เมนู

บทว่า สํสฏฺฐา มีความว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขวินัยก็ดี
สติวินัยก็ดี ชื่อว่าระคนกัน คือไม่แยกกัน เพราะสมถะทั้ง 2 สำเร็จในขณะ
แห่งกรรมวาจาให้สติวินัยนั่นเอง. ก็เพราะความสำเร็จแห่งสมถะทั้ง 2 เป็นดุจ
ความเนื่องกันแห่งกาบกล้วยในต้นกล้วย ใคร ๆ ไม่สามารถจะแสดงการแยก
สมถะเหล่านั้นออกจากกัน. ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ก็แลใคร ๆ ไม่สามารถ
บัญญัติการแยกพรากธรรมเหล่านี้ออกจากกันได้. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

[ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งสมถะ]


วินิจฉัยในวาระที่แก้คำถามว่า กึนิทาโน พึงทราบดังนี้:-
สัมมุขาวินัย ชื่อว่ามีนิทานเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า มีนิทานเป็น
เหตุอำนวย.
ในนิทานเหล่านั้น นี้คือ ความเป็นต่อหน้าสงฆ์ ความเป็นต่อหน้า
ธรรม ความเป็นต่อหน้าวินัย ความเป็นต่อหน้าบุคคล เป็นนิทานแห่งสัมมุขา-
วินัย. พระขีณาสพ ผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติซึ่งได้ถูกโจท เป็นนิทานแห่ง
สติวินัย.
ภิกษุบ้า เป็นนิทานแห่งอมูฬหวินัย.
ความพร้อมหน้าแห่งบุคคลทั้ง 2 คือ ผู้แสดงและผู้เป็นที่แสดงเป็น
นิทานแห่งปฏิญาตกรณะ.
ความที่สงฆ์เป็นผู้ไม่สามารถจะระงับอธิกรฌ์ ของภิกษุทั้งหลายผู้เกิด
บาดหมางกัน เป็นนิทานแห่งเยภุยยสิกา.
บุคคลผู้บาปหนา เป็นนิทานแห่งตัสสปาปิยสิกา.

อัชฌาจารไม่สมควรแก่สมณะมาก ของภิกษุทั้งหลายผู้บาดหมางกัน
เป็นนิทานแห่งติณวัตถารกะ.
วาระว่าด้วยเหตุและปัจจัย มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

[ว่าด้วยสมุฏฐานแห่งสมถะ]


คำแก้คำถามถึงมูล ตื้นทั้งนั้น.
ในคำถามถึงสมุฏฐาน ท่านกล่าวว่า สมถะทั้ง 7 มีสมุฏฐาน 36
อะไรบ้าง ? ดังนี้ แม้โดยแท้, ถึงกระนั้น ท่านก็จำแนกสมุฏฐาน 6 แห่ง
สมถะ 6 เท่านั้น เพราะสัมมุขาวินัยไม่มีสมุฏฐานเพราะไม่มีกรรมสงเคราะห์.
บรรดาบทเหล่านั้น ญัตติพึงทราบว่า กรรมกิริยา.
การหยุดในเวลาควรหยุด ด้วยญัตตินั่นแล พึงทราบว่า กรณะ.
การเข้าไปเอง อธิบายว่า ความกระทำกรรมนั้นด้วยตนเอง พึงทราบ
ว่า อุปคมนะ.
การที่เข้าถึงความอัญเชิญ อธิบายว่า การเชิญผู้อื่นมีสัทธิวิหาริกเป็น
ต้นว่า ท่านจงทำกรรมนี้ พึงทราบว่า อัชฌุปคมนะ.
กิริยาที่ยินยอม อธิบายว่า ได้แก่ การมอบฉันทะอย่างนี้ว่า สงฆ์จง
ทำกรรมนั่นแทนข้าพเจ้า เรียกว่าอธิวาสนา.
กิริยาที่ไม่คัดค้านว่า กรรมนั้นไม่ชอบใจข้าพเจ้า, พวกท่านอย่าทำ
อย่างนั้น เรียกว่า อัปปฏิโกสนา.
พึงทราบสมุฏฐาน 36 ด้วยอำนาจหมวดหก 6 หมวด ด้วยประการ
ฉะนี้.