เมนู

ความละเมิดนั้น ชื่อว่ายังจิตให้ตกไป เพราะฉะนั้น ความละเมิดนั้น ชื่อว่า
ปาจิตติยะ.
ก็ปาจิตติยะ ย่อมยังจิตให้ตกไป, ปาจิตติยะนั้น ย่อมผิดต่ออริยมรรค
และย่อมเป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต. เพราะเหตุนั้น คำว่า ผิดต่อ
อริยมรรค และคำว่า เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต ท่านจึงกล่าวแล้ว.

[วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ]


ในปาฏิเทสนียคาถาทั้งหลาย คำว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่มีญาติ เป็นอาทิ
ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความกระทำความเป็นธรรมที่น่าติ ซึ่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ. ก็อาบัตินั้น ท่านเรียกว่า
ปาฏิเทสนียะ เพราะจะต้องแสดงคืน.

[วิเคราะห์ทุกกฏ]


เนื้อความแห่งทุกกฏคาถา พึงทราบดังนี้:-
คำว่า ผิด แย้ง พลาด นี้ทั้งหมด เป็นคำยักเรียก ทุกกฏที่กล่าว
ไว้ในคำนี้ว่า ยญฺจ ทุกฺกฏํ.
จริงอยู่ กรรมใด อันบุคคลทำไม่ดี หรือทำผิดรูป กรรมนั้น ชื่อว่า
ทุกกฏ. ก็ทุกกฏนั้นแล ชื่อว่าผิด เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระศาสดา
ตรัส ชื่อว่าแย้ง เพราะเป็นไปแย้งกุศล ชื่อว่าพลาด เพราะไม่ย่างขึ้นสู่ข้อ
ปฏิบัติในอริยมรรค.
ส่วนคำว่า ยํ มนุสฺโส กเร นี้ แสดงข้อควรเปรียบในทุกกฏนี้.

เนื้อความแห่งคำนั้นว่า มนุษย์ในโลก ทำบาปใด ในที่แจ้งหรือใน
ที่ลับ, บัณฑิตทั้งหลายประกาศบาปนั้นว่า ทุกกฏ ฉันใด, ทุกกฏแม้นี้ ก็ฉันนั้น
ชื่อว่าบาป เพราะเป็นกรรมลามก อันพระพุทธเจ้าทรงเกลียด เพราะเหตุนั้น
พึงทราบว่า ทุกกฏ.

[วิเคราะห์ทุพภาสิต]


เนื้อความแห่งทุพภาสิตคาถา พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า ทุพภาสิตํ ทุราภฏฺฐํ มีความว่า บทใดอันภิกษุกล่าว
คือพูด เจรจาชั่ว เหตุนั้น บทนั้น ชื่อว่าอันภิกษุกล่าวชั่ว: อธิบายว่า บทใด
อันภิกษุกล่าวชั่ว บทนั้น เป็นทุพภาสิต.
มีคำที่จะพึงกล่าวให้ยิ่งน้อยหนึ่ง; ความว่า อนึ่ง บทใด เศร้าหมอง
บทนั้น เป็นบทเศร้าหมอง เพราะเหตุใด; อนึ่ง วิญญูชนทั้งหลาย ย่อมติ
เพราะเหตุใด; อธิบายว่า ท่านผู้รู้แจ้งทั้งหลาย ติบทนั้น เพราะเหตุใด.
บาทคาถาว่า เตเนตํ อิติ วุจฺจติ มีความว่า เพราะความเป็นบท
เศร้าหมอง และแม้เพราะความติแห่งวิญญูชนนั้น บทนั้น ท่านย่อมกล่าว
อย่างนั้น คือ บทนั้น ท่านกล่าวว่า ทุพฺภาสิตํ.

[วิเคราะห์เสขิยะ]


เนื้อความแห่งเสขิยคาถา พึงทราบดังนี้:-
พระอุบาลีเถระ แสดงความที่พระเสขะมี โดยนัยมีคำว่า อาทิ เจตํ
จรณญฺจ
เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ในบทว่า เสขิยํ นี้ จึงมีเนื้อความสังเขป
ดังนี้ว่า นี้เป็นข้อควรศึกษาของพระเสขะ.