เมนู

สีลวิปตฺติ แล้ว จึงกล่าวว่า ปาราชิก สังฆาทิเสส เรียกว่า สีลวิบัติ เพื่อ
แสดงสีลวิบัตินั้นเอง โดยพิสดาร.
บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า ถุลฺลจฺจยํ เป็นอาทิ เพื่อแสดงอทุฏจุลลาบัติ
ด้วยอำนาจวิบัติ 3.
ในคำเหล่านั้น คำว่า โย จายํ อกฺโกสติ หสฺสาธิปฺปาโย นี้
ท่านกล่าว เพื่อชี้วัตถุแห่งทุพภาสิต.
บทว่า อพฺภาจิกฺขติ มีความว่า เมื่อกล่าวว่า ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึงธรรม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตู่.
หลายบทว่า อยํ สา อาชีววิปตฺติสมฺมตา มีความว่า ชื่อว่า
อาชีววิบัติ ที่ประมวลด้วย 6 สิกขาบทนี้ สมมติว่าวิบัติที่ 4 ฉะนี้แล.
คำถามว่า อทุฏฺฐุลฺลํ นี้ เป็นอันเฉลยแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

[ประมวลสิกขาบท]


บัดนี้ ท่านกล่าวคำว่า เอกาทส เป็นอาทิ เพื่อเฉลยปัญหาที่ว่า
เย จ ยาวตติยกา. ก็เพราะปัญหาที่ว่า เย จ ยาวตติยกา นี้ ท่าน
เฉลยแล้วด้วยอำนาจจำนวน อย่างนี้ว่า ยาวตติยกสิกขาบท 11, เพราะฉะนั้น
ท่านจึงถามอันตราปัญหาเหล่าอื่น มีคำว่า เฉทนกสิกขามีเท่าใด ? เป็น
อาทิ ด้วยอำนาจสืบต่อแห่งจำนวนนั่นเอง.
ท่านกล่าวว่า ฉ เฉทนกานิ เป็นอาทิ ก็เพื่อเฉลยอันตราปัญหา
เหล่านั้น. ในคำเฉลยนั้น คำว่า เภทนกสิกขาบท 1 อุททาลนกสิกขาบท 1
สิกขาบท 16 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติว่า รู้อยู่ นี้แล ตรัสภายหลัง.

บทที่เหลือ ได้จำแนกไว้ในมหาวัคค์หมดแล้ว.
ก็ในคำที่ตรัสภายหลังนั้น สองบทว่า เอกํ เภทนกํ ได้แก่ สูจิ-
ฆรสิกขาบท.
สองบทว่า เอกํ อุทฺทาลนกํ ได้แก่ ดูโลนัทธมัญจปิฐสิกขาบท.
บทว่า โสรส ได้แก่ โสฬส (คือ 16).
สองบทว่า ชานนฺติ ปญฺญตฺตา ได้แก่ สิกขาบทที่ตรัสอย่างนี้ว่า
รู้อยู่ ทรงบัญญัติแล้ว.
สิกขาบทเหล่านั้น พึงทราบอย่างนี้ คือ:-
ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อตน รู้อยู่สำเร็จการ
นอนเบียดภิกษุผู้เข้าไปก่อน รู้อยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์ รดเองก็จาม ใช้ให้รดก็ตาม
ซึ่งหญ้าหรือดิน รู้อยู่ ฉันบิณฑบาต อันภิกษุณีแนะนำให้ถวาย รู้อยู่ มุ่งหมาย
จะยกโทษ พอเธอฉันแล้วเป็นปาจิตตีย์ รู้อยู่ บริโภคน้ำมีตัวสัตว์ รู้อยู่ พื้น
อธิกรณ์ที่ตัดสินเสร็จแล้วโดยธรรม รู้อยู่ ปิดอาบัติชั่วหยาบ รู้อยู่ ยังบุคคล
มีปีหย่อน 20 ให้อุปสมบท รู้อยู่ ชักชวนแล้ว เดินทางสายเดียวกันกับพวก
เกวียนพวกต่างที่เป็นโจร รู้อยู่ กินร่วมก็ดี . . . . กับภิกษุผู้กล่าวอย่างนั้น ยัง
ไม่ได้ทำธรรมอันสมควร รู้อยู่ เกลี้ยกล่อมสมณุทเทสผู้ถูกให้นาสนะแล้ว
อย่างนั้น รู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์มาเพื่อบุคคล ภิกษุณี รู้อยู่
ไม่โจทด้วยตนเอง ซึ่งภิกษุณีผู้ล่วงธรรมถึงปาราชิก รู้อยู่ ว่าสตรีเป็นนางโจร
อันชนทั้งหลายรู้ว่าต้องโทษประหาร ไม่บอก รู้อยู่ ไม่บอกก่อน เข้าไปสู่อาราม
ที่มีภิกษุ.

[จำแนกสิกขาบท]


บัดนี้ ท่านจะเฉลยปัญหาแรกนี้ว่า สาธารณํ อสาธารณํ จึงกล่าว
คำว่า วีสํ เทฺว สตานิ เป็นอาทิ.
บรรดาสิกขาบทที่ทั่วไปและไม่ทั่วไปเหล่านั้น วินิจฉัยในสิกขาบท
ทั้งหลายที่ไม่ทั่วไปด้วยเหล่าภิกษุณี พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ฉ สงฺฆาทิเสสา ได้แก่ สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท 1 กาย-
สังสัคคสิกขาบท 1 ทุฏฐุลลวาจสิกขาบท 1 อัตตกามปาริจริยสิกขาบท 1
กุฏิการสิกขาบท 1 วิหารสิกขาบท 1.
สองบทว่า เทฺวอนิยเตหิ อฏฺฐิเม ได้แก่ สิกขาบทเหล่านี้รวม
เป็น 8 กับอนิยต 2 สิกขาบท.
สองบทว่า นิสฺสคฺคิยา ทฺวาทส ได้แก่ สิกขาบท 12 เหล่านี้
คือ จีวรโธวนะ 1 จีวรปฏิคคหะ 1 โกเสยยะ 1 สุทธกาฬกะ 1 เทวภาคะ 1
ฉัพพัสสะ 1 นิสีทนสันถัต 1 โลมสิกขาบท 2 ปฐมปัตตะ 1 วัสสิกสาฏิกะ 1
อารัญญกะ คือ สาสังกะ 1.
สองบทว่า ทฺวาวีสติ ขุทฺทกา ได้แก่ สิกขา 22 ที่ประกาศแล้วใน
ขุททกกัณฑ์ เหล่านี้ คือ ภิกขุนีวัคค์ทั้งสิ้น ปรัมปาโภชนสิกขาบท อนติ-
ริตตสิกขาบท อภิหัฏฐุปวารณาสิกขาบท ปณีตโภชนาสิกขาบท อเจลกสิกขาบท
โอนวีสติวัสสสิกขาบท ทุฏฐุลลัจฉาทนสิกขาบท มาตุคามสังวิธานสิกขาบท
อนิกขันตราชกสิกขาบท ไม่บอกลาภิกษุที่มีอยู่ เข้าบ้านในวิกาล นิสีทนสิกขา-
บท วัสสิกสาฏิกสิกขาบท.
วินิจฉัยแม้ในสิกขาบทที่ไม่ทั่วไป ด้วยภิกษุทั้งหลาย พึงทราบดังนี้:-