เมนู

จูฬสงคราม


ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้เข้าสงคราม


[1,083] อันภิกษุผู้เข้าสงความเมื่อเข้าหาสงฆ์พึงเป็นผู้มีจิตยำเกรง
มีจิตเสมอด้วยผ้าเช็ดธุลี เข้าหาสงฆ์ พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง รู้จักการนั่งไม่เบียดภิกษุ
ผู้เถระ ไม่ห้ามภิกษุผู้อ่อนกว่าด้วยอาสนะ. พึงนั่งอาสนะตามสมควร ไม่พึงพูด
เรื่องต่าง ๆ ไม่พึงพูดเรื่องดิรัจฉานกถา พึงกล่าวธรรมเอง หรือพึงเชื้อเชิญ
ภิกษุรูปอื่น ไม่พึงดูหมิ่นอริยดุษณีภาพ
อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัย
อธิกรณ์ ไม่พึงถามถึงอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงอาจารย์ ไม่พึงถามถึงสัทธิวิหาริก
ไม่พึงถามถึงอันเตวาสิก ไม่พึงถามถึงภิกษุปูนอุปัชฌาย์ ไม่พึงถามถึงภิกษุ
ปูนอาจารย์ ไม่พึงถามถึงชาติ ไม่พึงถามถึงชื่อ ไม่พึงถามถึงโคตร ไม่พึง
ถามถึงอาคม ไม่พึงถามถึงตระกูล ไม่พึงถามถึงชาติภูมิ เพราะเหตุไร เพราะ
ความรักหรือความชังจะพึงมีในบุคคลนั้น เมื่อมีความรักหรือความชัง พึง
ลำเอียงเพราะความชอบบ้าง พึงลำเอียงเพราะความชังบ้าง พึงลำเอียงเพราะ
ความหลงบ้าง พึงลำเอียงเพราะความกลัวบ้าง

ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์


อันภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ที่สงฆ์อนุมัติแล้ว มีประสงค์จะวินิจฉัยอธิ-
กรณ์ พึงเป็นผู้หนักในสงฆ์ ไม่พึงเป็นผู้หนักในบุคคล พึงเป็นผู้หนักใน
พระสัทธรรม ไม่พึงเป็นผู้หนักในอามิส พึงเป็นผู้ไปตามอำนาจแห่งคดี ไม่

พึงเป็นผู้เห็นแก่บริษัท พึงวินิจฉัยโดยกาลอันควร ไม่พึงวินิจฉัยโดยกาลไม่
ควร พึงวินิจฉัยด้วยคำจริง ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำไม่จริง พึงวินิจฉัยด้วยคำสุภาพ
ไม่พึงวินิจฉัยด้วยคำหยาบ พึงวินิจฉัยด้วยคำประกอด้วยประโยชน์ ไม่พึงวินิจ-
ฉัยด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ พึงเป็นผู้มีเมตตาจิตวินิจฉัย ไม่พึงเป็น
ผู้มุ่งร้ายวินิจฉัย ไม่พึงเป็นผู้กระซิบที่หู ไม่พึงคอยจับผิด ไม่พึงขยิบตา ไม่
พึงเลิกคิ้ว ไม่พึงชะเง้อศีรษะ ไม่พึงทำวิการแห่งมือ ไม่พึงแสดงปลายนิ้วมือ
พึงเป็นผู้รู้จักที่นั่ง พึงเป็นผู้รู้จักการนั่ง พึงนั่งบนอาสนะของตน ทอดตา
ชั่วแอก เพ่งเนื้อความและไม่ลุกจากอาสนะไปข้างไหน ไม่พึงยังการวินิจฉัย
ให้บกพร่อง ไม่พึงเสพทางผิด ไม่พึงพูดส่ายคำ พึงเป็นผู้ไม่รีบด่วน ไม่
ผลุนผลันไม่ดุดัน เป็นผู้อดได้ต่อถ้อยคำ พงเป็นผู้มีเมตตาจิต คิดเอ็นดูเพื่อ
ประโยชน์ พึงเป็นผู้มีกรุณา ขวนขวายเพื่อประโยชน์ พึงเป็นผู้ไม่พูดพล่อย
เป็นผู้พูดมีที่สุด พึงเป็นผู้ไม่ผูกเวร ไม่ขัดเคือง พึงรู้จักตน พึงรู้จักผู้อื่น
พึงสังเกตโจทก์ พึงสังเกตจำเลย พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์ไม่เป็นธรรม พึงกำหนด
รู้ผู้ถูกโจทไม่เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้โจทก์เป็นธรรม พึงกำหนดรู้ผู้ถูกโจท
เป็นธรรม พึงกำหนดข้อความอันสองฝ่ายกล่าวมิให้ตกหล่น ไม่แซมข้อความ
อันเขาไม่ได้กล่าว พึงจำบทพยัญชนะ อันเข้าประเด็นไว้เป็นอย่างดีสอบสวน
จำเลย แล้วพึงปรับตามคำรับสารภาพ โจทก์หรือจำเลยประหม่าพึงพูดเอาใจ
เป็นผู้ขลาด พึงพูดปลอบ เป็นผู้ดุ พึงห้ามเสีย เป็นผู้ไม่สะอาดพึงตัดเสีย
เป็นผู้ตรง พึงประพฤติต่อด้วยความอ่อนโยน ไม่พึงถึงฉันทาคติ โทสาคติ
โมหาคติ ภยาคติ พึงวางตนเป็นกลาง ทั้งในธรรม ทั้งในบุคคล

ก็แล ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เมื่อวินิจฉัยอธิกรณ์ด้วยอาการ อย่างนี้
ชื่อว่า เป็นผู้ทำตามคำสอนของพระศาสดา เป็นที่รักที่ชอบใจที่เคารพ ที่
สรรเสริญ แห่งสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญู.

ว่าด้วยประโยชน์แห่งสูตรเป็นต้น


[1,084] สูตร เพื่อประโยชน์แก่การเทียบเคียง ข้ออุปมา เพื่อ
ประโยชน์แก่การชี้ความ เนื้อความ เพื่อประโยชน์ที่ให้เขาเข้าใจ การย้อนถาม
เพื่อประโยชน์แก่ความดำรงอยู่ การขอโอกาส เพื่อประโยชน์แก่การโจท
การโจท เพื่อประโยชน์แก่การให้จำเลยระลึกโทษ การให้ระลึก เพื่อประโยชน์
แก่ความเป็นผู้มีถ้อยคำอันจะพึงกล่าว ความเป็นผู้มีถ้อยคำอันจะพึงกล่าว เพื่อ
ประโยชน์แก่การกังวล การกังวล เพื่อประโยชน์แก่การวินิจฉัย การวินิจฉัย
เพื่อประโยชน์แก่การพิจารณา การพิจารณา เพื่อประโยชน์แก่การถึงฐานะและ
มิใช่ฐานะ การถึงฐานะและมิใช่ฐานะ เพื่อประโยชน์ข่มบุคคลผู้เก้อยาก เพื่อ
ประโยชน์ยกย่องภิกษุมีศีลเป็นที่รัก สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่การสอดส่องและ
รับรอง บุคคลที่สงฆ์อนุมีติแล้ว ตั้งอยู่ในตำแหน่งผู้ใหญ่ ตั้งอยู่ในตำแหน่ง
ผู้ไม่แกล้งกล่าวให้ผิด.

ประโยชน์แห่งวินัยเป็นต้น


วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสำรวม ความสำรวมเพื่อประโยชน์แก่
ความไม่เดือดร้อน ความไม่เดือดร้อนเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์ ความ
ปราโมทย์เพื่อประโยชน์แก่ความปีติ ความปีติเพื่อประโยชน์แก่ปัสสัทธิ