เมนู

วิเคราะห์ถุลลัจจัย


[1,038] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ถุล-
ลัจจัย ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุแสดงอาบัติถุลลัจจัย ในที่ใกล้
ภิกษุรูปหนึ่ง แ ละภิกษุรับอาบัตินั้น โทษ
เสมอด้วยถุลลัจจัยนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกโทษนั้นว่า ถุลลัจจัย.


วิเคราะห์นิสสัคคิยะ


[1,039] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า นิส-
สัคคิยะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุเสียสละในท่ามกลางสงฆ์ ท่าม
กลางคณะ และต่อหน้าภิกษุรูปหนึ่ง ๆ แล้ว
จึงแสดงข้อละเมิดใด เพราะเหตุนั้น จึง
เรียกข้อละเมิดนั้นว่า นิสสัคคิยะ.


วิเคราะห์ปาจิตตีย์


[1,040] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า
ปาจิตตีย์ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ความละเมิดยังกุศลธรรมให้ตก ย่อม
ฝืนต่ออริยมรรค เป็นเหตุแห่งความลุ่มหลง

แห่งจิต เพราะเหตุนั้น จึงเรียกความละเมิด
นั้นว่า ปาจิตตีย์.


วิเคราะห์ปาฏิเทสนียะ


[1,041] คำใดที่เรากล่าวไว้ว่า ปาฏิ-
เทสนียะ ดังนี้ ท่านจงฟังคำนั้น ดังจะกล่าว
ต่อไป ภิกษุไม่มีญาติ หาโภชนะได้ยาก
รับมาเองแล้วฉัน เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ
ภิกษุฉันอยู่ในที่นิมนต์ ภิกษุณีสั่งเสียอยู่ใน
ที่นั้นตามพอใจ ภิกษุไม่ห้าม ฉันอยู่ในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุไม่อาพาธ
ไปสู่ตระกูลที่มีจิตศรัทธา แต่มีโภคทรัพย์
น้อย เขามิได้นำไปถวายแล้วฉันในที่นั้น
เรียกว่า ต้องธรรมที่น่าติ ภิกษุใดถ้าอยู่ในป่า
ที่น่ารังเกียจ มีภัยจำเพาะหน้า ฉันภัตตาหาร
ที่เขาไม่ได้บอกในที่นั้น เรียกว่า ต้องธรรม
ที่น่าติ ภิกษุณีไม่มีญาติ ขอโภชนะที่ผู้อื่น
ยืดถือว่าเป็นของเรา คือ เนยใส น้ำมัน
น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด และนมส้ม
ด้วยตนเอง ชื่อว่า ถึงธรรมที่น่าติ ในศาสนา
ของพระสุคต.