เมนู

เหมือนอย่างว่า บรรดาฐานะ 3 ฐานะอันใดอันหนึ่ง ท่านกล่าวใน
กองอาบัตินั้น กองอาบัติ ชื่อว่าอนิยต ฉันใด, บรรดาฐานะ 2 ฐานะอันใด
อันหนึ่ง ท่านกล่าวในกองอาบัติใด กองอาบัติแม้นั้น ก็ชื่อว่าอนิยตเหมือนกัน
ฉันนั้น.

[วิเคราะห์ถุลลัจจัย]


เนื้อความแห่งคาถาที่ 4 พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า อจฺจโย เตน สโม นตฺถิ มีความว่า บรรดาโทษ
ที่เป็นเทสนาคามี โทษที่ล่ำ เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี ด้วยเหตุนั้น ความ
ละเมิดนั้น ท่านจึงเรียกอย่างนั้น. อธิบายว่า ความละเมิดนั้น ท่านเรียกว่า
ถุลลัจจัย เพราะเป็นโทษล่ำ.

[วิเคราะห์นิสสัคคีย์]


เนื้อความแห่งคาถาที่ 5 พึงทราบดังนี้:-
หลายบทว่า นิสฺสชฺชิตฺวา ย เทเสติ เตเนตํ มีความว่า ความ
ละเมิดนั้น ท่านเรียกนิสสัคคิยะ เพราะต้องสละแล้วจึงแสดง.

[วิเคราะห์ปาจิตตีย์]


เนื้อความคาถาที่ 6 พึงทราบดังนี้:-
บาทคาถาว่า ปาเตติ กุสลํ ธมฺมํ มีความว่า ความละเมิดนั้น
ยังกุศลจิตกล่าวคือกุศลธรรม ของบุคคลผู้แกล้งต้องให้ตกไป เพราะเหตุนั้น

ความละเมิดนั้น ชื่อว่ายังจิตให้ตกไป เพราะฉะนั้น ความละเมิดนั้น ชื่อว่า
ปาจิตติยะ.
ก็ปาจิตติยะ ย่อมยังจิตให้ตกไป, ปาจิตติยะนั้น ย่อมผิดต่ออริยมรรค
และย่อมเป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต. เพราะเหตุนั้น คำว่า ผิดต่อ
อริยมรรค และคำว่า เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลงแห่งจิต ท่านจึงกล่าวแล้ว.

[วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ]


ในปาฏิเทสนียคาถาทั้งหลาย คำว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่มีญาติ เป็นอาทิ
ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงความกระทำความเป็นธรรมที่น่าติ ซึ่งพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัสว่า แน่ะเธอ ฉันต้องธรรมที่น่าติ. ก็อาบัตินั้น ท่านเรียกว่า
ปาฏิเทสนียะ เพราะจะต้องแสดงคืน.

[วิเคราะห์ทุกกฏ]


เนื้อความแห่งทุกกฏคาถา พึงทราบดังนี้:-
คำว่า ผิด แย้ง พลาด นี้ทั้งหมด เป็นคำยักเรียก ทุกกฏที่กล่าว
ไว้ในคำนี้ว่า ยญฺจ ทุกฺกฏํ.
จริงอยู่ กรรมใด อันบุคคลทำไม่ดี หรือทำผิดรูป กรรมนั้น ชื่อว่า
ทุกกฏ. ก็ทุกกฏนั้นแล ชื่อว่าผิด เพราะเหตุที่ไม่ทำตามประการที่พระศาสดา
ตรัส ชื่อว่าแย้ง เพราะเป็นไปแย้งกุศล ชื่อว่าพลาด เพราะไม่ย่างขึ้นสู่ข้อ
ปฏิบัติในอริยมรรค.
ส่วนคำว่า ยํ มนุสฺโส กเร นี้ แสดงข้อควรเปรียบในทุกกฏนี้.