เมนู

และเป็นข้อระวัง คือ สำรวม ของพระเสขะ
ผู้ศึกษาอยู่ ผู้ดำเนินไปตามทางตรง สิกขา
ทั้งหลาย เช่นด้วยสิกขานั้นไม่มี เพราะ
เหตุนั้น สิกขานั้น จึงเรียกว่า เสขิยะ.


อุปมาอาบัติและอนาบัติ


เรือนคืออาบัติอันภิกษุปิดไว้ ย่อมรั่ว
เรือนคืออาบัติอันภิกษุเปิดแล้ว ย่อมไม่รั่ว
เพราะฉะนั้น ภิกษุพึงเปิดเผยอาบัติที่ปิดไว้
เมื่อเป็นอย่างนั้น เรือนคืออาบัตินั้น ย่อม
ไม่รั่ว ป่าใหญ่เป็นที่พึ่งของหมู่มฤค อากาศ
เป็นทางไปของหมู่ปักษี ความเสื่อมเป็นคติ
ของธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นภูมิที่ไปของ
พระอรหันต์.

คาถาสังคณิกะ จบ

หัวข้อประจำเรื่อง


[1,045] สิกขาบทที่ทรงบัญญัติใน 7 พระนคร 1 วิบัติ 4 อย่าง 1
สิกขาบทของภิกษุ และของภิกษุณีทั่วไป 1 ไม่ทั่วไป 1 นี้เป็นถ้อยคำที่รวม
ไว้ด้วยคาถา เพื่ออนุเคราะห์พระศาสนา.
หัวข้อประจำเรื่อง จบ

ปฐมคาถาสังคณิก วัณณนา


บาทคาถาว่า เอกํสํ จีวรํ กตฺวา มีความว่า ท่านกระทำจีวร
เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง อธิบายว่า ห่มอุตราสงค์เรียบร้อย.
บาทคาถาว่า ปคฺคณฺหิตฺวาน อญฺชลึ มีความว่า ยกอัญชลีอัน
รุ่งเรืองด้วยประชุมแห่งนิ้วทั้ง 10.
บาทคาถาว่า อาสึสมานรูโปว ความว่า ดูเหมือนจะมุ่งหวัง.
บาทคาถาว่า กิสฺส ตฺวํ อิธมาคโต มีความว่า ท่านปรารถนา
ประโยชน์อะไร มาในที่นี้ เพราะเหตุไร ?
ใครกล่าวอย่างนี้ ? พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ตรัสอย่างนั้นกะใคร ?
กะท่านพระอุบาลี. ท่านพระอุบาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามคาถานี้ว่า
(สิกขาบทที่ทรงบัญญัติ) ในวินัยทั้ง 2 (ย่อมมาสู่อุทเทสในวันอุโบสทั้งหลาย
สิกขาบทเห่ลานั้น มีเท่าไร ? ทรงบัญญัติในนครเท่าไร ?) ด้วยประการฉะนี้.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคำว่า ปัญญาของท่านดีเป็นต้น
ทรงตอบคำถามนั้นของท่าน. มีนัยเหมือนกันทุกปัญหา.
พระอุบาลีเถระทูลถามปัญหาทั้งปวงเหล่านี้ ในพุทธกาล ด้วยประการ
ฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบเอง. ส่วนในสังคีติกาล พระมหากัสสป-
เถระถาม พระอุบาลีเถระตอบ.
บรรดาบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า ภทฺทโก เต อุมฺมงฺโค มีความว่า
ปัญญาของท่านดี. จริงอยู่ ปัญญาเรียกว่า อุมมังคะ เพราะผุดขึ้นจากมืด คือ
อวิชชาตั้งอยู่.