เมนู

จริงอยู่ อริยมรรคแม้ทั้ง 4 อย่าง ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งอรหัต.
ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าวิมุตติญาณทัสสนะ.
สองบทว่า วิมุตฺติญาณทสฺสนํ อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย มี
ความว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เพื่อประโยชน์แก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้.
จริงอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะนั้น ชื่อว่าเป็นปัจจัยแก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้
เพราะเมื่อวิมุตติญาณทัสสนะอันโยคาพจรบรรลุโดยลำดับแล้ว กิเลสและกอง
ทุกข์พึงดับสนิทแน่แท้ ฉะนี้แล.
สองบทว่า เอตทตฺถา กถา มีความว่า ธรรมดาว่าวินัยกถานี้ มี
อนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์. ความพิจารณาวินัยนั่นแล ชื่อว่า
มันตนา.
บทว่า อุปนิสา มีความว่า แม้ความเป็นธรรมเป็นปัจจัยสืบต่อกัน
ไป เป็นต้นว่า วินัยเพื่อประโยชน์แก่สังวร นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่อนุปาทา-
ปรินิพพานนั้น. ความเงี่ยโสตลงพึงถ้อยคำที่เป็นปัจจัยสืบต่อกันไปนี้ ชื่อว่า
ความเงี่ยโสตสดับ. ญาณใดเกิดขึ้นเพราะได้ฟังเนื้อความนี้ ญาณแม้นั้นก็เพื่อ
ประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพานนั้น.
หลายบทว่า ยทิทํ อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข มีความว่า
ความพ้นพิเศษแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน 4 กล่าวคืออรหัตผลนี้
ใด, ความพ้นพิเศษแห่งจิตแม้นั้น ก็เพื่อประโยชน์นี้ คือเพื่อประโยชน์แก่
อปัจจัยปรินิพพานนั่นแล.

[อนุโยควัตตคาถา]


บรรดาอนุโยควัตตคาถาทั้งหลาย คาถาต้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.