เมนู

ตอบว่า การโจท มีขอโอกาสเป็นเบื้องต้น มีการทำเป็นท่ามกลาง
มีการระงับเป็นที่สุด
ถ. การโจท มีมูลเท่าไร มีวัตถุเท่าไร มีภูมิเท่าไร โจทด้วยอาการ
เท่าไร
ต. การโจท มีมูล 2 มีวัตถุ 3 มีภูมิ 5 โจทด้วยอาการ 2 อย่าง
ถ. การโจทมีมูล 2 เป็นไฉน
ต. การโจท มีมูล 1 การโจทไม่มีมูล 1 นี้การโจทมีมูล 2
ถ. การโจท มีวัตถุ 3 เป็นไฉน
ต. เรื่องที่เห็น 1 เรื่องที่ได้ยินได้ฟัง 1 เรื่องที่รังเกียจ 1 นี้การโจท
มีวัตถุ 3
ถ. การโจท มีภูมิ 5 เป็นไฉน
ต. จักพูดโดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร 1 จักพูดด้วยคำ
จริง จักไม่พูดด้วยคำไม่จริง 1 จักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ 1
จักพูดด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์
1 จักมีเมตตาจิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด 1 นี้การโจทมีภูมิ 5
ถ. โจทด้วยอาการ 2 อย่าง เป็นไฉน
ต. โจทด้วยกายหรือโจทด้วยวาจา นี้โจทด้วยอาการ 2 อย่าง.

ข้อปฏิบัติของโจทก์และจำเลยเป็นต้น


[1,080] โจทก์ควรปฏิบัติอย่างไร จำเลยควรปฏิบัติอย่างไร สงฆ์
ควรปฏิบัติอย่างไร ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ควรปฏิบัติอย่างไร

ถามว่า โจทก์ ควรปฏิบัติอย่างไร
ตอบว่า โจทก์พึงตั้งอยู่ในธรรม 5 อย่างแล้วจึงโจทผู้อื่น คือ จักพูด
โดยกาลอันควร จักไม่พูดโดยกาลไม่ควร 1 จักพูดด้วยคำจริง จักไม่พูดด้วย
คำไม่จริง 1 จักพูดด้วยคำสุภาพ จักไม่พูดด้วยคำหยาบ 1 จักพูดด้วยคำ
ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่พูดด้วยคำไม่ประกอบด้วยประโยชน์ 1 จักมีเมตตา
จิตพูด จักไม่มุ่งร้ายพูด 1 โจทก์ควรปฏิบัติอย่างนี้
ถ. จำเลย ควรปฏิบัติอย่างไร
ต. จำเลย พึงตั้งอยู่ในธรรม 2 ประการ คือ ในความสัตย์ 1 ใน
ความไม่ขุ่นเคือง 1 จำเลยควรปฏิบัติอย่างนี้
ถ. สงฆ์ ควรปฏิบัติอย่างไร
ต. สงฆ์พึงรู้คำที่เข้าประเด็นและไม่เข้าประเด็น สงฆ์ควรปฏิบัติ
อย่างนี้
ถ. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ ควรปฏิบัติอย่างไร
ต. ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์ พึงระงับอธิกรณ์นั้น โดยประการที่
อธิกรณ์นั้นจะระงับโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ ภิกษุผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
ควรปฏิบัติอย่างนี้.

ว่าด้วยอุโบสถเป็นต้น


[1,081] ถามว่า อุโบสถเพื่อประ-
โยชน์อะไร ปวารณาเพื่อเหตุอะไร ปริวาส
เพื่อประโยชน์อะไร การชักเข้าหาอาบัติเดิม