เมนู

ถามว่า โจทก์ ควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบว่า โจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม 5 อย่างแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ จักพูด
โดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร 1 จักพูดด้วยคำจริง จักไม่พูดด้วย
คำไม่จริง 1 จักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ 1 จักพูดด้วยคำ
ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1 จักมีเมตตา
จิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด 1 โจทก์ควรปฏิบัติอย่างนี้
ถ. จำเลย ควรปฏิบัติอย่างไร
ต. จำเลย พึงตั้งอยู่ในธรรม 2 ประการ คือ ในความสัตย์ 1 ใน
ความไม่ขุ่นเคือง 1 จำเลยควรปฏิบัติอย่างนี้
ถ. สงฆ์ ควรปฏิบัติอย่างไร
ต. สงฆ์พึงรู้คำที่เข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น สงฆ์ควรปฏิบัติ
อย่างนี้
ถ. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ ควรปฏิบัติอย่างไร
ต. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงระงับอธิกรณ์นั้น โดยประการที่
อธิกรณ์นั้นจะระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
ควรปฏิบัติอย่างนี้.

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น


[1,081] ถามว่า อุโบสถเพื่อประ-
โยชน์อะไร ปวารณาเพื่อเหตุอะไร ปริวาส
เพื่อประโยชน์อะไร การชักเข้าหาอาบัติเดิม

เพื่อเหตุอะไร มานัตเพื่อประโยชน์อะไร
อัพภานเพื่อเหตุอะไร
ตอบว่า อุโบสถเพื่อประโยชน์แก่
ความพร้อมเพรียง ปวารณาเพื่อประโยชน์
แก่ความหมดจด ปริวาสเพื่อประโยชน์แก่
มานัต การชักเข้าหาอาบัติเดิมเพื่อประโยชน์
แก่นิคคหะ มานัต เพื่อประโยชน์แก่อัพภาน
อัพภานเพื่อประโยชน์แก่ความหมดจด ภิกษุ
ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์มีปัญญาทราม โง่เขลา และ
ไม่มีความเคารพในสิกขา บริภาษพระเถระ
ทั้งหลาย เพราะฉันทาคติ โทสาคติ ภยาคติ
โมหาคติ เป็นผู้ขุดตนกำจัดอินทรีย์แล้ว
เพราะกายแตกย่อมเข้าถึงนรก ภิกษุผู้วินิจฉัย
อธิกรณ์ไม่พึงเห็นแก่อามิส และไม่พึงเห็น
แก่บุคคล ควรเว้นสองอย่างนั้นแล้ว ทำตาม
ที่เป็นธรรม โจทก์เป็นผู้มักโกรธ มักถือโกรธ
ดุร้าย แสร้งกล่าวบริภาษย่อมปลูกอนาบัติว่า
อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์กระซิบใกล้หูคอยจับผิด ยัง
การวินิจฉัยให้บกพร่อง เสพทางผิด ย่อม
ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้นชื่อว่า
ย่อมเผาตน

โจทก์ฟ้องโดยกาลอันไม่ควร ฟ้อง
ด้วยคำไม่จริง ฟ้องด้วยคำหยาบ ฟ้องด้วย
คำไม่ประกอบด้วยประโยชน์มุ่งร้ายฟ้องไม่มี
เมตตาจิตฟ้อง ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์
เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้ธรรมและอธรรมไม่ฉลาด
ในธรรมและอธรรม ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ
โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้วินัยและอวินัย ไม่ฉลาด
ในวินัยและอวินัย ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ
โจทก์เช่นนั้นชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงภาษิต
แล้ว และมิได้ทรงภาษิต ไม่ฉลาดในสิ่งที่
พระพุทธเจ้าทรงภาษิตแล้ว และไม่ได้ภาษิต
ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่า
ย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงประ-
พฤติและไม่ได้ทรงประพฤติ ไม่ฉลาดในสิ่ง
ที่พระพุทธเจ้าทรงประพฤติ และไม่ได้ทรง
ประพฤติ ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่น
นั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน โจทก์ไม่รู้สิ่งที่ทรง
บัญญัติ และไม่ได้ทรงบัญญัติ ไม่ฉลาดใน
สิ่งที่ทรงบัญญัติ และไม่ได้ทรงบัญญัติ ปลูก

อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม
เผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติและอนาบัติ ไม่
ฉลาดในอาบัติและอนาบัติ ปลูกอนาบัติว่า
อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน โจทก์
ไม่รู้อาบัติเบาและอาบัติหนัก ไม่ฉลาดใน
อาบัติเบาและอาบัติหนัก ปลูกอนาบัติว่า
อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติมีส่วนเหลือ และ
อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ไม่ฉลาดในอาบัติมี
ส่วนเหลือ และอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ปลูก
อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม
เผาตน
โจทก์ไม่รู้อาบัติชั่วหยาบ และอาบัติ
ไม่ชั่วหยาบ ไม่ฉลาดในอาบัติชั่วหยาบ และ
อาบัติไม่ชั่วหยาบ ปลูกอนาบัติว่าอาบัติ
โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้คำต้นและคำหลัง ไม่
ฉลาดต่อคำต้นและคำหลัง ปลูกอนาบัติว่า
อาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อมเผาตน
โจทก์ไม่รู้ทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ไม่

ฉลาดต่อทางถ้อยคำอันต่อเนื่องกัน ปลูก
อนาบัติว่าอาบัติ โจทก์เช่นนั้น ชื่อว่าย่อม
เผาตน แล.

โจทนากัณฑ์ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,082] คำสั่งสอน การโจท ผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ เบื้องต้นมูลอุโบสถ
คติต้องอยู่ในโจทนากัณฑ์แล.

โจทนากัณฑก วัณณนา


[กิจของภิกษุผู้ว่าอรรถคดี]


บัดนี้ พระอุบาลีเถระเริ่มคำว่า อนุวิชฺชเกน เป็นอาทิ เพื่อแสดง
กิจอันพระวินัยธรพึงกระทำ ในการฟ้องร้องที่เกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น.
ในคำนั้น คาถาว่า ทิฏฺฐํ ทิฏฺเฐน เป็นต้น มีเนื้อความดังนี้:-
ภิกษุรูปหนึ่ง กำลังออกหรือกำลังเข้าไป โดยสถานที่อันเดียวกันกับ
มาตุคามผู้หนึ่ง อันโจทก์เห็นแล้ว. โจทก์นั้นจึงฟ้องภิกษุนั้นเป็นจำเลยด้วย
อาบัติปาราชิก; ฝ่ายจำเลยยอมรับการเห็นของโจทก์นั้น แต่จำเลยยังไม่ถึง
ปาราชิก จึงไม่ปฏิญญา เพราะอิงการเห็นนั้น. ในคำของโจทก์และจำเลยนี้
การใดอันโจทก์นั้นเห็นแล้ว การนั้นสมด้วยคำที่ว่าได้เห็นของโจทก์นั้น นี้ว่า