เมนู

ทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เช่นคุณ ว่า ภิกษุผู้อุปสมบทในวันนั้นรื้อต้อง
อุกโกฏนกปาจิตตีย์ จงไปแสดงอาบัติเสีย. แม้ในอาคันตุกะก็นัยนี้แล.
บทว่า การโก มีความว่า ภิกษุทั้งหลายผู้แพ้ พูดกะภิกษุรูปหนึ่ง
ผู้ไปสู่บริเวณวินิจฉัยอธิกรณ์พร้อมกับสงฆ์ ว่า ทำไมพวกท่านจึงตัดสินอธิกรณ์
อย่างนั้นเล่า ขอรับ ควรตัดสินอย่างนี้ มิใช่หรือ ? ภิกษุนั้นกล่าวว่า เหตุไร
ท่านจึงไม่พูดอย่างนี้เสียก่อนเล่า ? ดังนี้ ชื่อว่ารื้ออธิกรณ์นั้น ภิกษุใดเป็น
ผู้ทำ รื้ออธิกรณ์อย่างนั้น เป็นอุกโกฏนกปาจิตตีย์แม้แก่ภิกษุนั้น.
บทว่า ฉนฺททายโก มีความว่า ภิกษุรูปหนึ่งมอบฉันทะในการ
วินิจฉัยอธิกรณ์แล้ว เห็นพวกภิกษุผู้เป็นสภาคกันแพ้มาเป็นผู้ซบเซาจึงกล่าวว่า
พรุ่งนี้แล ข้าพเจ้าจักตัดสินเอง ให้สงฆ์ประชุมกันแล้ว อันภิกษุทั้งหลาย
กล่าวว่า ให้ประชุมสงฆ์ เพราะเหตุไร ? จึงตอบว่า เมื่อวาน อธิกรณ์ตัด
สินไม่ดี วันนี้ ข้าพเจ้าจักตัดสินอธิกรณ์นั้นเอง. ก็เมื่อวาน ท่านไปไหนเสีย
เล่า ? ข้าพเจ้ามอบฉันทะแล้วนั่งอยู่. เธออันภิกษุทั้งหลายพึงกล่าวว่า อาวุโส
สิกขาบทนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลายผู้เช่นท่าน
ว่า ผู้มอบฉันทะ รื้อ ต้องอุกโกฏนกปาจิตตีย์ จงไปแสดงอาบัติเสีย.

[ว่าด้วยนิทานเป็นต้นแห่งอธิกรณ์]


วินิจฉัยในคำว่า วิวาทาธิกรณํ กึนิทานํ เป็นอาทิพึงทราบดังนี้:-
ชื่อว่ามีอะไรเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า อะไรเป็นเหตุอำนวยแห่ง
อธิกรณ์นั้น.

ชื่อว่ามีอะไรเป็นสมุทัย เพราะอรรถว่า อะไรเป็นเหตุเป็นแดนเกิด
พร้อมแห่งอธิกรณ์นั้น.
ชื่อว่ามีอะไรเป็นชาติ เพราะอรรถว่า อะไรเป็นกำเนิดแห่งอธิกรณ์นั้น.
ชื่อว่ามีอะไรเป็นสมุฏฐาน เพราะอรรถว่า อะไรเป็นแดนเกิดก่อน
อะไรเป็นองค์ อะไรเป็นที่เกิดแห่งอธิกรณ์นั่น.
บทเหล่านี้ทั้งหมด เป็นไวพจน์ของเหตุนั่นเอง.
วินิจฉัยแม้ในคำว่า วิวาทนิทานํ เป็นอาทิ พึงทราบดังนี้:-
ชื่อว่ามีวิวาทเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า วิวาทกล่าวคือเรื่องก่อความ
แตกกัน 18 ประการ เป็นเหตุอำนวยแห่งวิวาทาธิกรณ์นั่น.
คำว่า วิวาทนิทานํ นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจวิวาทซึ่งอาศัยการ
เถียงกันเกิดขึ้น.
ชื่อว่ามีอนุวาทเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า การโจทเป็นเหตุอำนวย
แห่งอนุวาทาธิกรณ์นั้น.
แม้คำว่า อนุวาทนทานํ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจอนุวาทที่อาศัย
การโจทกันเกิดขึ้น.
ชื่อว่ามีอาบัติเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า อาบัติเป็นเหตุอำนวยแห่ง
อาปัตตาธิกรณ์นั้น.
คำว่า อาปตฺตินิทานํ นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจอาบัติที่อาศัยความ
ด้วยเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมต้องอาบัติ ซึ่งมีอาปัตตาธิกรณ์เป็นปัจจัย.
ชื่อว่ามีกิจเป็นนิทาน เพราะอรรถว่า กิจ 4 อย่าง เป็นเหตุอำนวย
แห่งกิจจาธิกรณ์นั้น. อธิบายว่า สังฆกรรม อย่าง เป็นเหตุแห่งกิจจาธิกรณ์
นั้น.

คำว่า กิจฺจยนิทานํ นั่น ท่านกล่าวด้วยอำนาจกิจทั้งหลายที่อาศัย
การที่จำต้องทำเกิดขึ้น มีสมนุภาสน์เพียงครั้งที่ 3 เป็นต้น แก่ภิกษุณีผู้
ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ยกวัตร.
นี้เป็นวาจาประกอบเฉพาะบทเดียว ในฝ่ายวิสัชนาอธิกรณ์ทั้ง 4.
ทุก ๆ บทพึงประกอบโดยทำนองนี้.
ในวิสัชนามีคำว่า มีเหตุเป็นนิทาน เป็นอาทิ แห่งทุติยปุจฉา พึง
ทราบภาวะแห่งนิทานเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งกุศลเหตุอกุศลเหตุและอัพยากต
เหตุ 9 หมวด.
ในวิสัชนาแห่งตติยปุจฉา พึงทราบว่าต่างกันแต่สักว่าพยัญชนะ. จริง
อยู่ เหตุนั่นแล ท่านกล่าวว่า ปัจจัย ในตติยปุจฉานี้.

[ว่าด้วยมูลเป็นต้นแห่งอธิกรณ์]


วินิจฉัย ในวาระที่ตอบคำถามถึงมูล พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ทฺวาทส มูลานิ ได้แก่ มูล 12 ซึ่งเป็นไปในภายใน
สันดานเหล่านี้ คือ วิวาทมูล 6 มีโกรธ ผูกโกรธ และความแข่งดีเป็นอาทิ
โลภะ โทสะ และโมหะ 3 อโลภะ อโทสะ และอโมหะ 3.
สองบทว่า จุทฺทส มูลานิ ได้แก่ มูล 2 นั้นเอง กับกายและ
วาจาจึงรวมเป็น 14.
สองบทว่า ฉ มูลานิ ได้แก่ มูล 6 มีกายเป็นต้น.
วินิจฉัยในวาระที่ตอบคำถามถึงสมุฏฐาน พึงทราบดังนี้:-
เรื่องก่อความแตกกัน 18 ประการ เป็นสมุฏฐานแห่ง (วิวาทาธิกรณ์)
จริงอยู่ วิวาทาธิกรณ์นั่น ย่อมตั้งขึ้นในเรื่องก่อความแตกกัน 18 ประการ