของภิกษุไม่รู้เบื้องต้นและเบื้องปลายนั้นนั่นเอง.
พึงทราบการเชื่อมกับบทว่า น ชานาติ อย่างนี้ก่อน.
ก็แลวินิจฉัยในคำว่า อาการอโกวิโท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
พึงทราบดังนี้:-
บทว่า อาการอโกวิโท ได้แก่ ผู้ไม่เข้าใจเหตุและมิใช่เหตุ. ภิกษุ
นี้ใด ไม่รู้วัตถุเป็นต้น และไม่เข้าใจอาการ, ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ผู้ไม่ควรเลือก ด้วยประการฉะนี้.
พึงทำการเชื่อมบทแม้เหล่านี้ว่า กมฺมญฺจ อธิกรณญฺจ ด้วยบทว่า
น ชานาติ นั่นแล.
ก็แลวาจาสำหรับประกอบ ในคำว่า กมฺมญฺจ เป็นต้นนั้น ดังต่อ
ไปนี้:-

ภิกษุนี้ใด ไม่รู้จักกรรม และไม่รู้จักอธิกรณ์ เหมือนอย่างนั้นแล,
ทั้งไม่เข้าใจสมถะ 7 ประการด้วย. อนึ่ง ผู้กำหนัดแล้ว ขัดเคืองแล้ว และ
หลงแล้ว เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้น ย่อมลำเอียงเพราะกลัวด้วยความกลัว
ย่อมลำเอียงเพราะเขลา ด้วยความงมงาย, อนึ่ง เพราะเหตุที่ตนเป็นผู้กำหนัด
และเพราะเหตุที่ตนเบาผู้ขัดเคือง จึงลำเอียงเพราะความชอบ เพราะความชัง.
อนึ่ง หาเป็นผู้ฉลาดในบัญญัติไม่ เพราะไม่เป็นผู้สามารถที่จะยังผู้อื่น
ให้ยินยอม. อนึ่ง ไม่ฉลาดในการชี้ขาด เพราะเป็นผู้ไม่สามารถในการชี้เหตุ
และมิใช่เหตุ.
ชื่อว่าผู้ได้พรรคพวก เพราะได้บริษัทที่แม้นกับตน, ชื่อว่าผู้ไม่มี
ความละอาย เพราะเป็นผู้ห่างจากหิริ, ชื่อว่าผู้มีกรรมดำ เพราะเป็นผู้พร้อม
เพรียงด้วยกรรมดำทั้งหลาย, ชื่อว่าผู้ไม่เอื้อเฟื้อ เพราะไม่มีความเอื้อเฟื้อใน
ธรรมและความเอื้อเฟื้อในบุคคล. ภิกษุเช่นนั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า ผู้ไม่ควรเลือก. คือ อันสงฆ์ไม่ควรพิจารณาได้แก่ ไม่ควรแลดู,
อธิบายว่า ไม่ควรสมมติตั้ง ไว้ในตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่ โดยความเป็นอิสริยา-
ธิบดี.
โยชนานัย แม้แห่งคาถาฝ่ายขาว ก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่น
แล.
จูฬสังคาม วัณณนา จบ

มหาสงคราม


ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม


[1,087] อันภิกษุผู้เข้าสงคราม เมื่อกล่าวในสงฆ์ พึงรู้วัตถุ พึงรู้
วิบัติ พึงรู้อาบัติ พึงรู้นิทาน พึงรู้อาการ พึงรู้คำต้นและคำหลัง พึงรู้สิ่งที่
ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ พึงรู้กรรม พึงรู้อธิกรณ์ พึงรู้สมถะ ไม่พึงถึงฉันทาคติ
โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ พึงชี้แจงในสถานะควรชี้แจง พึงพินิจในสถานะ
ควรพินิจ พึงเพ่งเล็งในสถานะควรเพ่งเล็ง พึงเลื่อมใสในสถานะควรเลื่อมใส
ไม่พึงหมิ่นพรรคพวกอื่น ด้วยเข้าใจว่า เราได้พรรคพวกแล้ว ไม่พึงหมิ่นผู้มี
สุตะน้อย ด้วยเข้าใจว่า เรามีสุตะมาก ไม่พึงหมิ่นภิกษุผู้อ่อนกว่า ด้วยเข้าใจ
ว่า เราเป็นผู้แก่กว่า ไม่พึงพูดเรื่องที่ยังไม่ถึง ไม่พึงให้เรื่องที่มาถึงแล้วตก
หล่นจากธรรมจากวินัย อธิกรณ์นั้นย่อมระงับด้วยธรรม ด้วยวินัย ด้วยสัตถุ-
ศาสน์ใด พึงให้อธิกรณ์นั้นระงับด้วยอย่างนั้น.

ว่าด้วยการรู้วัตถุ


[1,088] คำว่า พึงรู้จักวัตถุ นั้น คือ พึงรู้วัตถุแห่งปาราชิก 8
สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งสังฆาทิเสส 23 สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งอนิยต 2
สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งนิสสัคคิยะ 42 สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาจิตตีย์ 188
สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งปาฏิเทสนียะ 12 สิกขาบท พึงรู้วัตถุแห่งทุกกฏทั้งหลาย
พึงรู้วัตถุแห่งทุพภาสิตทั้งหลาย.