เมนู

ปัสสัทธิเพื่อประโยชน์แก่ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อ
ประโยชน์แก่ความรู้เห็นตามเป็นจริง ความรู้เห็นตามเป็นจริงเพื่อประโยชน์แก่
ความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายเพื่อประโยชน์แก่ความสำรอก ความสำรอก
เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ วิมุตติเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติ-
ญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่ความดับสนิทหาปัจจัยมิได้ การกล่าววินัย มี
อนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษาวินัยมีอนุปาทาปรินิพพาน
นั้นเป็นประโยชน์ เหตุมีอนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์ ความเงี่ยโสต
สดับมีอนุปาทาปรินิพพานนั้นเป็นประโยชน์ คือ ความพ้นวิเศษแห่งจิต เพราะ
ไม่ยึดมั่น.

อนุโยควัตร


[1,085] เธอจงพิจารณาวัตร คือ
การซักถาม อนุโลมแก่สิกขาบท อันพระ-
พุทธเจ้าผู้เฉียบแหลม มีพระปัญญา ทรง
วางไว้ ตรัสไว้ดีแล้ว อย่าให้เสียคติที่เป็นไป
ในสัมปรายภพ
ภิกษุใดไม่รู้ วัตถุ วิบัติ อาบัติ
นิทาน คำต้น คำหลัง สิ่งที่ทำแล้ว และยัง
ไม่ได้ทำโดยเสมอ และเป็นผู้ไม่เข้าใจอาการ
ภิกษุผู้เช่นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ไม่ควรเลือก

อนึ่ง ภิกษุใดไม่รู้กรรม อธิกรณ์
และไม่เข้าใจสมถะ เป็นผู้กำหนัดขัดเคือง
และหลงย่อมลำเอียงเพราะกลัว เพราะหลง
ไม่เข้าใจในสัญญัติ ไม่ฉลาดในการพินิจ
เป็นผู้ได้พรรคพวก ไม่มีความละอาย มี
กรรมดำ ไม่เอื้อเฟื้อ ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่ควรเลือก
ภิกษุใดรู้วัตถุ วิบัติ อาบัติ นิทาน
คำต้น คำหลัง สิ่งที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ
โดยเสมอและเป็นผู้เข้าใจอาการ ภิกษุผู้เช่น
นั้น ๆ แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ควรเลือก
อนึ่ง ภิกษุใดรู้กรรม อธิกรณ์ และ
เข้าใจสมถะ เป็นผู้ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง
และไม่หลง ไม่ลำเอียง เพราะกลัว เพราะ
หลง เข้าใจในสัญญัติ ฉลาดในการพินิจ
เป็นผู้ได้พรรคพวก มีความละอาย มีกรรม
ขาว มีความเคารพ ภิกษุผู้เช่นนั้น ๆ แล
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ควรเลือก

จูฬสงคราม จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,086] มีจิตยำเกรง 1 ถาม 1 หนักในสงฆ์ มิใช่ในบุคคล 1
สูตรเพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง 1 วินัยเพื่ออนุเคราะห์ 1 หัวข้อตามที่
กล่าวนี้มีอุเทศอย่างเดียวกัน ท่านจัดไว้ในจูฬสงครามแล.

จูฬสังคาม วัณณนา


วินิจฉัยในจูฬสงคราม

พึงทราบดังนี้:-
ประชุมสงฆ์เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัยอธิกรณ์ เรียกว่าสงคราม ใน
คำว่า ภิกษุผู้เข้าสงคราม. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายซึ่งเป็นข้าศึกแก่ตน และเป็น
ข้าศึกต่อพระศาสนา ย่อมประชุมกัน แสดงสัตถุศาสนา นอกธรรมนอกวินัย
ในที่ประชุมสงฆ์นั้น เหมือนอย่างภิกษุวัชชีบุตรชาวเมืองไพศาลีฉะนั้น.
ภิกษุใด ย่ำยีลัทธิของภิกษุผู้เป็นข้าศึกเหล่านั้นเสีย เข้าในที่ประชุม
สงฆ์นั้น เพื่อประโยชน์แก่การแสดงวาทะของตน วางอำนาจยังการวินิจฉัยให้
เป็นไป, ผู้นั้นชื่อว่าผู้เข้าสงคราม ประหนึ่งพระยสเถระฉะนั้น. ภิกษุผู้เข้า
สงครามนั้น เมื่อเข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรงเข้าหาสงฆ์.
บทว่า นีจจิตฺเตน ได้แก่ ผู้ลดธงคือมานะลงเสีย มีจิตมีมานะอัน
กำจัดเสียแล้ว.
บทว่า รโชหรณสเมน ได้แก่ มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดเท้า, อธิบายว่า
เมื่อเท้าเปื้อนหรือไม่เปื้อนอันบุคคลเช็ดอยู่ ความยินดีความยินร้าย ย่อมไม่มี