เมนู

อัชฌาจารไม่สมควรแก่สมณะมาก ของภิกษุทั้งหลายผู้บาดหมางกัน
เป็นนิทานแห่งติณวัตถารกะ.
วาระว่าด้วยเหตุและปัจจัย มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

[ว่าด้วยสมุฏฐานแห่งสมถะ]


คำแก้คำถามถึงมูล ตื้นทั้งนั้น.
ในคำถามถึงสมุฏฐาน ท่านกล่าวว่า สมถะทั้ง 7 มีสมุฏฐาน 36
อะไรบ้าง ? ดังนี้ แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น ท่านก็จำแนกสมุฏฐาน 6 แห่ง
สมถะ 6 เท่านั้น เพราะสัมมุขาวินัยไม่มีสมุฏฐานเพราะไม่มีกรรมสงเคราะห์.
บรรดาบทเหล่านั้น ญัตติพึงทราบว่า กรรมกิริยา.
การหยุดในเวลาควรหยุด ด้วยญัตตินั่นแล พึงทราบว่า กรณะ.
การเข้าไปเอง อธิบายว่า ความกระทำกรรมนั้นด้วยตนเอง พึงทราบ
ว่า อุปคมนะ.
การที่เข้าถึงความอัญเชิญ อธิบายว่า การเชิญผู้อื่นมีสัทธิวิหาริกเป็น
ต้นว่า ท่านจงทำกรรมนี้ พึงทราบว่า อัชฌุปคมนะ.
กิริยาที่ยินยอม อธิบายว่า ได้แก่ การมอบฉันทะอย่างนี้ว่า สงฆ์จง
ทำกรรมนั่นแทนข้าพเจ้า เรียกว่าอธิวาสนา.
กิริยาที่ไม่คัดค้านว่า กรรมนั้นไม่ชอบใจข้าพเจ้า, พวกท่านอย่าทำ
อย่างนั้น เรียกว่า อัปปฏิโกสนา.
พึงทราบสมุฏฐาน 36 ด้วยอำนาจหมวดหก 6 หมวด ด้วยประการ
ฉะนี้.

คำแก้คำถามถึงอรรถต่างกัน ตื้นทั้งนั้น.
วินิจฉัยในคำแก้คำถามถึงอธิกรณ์ พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า อยํ วิวาโท โน อธิกรณํ มีความว่า การเถียงกัน
แห่งชนทั้งหลายมีมารดากับบุตรเป็นต้น จัดเป็นวิวาท เพราะเป็นการกล่าว
แย้งกัน, แต่ไม่จัดเป็นอธิกรณ์ เพราะไม่มีความเป็นเหตุที่ต้องระงับด้วยสมถะ
ทั้งหลาย. แม้ในอนุวาทเป็นต้น ก็นัยนี้แล.
คำที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
อธิกรณเภท วัณณนา จบ

คาถาสังคณิกะอีกนัยหนึ่ง


เรื่องโจทเป็นต้น


[1,069] ท่านพระอุบายลีทูลถามว่า
การโจทเพื่อประสงค์อะไร การสอบสวน
เพื่อเหตุอะไร สงฆ์เพื่อประโยชน์อะไร ส่วน
การลงมติเพื่อเหตุอะไร
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การโจท
เพื่อประสงค์ให้ระลึกถึงความผิด การสอบ
สวนเพื่อประสงค์จะข่ม สงฆ์เพื่อประชาชน
ให้ช่วยกันพิจารณา ส่วนการลงมติ เพื่อให้
การวินิจฉัยแต่ละเรื่องเสร็จสิ้นไป
เธออย่าด่วนพูด อย่าพูดเสียงดุดัน
อย่ายั่วความโกรธถ้าเธอเป็นผู้วินิจฉัยอธิกรณ์
อย่าพูดโดยผลุนผลัน อย่ากล่าวถ้อยคำชวน
วิวาท ไม่กอปรด้วยประโยชน์ วัตรคือการ
ซักถามอนุโลมแก่สิกขาบทอันพระพุทธเจ้าผู้
เฉียบแหลม มีพระปัญญาทรงวางไว้ ตรัส
ไว้ดีแล้ว ในพระสูตรอุภโตวิภังค์ ในพระ-
วินัย คือ ขันธกะ ในอนุโลม คือ บริวาร