เมนู

แห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิด
นั้นว่า ปาจิตตีย์.


วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ


[1,041] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาฏิ-
เทสนียะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะได้ยาก
รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ
ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ใน
ที่นั้นตามพอใจ ภิกษุไม่ห้าม ฉันอยู่ในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุไม่อาพาธ
ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์
น้อย เขามิได้นำไปถวายแล้วฉันในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่า
ที่น่ารังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ฉันภัตตาหาร
ที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรม
ที่น่าติ ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่น
ยืดถือว่าเป็นของเรา คือ เนยใส น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม
ด้วยตนเอง ชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติ ในศาสนา
ของพระสุคต.

วิเคราะห์ทุกกฏ


[1,042] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุกกฏ
ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป
กรรมใดผิดพลั้งและพลาด กรรมนั้นชื่อว่า
ทำไม่ดี คนทำความชั่วอันใด ในที่แจ้ง
หรือในที่ลับ บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมประกาศ
ความชั่วนั้นว่า ทำชั่ว เพราะเหตุนั้น กรรม-
นั่นจึงเรียกว่า ทุกกฏ.


วิเคราะห์ทุพภาสิต


[1,043] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ทุพ-
ภาสิต ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป บทใด อันภิกษุกล่าวไม่ดี พูดไม่ดี
และเศร้าหมอง วิญญูชนทั้งหลายย่อมติเตียน
บทใด เพราะเหตุนั้น บทนั้น จึงเรียกว่า
ทุพภาสิต.


วิเคราะห์เสขิยะ


[1,044] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า เสขิยะ
ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าวต่อไป
ข้อนี้เป็นเบื้องต้น เป็นข้อประพฤติ เป็นทาง