เมนู

หลายบทว่า สงฺฆมฺหา ทส นิสฺสเร ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสไว้
ในวิภังค์อย่างนี้ว่า 10 สิกขาบท อันสงฆ์พึงขับออกจากหมู่. แต่ 10 สิกขาบท
มาในมาติกาอย่างนี้ว่า สังฆาทิเสสที่ต้องเสีย.
สองบทว่า นิสฺสคฺคิยานิ ทฺวาทส ได้แก่ นิสสัคคีย์ที่ทรงจำแนก
ไว้ในภิกขุนีวิภังค์เท่านั้น.
แม้ขุททกสิกขาบท ก็ได้แก่ ขุททกสิกขาบทที่ทรงจำแนกในภิกษุนี-
วิภังค์นั้นเอง.
ปาฏิเทสนียะ 8 ก็เหมือนกัน. สิกขา 130 ของพวกภิกษุณี ไม่ทั่วไป
ด้วยภิกษุทั้งหลายอย่างนี้.
ในตอนที่แก้สิกขาบทที่ทั่วไปนี้ คำทีเหลือ ตื้นทั้งนั้น.

[กองอาบัติที่ระงับไม่ได้]


บัดนี้ พระอุบาลีเถระ เมื่อจะแก้ปัญหานี้ว่า ก็กองอาบัติเป็นต้น
อันท่านจำแนก ย่อมระงับด้วยสมถะเหล่าใด ? ดังนี้ จึงกล่าวว่า บุคคลผู้
พ่ายแพ้ 8 พวกแล เป็นอาทิ.
บรรดาบทเหล่านั้น ท่านแสดงข้อที่บุคคลผู้พ่าย 8 พวกนั้นเป็นผู้มีภัย
เฉพาะหน้า ด้วยบทว่า ทุราสทา นี้.
จริงอยู่ ผู้พ่ายเหล่านั้น เป็นราวกะงูเห่าเป็นต้น ยากที่จะเข้าใกล้
คือยากที่จะเข้าเคียง ยากที่จะเข้าหา อันบุคคลเกี่ยวข้องอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ตัดรากเหง้า.

บทว่า ตาลวตฺถุสมูปมา มีความว่า เปรียบสมด้วยการถอนต้นตาล
หมดทั้งต้น กระทำให้เป็นสักว่าวัตถุแห่งตาล. ต้นตาลที่บุคคลกระทำให้เป็น
สักว่าวัตถุ เป็นต้นไม้ที่กลับคืนเป็นปกติอีกไม่ได้ฉันใด บุคคลผู้พ่าย 8 พวก
นั้น ย่อมเป็นผู้กลับคืนอย่างเดิมอีกไม่ได้ฉันนั้น.
พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงอุปมาที่ทั่วไปอย่างนี้แล้ว จะแสดงอุปมา
ซึ่งกล่าวเฉพาะสำหรับผู้หนึ่ง ๆ อีก จึงกล่าวว่า เปรียบเหมือนใบไม้เหลือง
เป็นอาทิ.
บาทคาถาว่า อวิรูฬฺหิ ภวนิติ เต มีความว่า ใบไม้เหลืองเป็นอาทิ
เหล่านั่น เป็นของมีอันไม่งอกงาม โดยความเป็นของเขียวสดอีกเป็นต้น เป็น
ธรรมดาฉันใด, แม้บุคคลผู้พ่ายทั้งหลายก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ไม่งอกงามโดย
ความเป็นผู้มีศีลตามปกติอีกเป็นธรรมดา.
ในคำว่า ก็กองอาบัติเป็นต้น อันท่านจำแนก ย่อมระงับด้วยสมถะ
เหล่าใดนี้ คำอย่างนี้ว่า กองอาบัติเป็นต้น อันท่านจำแนก คือ ปาราชิก 8
เหล่านี้ก่อน ย่อมไม่ระงับด้วยสมถะเหล่าใด ๆ เป็นอันแสดงแล้ว ด้วยคำมี
ประมาณเท่านี้.

[กองอาบัติที่ระงับได้]


ส่วนคำว่า เตวีสํ สงฺฆาทิเสสา เป็นอาทิ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อ
แสดงอาบัติเครื่องจำแนกเป็นต้นที่ระงับได้.
บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ตีหิ สมเถหิ นี้ เป็นคำกล่าวครอบ
สมถะทั้งหมด.