เมนู

คำว่า ปาราชิกนฺตํ ยํ วุตฺตํ เป็นอาทินี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว
เพื่อแสดงเนื้อความ ที่มิได้สงเคราะห์ด้วยปัญหาที่ว่า ครุกลหุกญฺจาปิ เป็นต้น
แต่สงเคราะห์ด้วยคำอ้อนวอนนี้ว่า หนฺท วากฺยํ สุโณม เต (เอาเถิด
เราจะฟังคำของท่าน).

[อุปมาแห่งอาบัติอนาบัติ]


แม้ในบทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ เป็นต้น ก็นัยนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่มิได้
มุงด้วยเครื่องมุงมีหญ้าเป็นต้น ย่อมเปียกก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออาบัตินี้ อัน
ภิกษุปิดไว้แล้ว ย่อมเปียก.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อปิดอาบัติแรกไว้ ย่อมต้องอาบัติอื่นใหม่.
สองบทว่า วิวฏฺ นาติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่ไม่เปิด คือมุงดี
แล้ว ย่อมไม่เปียกฝนก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออนาบัตินี้ อันภิกษุเปิดแล้ว
ย่อมไม่เปียก.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อเปิดเผยอาบัติแรก แสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
เสีย ออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินีเสีย ย่อมประดิษฐานในส่วนหมดจด.
เมื่อสำรวมต่อไป ย่อมไม่ต้องอาบัติอื่น.
บาทคาถาว่า ตสฺมา ฉนฺนํ วิวเรถ มีความว่า เพราะเหตุนั้น
เมื่อแสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี และออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินี ชื่อว่า
เปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้.