เมนู

ไม่รู้ว่า เป็นผู้เข้ากรรมแล้วด้วยญัตติ ในญัตติทุติยกรรมและญัตติจตุตถกรรม.
หลายบทว่า น ปุพฺพกุสโล โหติ น อปรกุสโล มีความว่า
ไม่รู้จักคำที่จะพึงสวดก่อน และคำที่จะพึงสวดทีหลังบ้าง ไม่รู้ว่า ธรรมดาญัตติ
ต้องตั้งก่อน ไม่ควรตั้งทีหลัง บ้าง.
สองบทว่า อกาลกญฺญู จ โหติ มีความว่า ไม่รู้จักเวลา คือ ไม่ได้
รับเผดียง ไม่ได้รับเชิญ ก็สวด คือ ไม่รู้จักทั้งกาลญัตติ ทั้งเขตญัตติ ทั้ง
โอกาสแห่งญัตติ.

[ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ป่า]


สองบทว่า มนฺทตฺตา โมมูหตฺตา ได้แก่ ไม่รู้จักอานิสงส์ในธุดงค์
เพราะเป็นคนงมงายด้วยไม่รู้ทั่วทุก ๆ อย่าง.
บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ปรารถนาปัจจัยลาภ ด้วยการอยู่ป่านั้น.
บทว่า ปวิเวกํ ได้แก่ กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก.
บทว่า อิทมฏฺฐิตํ มีวิเคราะห์ว่า ประโยชน์แห่งการอยู่ป่านั้น ย่อม
มีด้วยปฏิบัติงามนี้ เพราะเหตุนั้น การอยู่ป่านั้น ชื่อว่า อิทมฏฺฐิ (มีประโยชน์
ด้วยการปฏิบัติงามนี้). ความเป็นแห่งการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติงามนี้
ชื่อว่า อิทมฏฺฐิตา, อาศัยการอยู่ป่ามีประโยชน์ด้วยการปฏิบัติงามนี้นั่นแล,
อธิบายว่า ไม่อิงโลกามิสน้อยหนึ่งอื่น.

[ว่าด้วยองค์ของภิกษุผู้ต้องถือนิสัย]


สองบทว่า อุโปสถํ น ชานาติ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถ 9 อย่าง.
บทว่า อุโปสถกมฺมํ ได้แก่ ไม่รู้จักอุโบสถกรรม 4 อย่าง ต่าง
โดยชนิดมีเป็นวรรคโดยอธรรมเป็นต้น.

บทว่า ปาฏิโมกฺขํ ได้แก่ ไม่รู้จักมาติกา 2 อย่าง.
บทว่า ปาฏิโมกฺขุทฺเทสํ ได้แก่ ไม่รู้จักปาฏิโมกขุทเทส 9 อย่าง
แม้ทั้งหมด.
บทว่า ปวารณํ ได้แก่ ไม่รู้จักปวารณา 9 อย่าง. ปวารณากรรม
คล้ายกับอุโบสถกรรมนั่นแล.

[วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ]


วินิจฉัยในอปาสาทิกปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-
อกุศลกรรม มีกายทุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมไม่น่าเลื่อมใส.
กุศลกรรม มีกายสุจริตเป็นต้น เรียกว่ากรรมน่าเลื่อมใส.
บทว่า อติเวลํ มีความว่า คลุกคลีอยู่ในสกุลทั้งหลายเกินเวลา คือ
สิ้นกาลมากกว่า อยู่ในวิหารน้อย. การที่กิเลสทั้งหลายหยั่งลงในภายใน ชื่อว่า
ช่อง.
บทว่า สงฺกิลิฏฐํ ได้แก่ อาบัติต่างโดยชนิดในเพราะทุฏฐุลลวาจา
และอาบัติในเพราะกายสังสัคคะเป็นอาทิ.
วินิจฉัยในวิสุทธิปัญจกะ พึงทราบดังนี้:-
ปวารณาทั้ง 9 อย่าง พึงทราบโดยปวารณาศัพท์.
บทที่เหลือในที่ทั้งปวง ตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
พรรณนาหมวด 5 จบ

[พรรณนาหมวด 6]


วินิจฉัยในหมวด 6 พึงทราบดังนี้:-
สองบทว่า ฉ สามีจิโย ได้แก่ สามีจิกรรม 6 เฉพาะในภิกขุ-