เมนู

บทว่า สํสฏฺฐา มีความว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัมมุขวินัยก็ดี
สติวินัยก็ดี ชื่อว่าระคนกัน คือไม่แยกกัน เพราะสมถะทั้ง 2 สำเร็จในขณะ
แห่งกรรมวาจาให้สติวินัยนั่นเอง. ก็เพราะความสำเร็จแห่งสมถะทั้ง 2 เป็นดุจ
ความเนื่องกันแห่งกาบกล้วยในต้นกล้วย ใคร ๆ ไม่สามารถจะแสดงการแยก
สมถะเหล่านั้นออกจากกัน. ฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ก็แลใคร ๆ ไม่สามารถ
บัญญัติการแยกพรากธรรมเหล่านี้ออกจากกันได้. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

[ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งสมถะ]


วินิจฉัยในวาระที่แก้คำถามว่า กึนิทาโน พึงทราบดังนี้:-
สัมมุขาวินัย ชื่อว่ามีนิทานเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า มีนิทานเป็น
เหตุอำนวย.
ในนิทานเหล่านั้น นี้คือ ความเป็นต่อหน้าสงฆ์ ความเป็นต่อหน้า
ธรรม ความเป็นต่อหน้าวินัย ความเป็นต่อหน้าบุคคล เป็นนิทานแห่งสัมมุขา-
วินัย. พระขีณาสพ ผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติซึ่งได้ถูกโจท เป็นนิทานแห่ง
สติวินัย.
ภิกษุบ้า เป็นนิทานแห่งอมูฬหวินัย.
ความพร้อมหน้าแห่งบุคคลทั้ง 2 คือ ผู้แสดงและผู้เป็นที่แสดงเป็น
นิทานแห่งปฏิญาตกรณะ.
ความที่สงฆ์เป็นผู้ไม่สามารถจะระงับอธิกรฌ์ ของภิกษุทั้งหลายผู้เกิด
บาดหมางกัน เป็นนิทานแห่งเยภุยยสิกา.
บุคคลผู้บาปหนา เป็นนิทานแห่งตัสสปาปิยสิกา.