เมนู

เนื้อความแห่งคำนั้นว่า มนุษย์ในโลก ทำบาปใด ในที่แจ้งหรือใน
ที่ลับ, บัณฑิตทั้งหลายประกาศบาปนั้นว่า ทุกกฏ ฉันใด, ทุกกฏแม้นี้ ก็ฉันนั้น
ชื่อว่าบาป เพราะเป็นกรรมลามก อันพระพุทธเจ้าทรงเกลียด เพราะเหตุนั้น
พึงทราบว่า ทุกกฏ.

[วิเคราะห์ทุพภาสิต]


เนื้อความแห่งทุพภาสิตคาถา พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า ทุพภาสิตํ ทุราภฏฺฐํ มีความว่า บทใดอันภิกษุกล่าว
คือพูด เจรจาชั่ว เหตุนั้น บทนั้น ชื่อว่าอันภิกษุกล่าวชั่ว: อธิบายว่า บทใด
อันภิกษุกล่าวชั่ว บทนั้น เป็นทุพภาสิต.
มีคำที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งน้อยหนึ่ง; ความว่า อนึ่ง บทใด เศร้าหมอง
บทนั้น เป็นบทเศร้าหมอง เพราะเหตุใด; อนึ่ง วิญญูชนทั้งหลาย ย่อมติ
เพราะเหตุใด; อธิบายว่า ท่านผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ติบทนั้น เพราะเหตุใด.
บาทคาถาว่า เตเนตํ อิติ วุจฺจติ มีความว่า เพราะความเป็นบท
เศร้าหมอง และแม้เพราะความติแห่งวิญญูชนนั้น บทนั้น ท่านย่อมกล่าว
อย่างนั้น คือ บทนั้น ท่านกล่าวว่า ทุพฺภาสิตํ.

[วิเคราะห์เสขิยะ]


เนื้อความแห่งเสขิยคาถา พึงทราบดังนี้:-
พระอุบาลีเถระ แสดงความที่พระเสขะมี โดยนัยมีคำว่า อาทิ เจตํ
จรณญฺจ
เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ในบทว่า เสขิยํ นี้ จึงมีเนื้อความสังเขป
ดังนี้ว่า นี้เป็นข้อควรศึกษาของพระเสขะ.

คำว่า ปาราชิกนฺตํ ยํ วุตฺตํ เป็นอาทินี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว
เพื่อแสดงเนื้อความ ที่มิได้สงเคราะห์ด้วยปัญหาที่ว่า ครุกลหุกญฺจาปิ เป็นต้น
แต่สงเคราะห์ด้วยคำอ้อนวอนนี้ว่า หนฺท วากฺยํ สุโณม เต (เอาเถิด
เราจะฟังคำของท่าน).

[อุปมาแห่งอาบัติอนาบัติ]


แม้ในบทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ เป็นต้น ก็นัยนี้แล.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่มิได้
มุงด้วยเครื่องมุงมีหญ้าเป็นต้น ย่อมเปียกก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออาบัตินี้ อัน
ภิกษุปิดไว้แล้ว ย่อมเปียก.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อปิดอาบัติแรกไว้ ย่อมต้องอาบัติอื่นใหม่.
สองบทว่า วิวฏฺ นาติวสฺสติ มีความว่า เรือนที่ไม่เปิด คือมุงดี
แล้ว ย่อมไม่เปียกฝนก่อน. แต่เรือนกล่าวคืออนาบัตินี้ อันภิกษุเปิดแล้ว
ย่อมไม่เปียก.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อเปิดเผยอาบัติแรก แสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี
เสีย ออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินีเสีย ย่อมประดิษฐานในส่วนหมดจด.
เมื่อสำรวมต่อไป ย่อมไม่ต้องอาบัติอื่น.
บาทคาถาว่า ตสฺมา ฉนฺนํ วิวเรถ มีความว่า เพราะเหตุนั้น
เมื่อแสดงอาบัติที่เป็นเทสนาคามินี และออกจากอาบัติที่เป็นวุฏฐานคามินี ชื่อว่า
เปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้.