เมนู

สองบทว่า สารณา สวจนียตฺถาย มีความว่า การที่ให้จำเลย
ระลึกถึงโทษน้อยโทษใหญ่ เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นผู้มีถ้อยคำอันตนจะพึง
ให้การ.
สองบทว่า สวจนียํ ปลิโพธตฺถาย มีความว่า ความเป็นผู้มีถ้อย
คำอันตนจะพึงให้การ เพื่อประโยชน์แก่การกักไว้อย่างนี้ว่า ท่านอย่าก้าวออก
ไปแม้ก้าวเดียวจากอาวาสนี้.
สองบทว่า ปลิโพโธ วินิจฺฉยตฺถาย มีความว่า (การกักไว้) เพื่อ
ประโยชน์แก่การให้ตั้งวินิจฉัย.
สองบทว่า วินิจฺฉโย สนฺตีรณตฺถาย มีความว่า การวินิจฉัย
เพื่อประโยชน์แก่การไตร่ตรอง คือ พิจารณาโทษและมิใช่โทษ.
การไตร่ตรอง เพื่อประโยชน์ที่จะหยั่งฐานะและอฐานะ คือ เพื่อ
ประโยชน์ที่จะรู้อาบัติ อนาบัติ ครุกาบัติ ลหุกาบัติ.
สองบทว่า สงฺโฆ สมฺปริคฺคหสมฺปฏิจฺฉนตฺถาย มีความว่า สงฆ์
เพื่อประโยชน์แก่การรับรองวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์ที่จะรู้ว่าอธิกรณ์นั้นอัน
ผู้ว่าอรรถคดี วินิจฉัยชอบหรือไม่ชอบ.
สองบทว่า ปจฺเจกฏฺฐายิโน อวิสํวาทกฏฺฐายิโน มีความว่า
บุคคลเหล่านั้น ซึ่งตั้งอยู่ในตำแหน่งผู้เป็นใหญ่ โดยความเป็นอิสริยาธิบดี
และในฐานะแห่งผู้ไม่แกล้งกล่าวให้ผิด อันสงฆ์ไม่พึงรุกราน.

[ว่าด้วยประโยชน์แห่งวินัยเป็นอาทิ]


บัดนี้ พระอุบาลีเถระกล่าวคำว่า วินัยเพื่อประโยชน์แก่สังวร เป็น
ต้น เพื่อแสดงเนื้อความ เพื่อปิดโอกาสแห่งถ้อยคำของชนทั้งหลาย ผู้มีปัญญา
อ่อน ซึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อว่าวินัยจะมีประโยชน์อะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า วินโย สํวรตฺถาย มีความว่าวินัย
บัญญัติแม้ทั้งสิ้น เพื่อประโยชน์แก่ความสำรวมกายทวารและวจีทวาร คือ
เป็นอุปนิสัย อธิบายว่า เป็นปัจจัยแก่ศีล มีอาชีวปาริสุทธิศีลเป็นที่สุด. ใน
บททั้งปวง ก็นัยนี้แล.
อีกอย่างหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้น นี้ มีคำ
อธิบายว่า ความไม่มีความเดือดร้อนแห่งจิต ด้วยอำนาจแห่งบุญที่ได้กระทำ
ไว้ และบาปที่มิได้กระทำไว้ ชื่อว่า ความไม่เดือดร้อน.
ปีติอย่างอ่อน ไม่รุนแรง ชื่อว่าปราโมทย์.
ปีติอย่างแรง มีกำลัง ชื่อว่าปีติ.
ความระงับความกระวนกระวายในกายและจิต ชื่อว่าปัสสัทธิ.
สุขทางกายทางจิต ชื่อว่าสุข.
จริงอยู่ สุขทั้ง 2 อย่างนั้น. ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งสมาธิ.
ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ชื่อว่าสมาธิ.
วิปัสสนาอย่างอ่อน ชื่อว่ายถาภูตญาณทัสสนะ. ยถาภูตญาณทัสสนะนี้
เป็นชื่อของญาณที่รู้ความเกิดและความเสื่อม.
จริงอยู่ ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งวิปัสสนา
อย่างอ่อน.
วิปัสสนาอย่างแรง ซึ่งจัดเป็นชั้นยอด เป็นเหตุให้ถึงความปลีกตัวเสีย
ชื่อว่านิพพิทา.
อริยมรรค ชื่อว่าวิราคะ
อรหัตผล ชื่อว่าวิมุตติ.

จริงอยู่ อริยมรรคแม้ทั้ง 4 อย่าง ย่อมเป็นอุปนิสัยปัจจัยแห่งอรหัต.
ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าวิมุตติญาณทัสสนะ.
สองบทว่า วิมุตฺติญาณทสฺสนํ อนุปาทาปรินิพฺพานตฺถาย มี
ความว่า วิมุตติญาณทัสสนะ เพื่อประโยชน์แก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้.
จริงอยู่ วิมุตติญาณทัสสนะนั้น ชื่อว่าเป็นปัจจัยแก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้
เพราะเมื่อวิมุตติญาณทัสสนะอันโยคาพจรบรรลุโดยลำดับแล้ว กิเลสและกอง
ทุกข์พึงดับสนิทแน่แท้ ฉะนี้แล.
สองบทว่า เอตทตฺถา กถา มีความว่า ธรรมดาว่าวินัยกถานี้ มี
อนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์. ความพิจารณาวินัยนั่นแล ชื่อว่า
มันตนา.
บทว่า อุปนิสา มีความว่า แม้ความเป็นธรรมเป็นปัจจัยสืบต่อกัน
ไป เป็นต้นว่า วินัยเพื่อประโยชน์แก่สังวร นี้ ก็เพื่อประโยชน์แก่อนุปาทา-
ปรินิพพานนั้น. ความเงี่ยโสตลงพึงถ้อยคำที่เป็นปัจจัยสืบต่อกันไปนี้ ชื่อว่า
ความเงี่ยโสตสดับ. ญาณใดเกิดขึ้นเพราะได้ฟังเนื้อความนี้ ญาณแม้นั้นก็เพื่อ
ประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพานนั้น.
หลายบทว่า ยทิทํ อนุปาทา จิตฺตสฺส วิโมกฺโข มีความว่า
ความพ้นพิเศษแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน 4 กล่าวคืออรหัตผลนี้
ใด, ความพ้นพิเศษแห่งจิตแม้นั้น ก็เพื่อประโยชน์นี้ คือเพื่อประโยชน์แก่
อปัจจัยปรินิพพานนั่นแล.

[อนุโยควัตตคาถา]


บรรดาอนุโยควัตตคาถาทั้งหลาย คาถาต้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้ว
นั่นแล.